World Usability Day 2009 : ครั้งหนึ่งในเมืองไทย


เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวานค่ะ วันพฤหัสบดีที่ 12 พ.ย. 2552 สำหรับกิจกรรมเสวนาในงาน World Usability Day 2009 จัดโดย UsableLabs ชุดโครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนจาก สสส. ร่วมกับภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ก่อนจะไปบอกเล่าว่ากิจกรรมของงานนี้เป็นอย่างไร ต้องขอบอกเล่าเกี่ยวกับที่มาที่ไปของการจัดงานในครั้งนี้ค่ะ

World Usability Day เป็นวันสำคัญของคนที่ทำงานทางด้านสายอาชีพ Usability ค่ะ เพราะทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และได้มีการเริ่มต้นวันสำคัญวันนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2548 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในสายอาชีพนี้จะรวมตัวกันเพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ Usability ขึ้น โดยในปีที่แล้วมีการจัดกิจกรรมขึ้นใน 43 ประเทศทั่วโลก และสำหรับปีนี้ สามารถดูกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ที่ http://www.worldusabilityday.org/en/events/2009/map 

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเรียกได้ว่าศาสตร์ทางด้าน Usability ยังคงเป็นเรื่องใหม่ จึงทำให้ทีมงาน UsableLabs เกิดแนวคิดว่า ปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราจะได้เริ่มต้นจัดงานนี้ให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้กันค่ะ และเพื่อให้เข้ากับธีมหลักของของงาน คือ "Design for Sustainable World" สำหรับการจัดงานครั้งนี้ (http://www.worldusabilityday.org/user-centered-system-development) ทีมงานตั้งใจอย่างยิ่งที่จะทำให้ Usability เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย และการได้เชิญผู้มีประสบการณ์มาเสวนาและให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ และน้องๆ นักศึกษาจึงได้เป็นต้นกำเนิดของการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาค่ะ

สำหรับผู้ที่มาร่วมพูดคุยกันในกิจกรรมครั้งนี้มีกัน 3 ท่านค่ะ คือ

  1. อ.ณรินทร์ เจริญทรัพยานนท์  ผู้เชี่ยวชาญ Usability และมีประสบการณ์ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกได้แก่ บริษัททางด้านโทรคมนาคม Sprint Nextel Corp.  และ SPSS Inc. ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. อ.ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์     ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ GotoKnow.org Learners.in.th และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบการจัดการความรู้ระดับองค์กร (Open-source Web-based Enterprise Knowledge Management System)
  3. คุณอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์       ผู้ก่อตั้งและเว็บมาสเตอร์เว็บไซต์ Blognone.com  และมีผลงานหนังสือสร้างเว็บสวยด้วย Drupal และรวมโค้ด Iphone App

สำหรับกิจกรรมในวันงาน เริ่มต้นด้วยการเปิดงานแบบเป็นกันเอง เริ่มด้วยการขอเสียงจากน้องๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ ซึ่งเป็นน้องๆ ที่เลือกเรียนสาขาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศค่ะ

เมื่อเปิดงานเสร็จแล้ว อ.จันทวรรณ ก็เริ่มต้นบรรยายในหัวข้อ Design for social webs ค่ะ ซึ่งอาจารย์ได้เน้นให้เห็นจุดสำคัญของการออกแบบ interface ที่เน้นไปที่การตอบสนองการสร้างเครือข่ายทางสังคม ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สามารถสร้างเครือข่ายและทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้น

ต่อด้วย คุณมาร์ค อิสริยะ ที่ได้บรรยายหัวข้อหนังสือ Design For everyday things ซึ่งเป็นหนังสือที่คนในสายอาชีพทางด้านนี้ต้องรู้จัก เพราะเป็นหนังสือที่ทำให้เห็นภาพของความสำคัญของการออกแบบส่วนที่ต้องติดต่อกับผู้ใช้ว่า สำคัญอย่างไรต่อการใช้งานค่ะ

และท่านสุดท้ายที่บรรยายก่อนที่จะไปเริ่มกิจกรรมในส่วนเสวนาคือ อ.ณรินทร์ ค่ะ โดยอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับการเรื่อง Usability in the real word ที่เปิดสไลน์แผนแรกมาด้วยคำว่า yourability โดยอาจารย์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์จากการทำงานในอเมริกาว่า สิ่งสำคัญของการทำงานทาง ด้าน Usability นั้น จะเน้นถึงการทำงานร่วมกับคน และเทคนิคว่าจะทำอย่างไรถึงจะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ และทำอย่างไรถึงจะทำให้องค์กรเห็นความสำคัญของการนำ Usability มาเป็นส่วนหนึ่งของงาน อีกทั้งยังเสริมประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ให้แก่น้องๆ ที่กำลังจะก้าวไปสู่โลกของการทำงานได้เรียนรู้กันด้วยค่ะ

และต่อด้วยการเสวนา ที่เปิดหัวข้อคำถามแลกให้ทั้ง 3 ท่านได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ซึ่งดิฉันเป็นผู้ดำเนินรายการในส่วนนี้ เริ่มต้นการเสวนา ต้องเป็นคำถามเปิดที่จะช่วยให้น้องๆ หลายๆ คน หายข้องใจว่า Usability คืออะไร ซึ่งจริงๆ แล้วปัจจุบันยังไม่มีคำจำกัดความภาษาไทยที่ได้กำหนดความหมายของคำ คำนี้ไว้อย่างชัดเจน แต่ทุกท่านทั้งอ.จัน อ.ณรินทร์ และคุณมาร์คก็ได้นิยามความหมายของคำนี้จากประสบการณ์ของตรงของออกมาให้ทุกคนได้ทราบค่ะ และยังต่อด้วยคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (User-Centerdd System Development) ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญในการเสวนาครั้งนี้ เนื่องจากผู้ร่วมฟังและจากประสบการณ์ของผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 ทั้งนั้น ล้วนมีประสบการณ์ตรงทางด้านนี้ ซึ่งก็ได้มีการบอกเล่า แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ฟัง ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ตรงที่ทำให้เห็นภาพว่า ทำไมเราจึงจำเป็นต้องเน้นว่าผู้ใช้งานคือบุคคลสำคัญที่จะเป็นเหมือนกุญแจที่จะทำให้เรารู้ว่า เราควรจะพัฒนาระบบอย่างไร และด้วยเวลาอันจำกัด คำถามที่ทีมงานได้เตรียมไว้มากมาย ก็ไม่ได้นำมาเป็นคำถามในการแลกเปลี่ยนทั้งหมดค่ะ แต่คำถามสุดท้าย ที่ฝากไว้ให้น้องๆ คือ เราจะพัฒนาทักษะทางด้าน Usability อย่างไร ทั้ง 3 ท่านก็ได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องอาศัยทักษะการสังเกตและคิดตามว่าทำไมทุกสิ่งในโลกที่เราได้พบได้เจอถึงได้ออกแบบให้การใช้งานเป็นอย่างที่เราเจอ ค่ะ

สำหรับบันทึกก็คงจะบรรยากาศโดยภาพรวมให้ได้เห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นนะคะ แต่ที่สำคัญพลาดไม่ได้สำหรับภาพกิจกรรม ที่เริ่มต้นด้วยการลงทะเบียนของน้องๆ เพื่อรับของที่ระลึกค่ะ

และต่อด้วยภาพบรรยากาศในห้องประชุมใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ ในช่วงเริ่มงานและช่วงการบรรยาย

และในช่วงของการเสวนา

และเมื่อกิจกรรมจบลง ซึ่งเวลาล่วงเลยเกินกว่ากำหนดการณ์ 10 นาที ทางทีมงานได้จัดเตรียมของที่ระลึกให้แก่อ.ณรินทร์ และคุณมาร์ค จากนั้นก็ปิดท้ายด้วยภาพถ่ายรูปร่วมกับทีมงานในครั้งนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 313326เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยากเห็น "ป้ายไวนิล" แบบชัด ๆ ครับ มีอีกสักบันทึกไหมครับ น้องสุนทรีย..สนทนา ;)

ทำให้พี่เข้าใจคำว่า usable labsมากขึ้นค่ะ

ทำให้เขาจัยมากขึ้ยเลยค่ะว่ามันสำคัญยังไง วันนั้นสนุกดีค่ะ สาระทั้งนั้นเลย

ฟ้าฝน ที่หาดใหญ่ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างหนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท