Organization VS KM


สิ่งต่างๆที่เคยรู้มาศึกษามา เมื่อมาเจอสถานการณ์จริงมันเกือบจะไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการคน

องค์กรของผมเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตถุงมือ ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำบริษัทหนึ่งในเมืองไทย ถุงมือส่วนใหญ่ผลิตเพื่อส่งขายต่างประเทศ ผมได้เข้าไปร่วมงานกับบริษัทครบ 6 ปีเต็มพอดีในเดือนนี้ ที่ไม่ได้เปลี่ยนงานเลยเนื่องมาจากคิดว่าบริษัทให้อะไรเยอะ โดยเริ่มเข้าทำงานในตำแหน่งที่รับผิดชอบด้านการผลิตก่อนและทำในหน้าที่นี้ได้เกือบ 2 ปีเต็ม ต่อมาได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านคุณภาพการผลิตด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับเอกสารและต้องประสานงานกับฝ่ายคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นความรู้ที่ได้รับจึงมีความหลากหลายมากขึ้น ลองมาดูกันว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง เริ่มแรกจากพื้นฐานความรู้เดิมเลย ผมจบด้าน biotech จาก PSU แต่งานที่ทำเป็นงานที่เกี่ยวกับยาง ซึ่งต้องใช้พื้นความรู้เรื่อง Polymer เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อเข้าไปทำงานบริษัทจึงได้ให้การฝึกอบรมความรู้ที่เกี่ยวกับยางและเทคโนโลยีต่างๆให้ อันนี้ถือเป็นอันแรก พอทำงานในด้านการผลิต อันนี้ก็ได้ความรู้และประสบการณ์ต่างๆมากมากมหาศาล เพราะสิ่งต่างๆที่เคยรู้มาศึกษามา เมื่อมาเจอสถานการณ์จริงมันเกือบจะไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการคน เพราะพนักงานและหัวหน้างานที่มีขององค์กรนอกจากจะมีเยอะ (2000-3000 คน) แล้ว ยังมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย คือ มีทั้งคนที่เป็นคนในพื้นที่ (คนใต้) และคนที่มาจากภาคอื่นๆของประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นมาจากภาคอีสาน) นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างด้านศาสนาด้วย การดูแลจัดการจึงต้องมีความหลากหลายตามไปด้วย เพราะแต่ละวัฒนธรรมก็มีจุดเด่นและด้อยแตกต่างกัน การทำงานในตำแหน่งนี้จึงถือว่าค่อนข้างสนุกสนานมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วงแรกของการทำงานที่ต้องทำงานในเป็นกะด้วย แต่ละกะก็จะมีลักษณะงานที่แตกต่างกันอีก (แต่ใช้มาตรฐานเหมือนกัน) เช่น กะกลางวันจะเป็นกะที่ค่อนข้างจะวุ่นวายกับการประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่ในกะกลางคืนโดยเฉพาะกะดีก office ทั่วไปจะไม่มีคนทำงาน ดังนั้นงานส่วนใหญ่จึงเป็นการดูแลในเนื้องานได้เยอะ จะวิเคราะห์ข้อมูลหรือมี idea ต่างๆส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงนี้ ต่อมาเมื่อได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านคุณภาพการผลิตด้วย อันนี้แหละท่านทั้งหลายครับ ความรู้ที่ไม่เคยรู้หรือรู้มานิดหน่อยผมได้มาเพียบ เพราะต้องประสานงานกับฝ่ายคุณภาพโดยตรงหรือไม่ก็ต้องเข้าไปเป็นสมาชิกของทีมงานคุณภาพเหล่านั้นด้วย ความรู้ที่แต่ละคนได้รับจากองค์กรจึงมีค่ามาก และมีการนำไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดตั้งทีมงาน QCC เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่มีในแต่ละแผนก/ฝ่าย ก็จะต้องมีทีมงานทุกระดับเพื่อให้นำความรู้และความคิดของแต่ละคนมารวบรวมแล้วประมวลออกมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา มีกิจกรรมข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อปรับปรุงงานให้ทำง่ายขึ้น ต้นทุนถูกลง หรือคุณภาพดีขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ขององค์กรจากกิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงอยู่ในรูปแบบของ Report ต่างๆเยอะแยะมากมาย เพราะสุดท้ายของแต่ละกิจกรรมจะต้องจบด้วยการจัดตั้งมาตรฐาน

คำสำคัญ (Tags): #km#knowledge#by#psu-mba
หมายเลขบันทึก: 313เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2005 02:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท