บทนำสุ่การวิจัยทางการบริหารการศึกษา


บทนำสุ่การวิจัยทางการบริหารการศึกษา

บทนำสู่การวิจัยทางการบริหารการศึกษา

พัฒนาการของการแสวงหาความจริงของมนุษย์

        เนื่องจากมนุษย์มีธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็น ความคิดริเริ่ม และมีความปรารถนาที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพยายามเสาะแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อพบเห็นสิ่งใดหรือเกิดความสงสัยขึ้นมาก็พยายามศึกษาหาความรู้ความจริงในสิ่งนั้น วิธีหาความรู้ความจริงมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน

ยุคโบราณ (By chance)

1.โดยบัญเอิญ (By chance)

      เป็นความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดฝันหรือไม่เจตนาโดยตรง แต่บังเอิญเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้ เช่น การค้นพบว่ายางพาราดิบเมื่อถูกความร้อนจะช่วยให้ยางนั้นแข็งตัว และมีความทนทานเพิ่มขึ้นของชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charls Goodyear) ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์ยางรถยนต์ที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้

2. โดยขนบธรรมเนียมประเพณี (By custom and tradition)

   มนุษย์ได้รับความรู้โดยวิธีการทำตามปทัสถาน (Norm) ของสังคม เช่น  การแต่งงาน การบวช การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

 3.โดยผู้เชี่ยวชาญ (By expert)

    เป็นการหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น ได้ความรู้มาจากนักกฎหมาย แพทย์ นักดนตรี เป็นต้น

4.โดยผู้มีอำนาจหรือผู้มีชื่อเสียง (By authority)

   เป็นการหาความรู้ที่ได้จากผู้รอบรู้ที่มีชื่อเสียงหรือที่เรียกว่า นักปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีอำนาจในสังคม ความรู้ที่ได้นี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้เช่น เช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในสมัยโบราณ กล่าวว่า “ผู้หญิงมีฟันมากกว่าผู้ชาย”

5.โดยวิธีลองผิดลองถูก (By trial and error) ความรู้ชนิดนี้มักได้มาจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ไม่เคยทราบมาก่อน เมื่อแก้ปัญหานี้ถูกก็จดจำไว้ใช้ต่อไป ถ้าแก้ปัญหาผิดก็จำไว้เพื่อจะได้ไม่ใช้อีกต่อไป

ยุคอริสโตเติล  (Aristotle)

6. โดยหลักเหตุผล-เชิงตรรกศาสตร์  โดยวิธีนิรนัย หรืออนุมาน (Deductive reasoning) (Aristotle ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาตรรกศาสตร์ เป็นผู้ค้นคิดวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยอาศัยหลักของเหตุผล   ซึ่งเป็นการคิดหาเหตุผลโดยการนำเอาสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติมาอ้างองค์ประกอบหรือขั้นตอนของการหาความรู้โดยวิธีนี้มี 3 ประการคือ

  1) เหตุใหญ่ (Major premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้น เช่น ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์

  2) เหตุย่อย (Minor premise) เป็นเหตุเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง เช่น  โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง

  3) ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการลงสรุปจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย เช่น  โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

ยุคฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon)

 7. โดยหลักเหตุผลเชิงตรรกศาสตร์  โดยวิธีอุปนัย (Inductive Method)หรือเรียกว่าอุปมาน

       Francis Bacon ได้เสนอแนวคิดเชิงตรรกวิทยาที่เรียกว่า เป็นวิธีที่อาศัยการเก็บ

รวบรวมข้อมูลก่อนแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล (เหตุย่อย) เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่าง

ข้อมูลเหล่านั้นในอันที่จะนำมาสรุปเป็นเหตุหรือผลหรือตั้งเป็นทฤษฎี (เหตุใหญ่) ดังนั้น

องค์ประกอบหรือขั้นตอนในการอุปมานจึงอาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นคือ

     1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดย่อย ๆ ก่อน เช่น  โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์, ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์, ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์

     2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงย่อยเหล่านั้น “ เนื่องจาก  โลก, ดาวพุธ, ดาวศุกร์ ต่างเป็นดาวเคราะห์ และต่างโครจรรอบดวงอาทิตย์”

     3. สรุปผล   ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์     

ยุคปัจจุบัน

8.  โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์  (By Scientific method)

    ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้เสนอวีธีการค้นหาความรู้ความจริง โดยเอาวิธีการของอริสโตเติลและฟรานซิส เบคอน มารวมกันเรียกวิธีนี้ว่า วิธีการอนุมานและอุปมาน (Deductive - Inductive method) ซึ่งต่อมา  จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

   ได้ดัดแปลงแก้ไขให้ชื่อใหม่ว่า Reflective Thinking เพราะกระบวนการคิดแบบนี้เป็นการคิดกลับไปกลับมาหรือคิดอย่างใคร่ครวญรอบคอบ

        จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้เสนอขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(Scientific Method)  ซึ่งถือว่าเป็นวิธีสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์สมัยใหม่แล

เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งประ-กอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 

1.ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดลงไปว่า ปัญหาที่  แท้จริงคืออะไร 

2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)  เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล 

3. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน 

4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นมา 

5. ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปว่าข้อเท็จจริงของปัญหาคืออะไร   

สรุป

การวิจัยเป็นกระบวนการที่ใช้ประสบการณ์ แหล่งความรู้ และการใช้เหตุผลร่วมกัน เพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง โดยเน้นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์และหลักการตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง ดังนั้นการวิจัยจึงเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ใช้แสวงหาความรู้ความจิรงได้อย่างเป็นระบบดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 313779เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เสาร์ที่จะถึงนี้ต้องนำเสนองานที่ อ.มอบหมายแล้วค่ะ

เรื่องนี้น่าสนใจ...จะรอฟังรายละเอียดเสาร์นี้ครับ...

มีแก้ไขข้อมูลนิดหน่อยค่ะ ..เรียบร้อยแล้ว..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท