Open will: Salutogenesis VS Pathogenesis


จริงอยู่ที่ Hypertension เป็น Pathogenesis ของ CVA แต่อย่าลืมว่า ความภูมิใจในภรรยา ที่เป็น Salutogenesis ของผู้ป่วย

Salutogenesis ศัพท์คำนี้ ฉันเพิ่งได้เรียนจากปาฐกถาของท่านอาจารย์สกล เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และวันนี้ฉันได้ลองใช้มุมมองใหม่นี้ ในการ discuss กับนักศึกษาแพทย์ที่นำเสนอการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
สารภาพตามตรง ที่ผ่านมา หลายครั้งเมื่อฟังกรณีผู้ป่วยที่นักศึกษาแพทย์นำเสนอ ฉันก็ไม่รู้ว่าจะให้ comment อะไร เพราะยังติดกับ Pathogenesis model ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยและครอบครัวได้
" คุณลุงรู้คะว่า ความดันสูงทำให้เกิดอัมพาตได้ แต่เวลาเราไปเยี่ยมทีไร แกก็บ่นแต่เรื่องปวดไหล่ "
 " พอถามคุณลุงก็บอกว่าก็กินยาตามหมอสั่ง ไม่ได้กินเค็ม และออกกำลังกายด้วยการเดินทุกเช้า...ตอนหลังๆ พอถามเรื่องความดันคุณลุงก็ชวนเปลี่ยนเรื่องคุยทันที"
  ไม่เพียงตัวนักศึกษาแพทย์ที่รู้สึก "หมดมุข" ฉันเองก้เหมือนกัน "รู้แต่ไม่ทำ" เพราะ Behavior เกิดจาก emotion ไม่ใช่ logic อย่าว่าแต่คนไข้เลย ตัวเราเอง ยังไม่ยอมไปออกกำลังเพราะ "ไม่มีอารมณ์"
   แต่เมื่อเปลี่ยนมาถาม "แล้วคุณลุง มีความสุข ความภูมิใจกับอะไร" ก็ทำให้มีเรื่องสนทนากันมากขึ้น ทำให้รู้ว่า คุณลุงรักและภูมิใจในตัวภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากมาก เพียงสะกิดว่า "เมื่อเป็นอัมพาต ก็ต้องมีคนดูแล" ก็มีผลให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตัวเอง มากกว่า การสืบสวนหาต้นตอ อย่างที่เคยทำมา..

คำสำคัญ (Tags): #chronic illness#salutogenesis
หมายเลขบันทึก: 314700เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ก่อนอื่นพี่เกดขอบคุณ ณ ที่นี้ ที่คุณหมอเข้าไปช่วยแปล ถอดบทเรียน teaching round ของ Dr. SHAW นะคะ
  • น่ารักมากค่ะ
  • ต้องเป็นหมอ palliative ตัวอย่าง ในอนาคต
  • ขอบคุณที่เขียนเรื่องเล่าของคุณลุงให้ได้เรียนรู้ด้วยค่ะ Communication skill สำคัญมากในงาน palliative care ใช้ basic ไม่พอ ต้อง advance communication skill อาศัยการฝึกฝนโดยปฏิบัติกับคนไข้ learning by doing ไม่มีอะไรผิดถูก หากเราตั้งใจบนพื้นฐานที่จริงใจที่ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวอย่างแท้จริง อาจจะไม่ต้องพูด บางครั้งภากายภาษาใจก็สามารถสื่อถึงผู้ป่วยได้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้คำพูดก็ได้ในบางสถานการณ์ค่ะ

Dsc04659

ขอให้มีความสุขนะคะ

บางทีเรามี mission ว่าจะ "ไปให้" อะไรชาวบ้านมากเกินไปนิด คือเจตนาดี บวกกับเราเป็นประเภทชอบ "ทำอะไรสักอย่าง" เพื่อแก้ปัญหา

แต่สำหรับ counseling นั้น การฟังที่ดี การได้สร้างพื้นที่ที่ชาวบ้าน คุณลุง คุณป้า ได้ใช้เวลาทำ life review อย่างเต็มที่สักวาระ ภาพชีิิวิตมันชัดขึ้นมาเอง วิธีแก้ปัญหาปรากฏขึ้นมาเอง จากเดิมที่ไม่เห็น อาจจะเป็นเพราะชีวิตนี้มันมี "choices" หรือปรนัยมาจากไหนไม่ทราบมาให้เลือกเยอะแยะไปหมด

ลองเปิดพื้นที่ให้ชีวิตเป็น essay เป็นอัตนัย ดูบ้าง จุดต่างๆที่โปรยไว้ระเกะระกะ จะเริ่มมีเส้นเชื่อมโยงออกมาเป็นภาพวิจิตรพิศดารอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนว่านี่แหละคือชีวิตของเรา ว้าวๆ เราปล่อยให้มันเป็นไปถึงขนาดนี่แล้วหรือนี่ สงสัยจะต้องทำอะไรสักอย่าง

คำตอบเป็นอัตนัย ไม่อยู่ในสูตร ไม่อยู่ในตำรา แต่ผุดปรากฏขึ้นต่อหน้าต่อตานั้นเอง

-ชอบครับ บทความนี้

-ผมเองก็ยังติด pathogenesis อยู่เลย เลิกยากจริงๆ

คล้ายๆ กับว่า เราไม่จำเป็นต้องแก้ตรงต้นตอของปัญหา แม้ว่าปัญหาจะมีอยู่ เราเรียนรู้จะอยู่กับมัน พร้อมกับมีความสุขกับสิ่งรอบตัวเรา

ลองเปิดพื้นที่ให้ชีวิตเป็น essay เป็นอัตนัย ดูบ้าง จุดต่างๆที่โปรยไว้ระเกะระกะ จะเริ่มมีเส้นเชื่อมโยงออกมาเป็นภาพวิจิตรพิศดาร

ขอเก็บไว้สอน นศพ.ต่อนะคะ อาจารย์

ชอบเวลาอาจารย์พูดถึงอะไร ฟังสุนทรีย์ดีจังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท