ระบบสุขภาพแห่งชาติ บทบาทหน้าที่ในอนาคต (ที่ควรจะเป็น) ตอนที่ 1


ผมยังยืนยันตามแนวคิดที่ผมเชื่อว่าข้อที่ 3) คือ กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานด้านสุขภาพ และข้อที่ 7) คือ ดูแลการเงินการคลังเพื่อจัดให้มีบริการสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ต้องแยกให้อยู่คนละแห่งกัน คานอำนาจกัน

     ผมมีโอกาสได้อ่านรายงานวิจัยเรื่องหนึ่งที่ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นในปีนี้เอง เรียกว่าสด ๆ ร้อน ๆ แต่เท่าที่เช็คสถานการณ์ดูแล้ว ในวงการหมอนามัย ยังมีคนรับรู้อยู่ไม่มากนัก (จริง ๆ น่าจะยังไม่มีหากนับเฉพาะหมออนามัยจริง ๆ เท่าที่ผมพบและสนทนาด้วย) รายงานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการโดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ และคณะ ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนในการวิจัยจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

     โดยดำเนินการภายใต้โจทย์ “การสังเคราะห์กลไกในระบบสุขภาพแห่งชาติและบทบาทหน้าที่ โครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข” หลักสำคัญ ๆ ที่ใช้ในการวิจัยคือ การทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์ และรับฟังความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง ผมจะนำมาเล่าต่อ (ขยายความตามฐานคิดผมเองเพิ่มเติมในบางประเด็น) โดยมีสาระสำคัญที่คณะผู้วิจัยสรุปไว้ 2 ประการ คือ 1) บทบาทหน้าที่หลักหรือกิจที่พึงกระทำของกระทรวงสาธารณสุข ณ ปี พ.ศ. 2550-2555  และ 2) ข้อเสนอทิศทางการปรับเปลี่ยนสภาพสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐและการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หากสนใจที่จะอ่านฉบับเต็มท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยครับ (แต่ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อนนะครับที่ web สวรส.)

     ประการแรกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ ประเด็นบทบาทหน้าที่หลักหรือกิจที่พึงกระทำของกระทรวงสาธารณสุข ณ ปี พ.ศ. 2550-2555 ควรมี 10 ประการ ซึ่งจากภารกิจต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนไปเลย หรือเปลี่ยนแปลงในบางส่วน ผมมองว่าจะทำให้กระทรวงสาธารณสุขเล็กลง กะทัดรัด คล่องตัว ซึ่งจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพ (ตามฐานคิด...น้อย ๆ ของผมเองเท่านั้น) ดังนี้ 
          1) ดูแลการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ 
          2) ดูแลการสร้างและการจัดการความรู้ด้านสุขภาพ 
          3) กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานด้านสุขภาพ 
          4) สร้างเสริมศักยภาพด้านสุขภาพแก่องค์กรภาคส่วนต่างๆ และภาคประชาชน 
          5) ดูแลการบังคับใช้กฎหมายด้านสุขภาพ 
          6) ดูแลการควบคุมป้องกันโรคและภัยคุกคามสุขภาพ 
          7) ดูแลการเงินการคลังเพื่อจัดให้มีบริการสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 
          8) สร้างเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของทรัพยากรด้านสุขภาพ 
          9) ดำเนินงานด้านสุขภาพระหว่างประเทศ 
          10) สนองงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

     จาก 10 ข้อข้างต้น ผมยังยืนยันตามแนวคิดที่ผมเชื่อว่าข้อที่ 3) คือ กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานด้านสุขภาพ และข้อที่ 7) คือ ดูแลการเงินการคลังเพื่อจัดให้มีบริการสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ต้องแยกให้อยู่คนละแห่งกัน คานอำนาจกัน ผมเลยตั้งข้อสังเกตขึ้นว่าเป็นไปได้ไหมที่จะแยกออกเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ และอิสระจากกัน คานกันเอง ดังนี้
          1) ส่วนภารกิจด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ มีภารกิจข้อ 1, 5, 9 และ 10
          2) ส่วนการการสร้างและการจัดการความรู้สุขภาพ ข้อ 2, 3 และ 4
          3) ส่วนการเงินการคลังและทรัพยากรสุขภาพ ข้อ 7 และ 8
          4) ส่วนการจัดบริการสุขภาพตั้งแต่ปฐมภูมิ จนถึง ตติยภูมิ และบริการพิเศษ บริการขั้นสูงพิเศษ (ยังไม่มีใน 10 ข้อข้างต้นที่เด่นชัด)
          5) การคุ้มครองประชาชนจากภัยสุขภาพ ข้อ 6

     ใครจะคิดยังไงต่อก็น่าจะได้ร่วม ลปรร.กัน ข้อเสนอที่ผมกล่าวถึงนี้ ผมมองที่ตัวประชาชนเป็นหลัก และมองว่าจะป้องกันการฮั้วกันในการจัดบริการเช่นทุกวันนี้ได้ แต่นั่นหมายถึงต้องให้ประชาชนพึ่งตนเองได้จริงอย่างมั่นใจด้วย ซึ่งแรก ๆ ส่วนที่ 2 จะต้องทำงานหนัก เพื่อสร้างกระบวนการให้เกิดขึ้นในระดับชาวบ้านในการดูแลตนเองให้ได้ (อ่านต่อตอนที่ 2)

 

หมายเลขบันทึก: 31358เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากเลยหากประเทศเราทำได้ ประโยชน์ที่แท้จริงย่อมเกิดขึ้นต่อประชาชน

RR

     อยากให้เป็นไปได้จริงเช่นกันนะครับ

ระบบสุขภาพแห่งชาติ

มีขึ้น อย่างที่มีแนวคิดที่ดี

แนวปฏิบัติ หากทำจริง

จากปรัชญาสูงสุดของสิ่งที่คิด

ประโยชน์ย่อมน้อมนำสู่ประชาชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท