บัวสี่เหล่า


บัวสี่เหล่า

จากที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เรื่อง "บัวสี่เหล่า" ซึ่งอาจารย์แต่ละคนได้สอนมาตั้งแต่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก ๆ ครั้งแรก ๆ ก็ไม่ค่อยสนใจ พอโตมานิดหนึ่งก็พอจะรู้บ้างแต่ยังไม่มากนักว่าความหมายคืออะไร แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ได้พบเจอคนซึ่งมีหลากหลายประเภท ทำให้นึกถึง บางอ้อ...ขึ้นมาทันที...

บัวสี่เหล่า คือ บัวใต้น้ำเป็นหนึ่งในระดับของสติปัญญา จากเรื่องบัวสี่เหล่า นั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของคนที่เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เป็น 4 ระดับ คือ

1. พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที

2. พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป

3. พวกที่มีสติปัญญาน้อยแต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้าเปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

4. พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือน ดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่า ปลา อีกด้วย ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานได้อีก

พระพุทธองค์ ทรงเปรียบคน บนโลกนี้ เหมือนบัวสี่ เหล่า แจ้ง แถลงไข

หนึ่งพวกบาน เหนือน้ำ เลิศล้ำใจ ท่านเปรียบได้ ดังคนที่ มีปัญญา

จะสอนชี้ สิ่งใด เข้าใจแจ้ง ไม่ต้องแจง เหตุผล ค้นปัญหา

สามารถเข้า ใจซึ้ง ถึงปัญญา ไม่ต้องมา สอนลาก ให้มากกล

เหล่าที่สอง มองเปรียบ ให้เทียบย้อน เป็นบัวซ้อน พร้อมจะบาน ไม่นานผล

อยู่ปริ่มน้ำ คอยคำสอน สะท้อนตน เปรียบดั่งคน พร้อมเข้าใจ ในถ้อยธรรม

ไม่ต้องย้ำ สอนมากมาย พอหมายรู้ ต้องมีครู คอยชุบ อุปถัมภ์

แนะแนวเหตุ แนวผล และกลกรรม ก็รู้จำ รู้จด เป็นบทเรียน

เหล่าที่สาม ต่ำมาหน่อย ด้อยสติ ท่านดำริ เปรียบคน ที่ค้นเขียน

ต้องอาศัย แรงลาก ให้พากเพียร ต้องหมั่นเรียน หมั่นสอน สะท้อนใจ

ต้องสอนย้ำ นำพา ปัญญาสู่ ถึงจะรู้ ความแจ้ง แถลงไข

ต้องกระหนาบ เกลาขัด ฝึกหัดไป จึงจะได้ ปัญญา เข้ามาทอน

ส่วนเหล่าสี่ ที่สุด มนุษย์แล้ว ไม่เอาแนว ใดย้ำ ในคำสอน

ไม่สามารถ เรียนจด ในบทตอน คือพวกนอน เกลือกตม เกินชมใจ

รังแต่เน่า ทับถม สุดชมหา ให้เต่าปลา เคี้ยวสิ้น กินอาศัย

ยากจะมีช่องแยก แตกกอไป ทิ้งเน่าใน ธารา ไม่น่าชม

แถมอีกเหล่า เน่าสุด มนุษย์แล้ว คือบัวแนว เต่าถุย ใช่คุยสม

แม้เต่าปลา ยังไม่หา มาชื่นชม เสียอารมณ์ ต้องคายทิ้ง ในสิ่งเลว.

เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ที่อยู่ในสังคมแล้ว ทำให้เห็นได้ว่าในสังคม ๆ หนึ่ง จะมีทั้งมนุษย์ที่เปรียบเสมือนเป็นบัวสี่เหล่า ปะปน กันอยู่ สุดแต่ว่า "ตัวเรา" จะเลือกเป็นบัวประเภทไหน ขึ้นอยู่กับจิตใจและการกระทำของตัวเราเอง...

สำหรับบทกลอนข้างต้น ผู้เขียนได้นำมาจากเว็บไซต์ ซึ่งจำไม่ได้ว่านำมาจากเว็บใด ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำบทกลอนมาถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลัง ๆ และเผยแพร่เพื่อเป็นข้อคิดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมได้มีการปรับปรุงตนเองเพื่อความสันติสุขต่อสังคมต่อไป...จึงขอมอบความดีงามให้กับผู้เขียนบทกลอนนี้ด้วย...

หมายเลขบันทึก: 313543เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ P 

โดยเฉพาะอาชีพครูนะคะ เห็นชัดเจนนะคะ

บัวสี่เหล่า

อย่างไรการพัฒนาศักยภาพของศิษย์ทุกคนครูเต็มที่อยู่แล้วนะคะ

สวัสดีค่ะ

มีประโยชน์ค่ะ ขออนุญาตินำไปถ่ายทอดให้เด็กๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ...ครูอี๊ด...

มีทุกองค์กรเลยค่ะ..."มนุษย์มีความแตกต่างกัน" ในด้านต่าง ๆ

ตั้งแต่ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม + ระดับจิตใจ ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ...คุณวันเพ็ญ

ได้เลยค่ะ...

สวัสดีค่ะ

แวะมาดูบัวสี่เหล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ...น้องต้นเฟิร์นค่ะ...

 

ต้องทำใจให้พอดี  กับบัวแต่ละเหล่าครับ

เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ

แล้วอยากให้มีการอธิบายเพิ่มค่ะ

สวัสดีค่ะ...น้องเหมียว...

"บัวสี่เหล่า" เป็นการแบ่งประเภทของมนุษย์บนโลกนี้ค่ะ...เป็นลักษณะของเชิงเปรียบเทียบความเป็นมนุษย์ ว่า คนเราอยู่ด้วยกันมีความเป็นมนุษย์หลากหลายประเภทที่อยู่รวมกันในสังคม...ลองสังเกตสังคมที่ใกล้ตัวน้องเหมียวสิค่ะ...ว่าเป็นอย่างไร...เช่น  บางครั้ง เราจะพบเจอคนที่เป็นคนมีเหตุผล เวลาใครพูดอะไร เขาจะรับรู้ และรู้ว่าจะเป็นอย่างไร  เหมือนกับความคิดของเรา  แต่บางคนไม่เป็นเช่นนั้น บางคนก็ชอบเอาความคิด ความรู้สึกของตนเป็นใหญ่ ไม่รับรู้ ไม่รับฟังเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น ฉันจะเป็นของฉันอย่างนี้ ใครจะทำไม เป็นลักษณะของคนขวางโลก...คนประเภทนี้ เขาไม่ค่อยอยากจะคบหาค่ะ...อีกพวก คือ พวกที่ชอบให้คนสอนและพร้อมจะรับทราบ รับรู้ในเชิงเหตุผล และต้องมีคนคอยให้ทำค่ะ...บางคนก็มีความเป็นเลิศ คือ ไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ เขาก็สามารถเข้าใจได้ด้วยจิตสำนึกของเขาเอง...ขออธิบายคร่าว ๆ นะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท