บันทึกการจัดทำKM Work Shopที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพรเมื่อวันที่ 16/6/2548เวลา 09.00-16.45น. วันนี้ผมได้บรรยายพื้นฐาน KM และจัดทำwork shop ด้วยที่ห้องประชุมเกาะมัตรา ศาลากลางจังหวัดชุมพรโดยใช้เวลาประมาณ 7 ชม. ให้กับที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร บรรยากาศดีมาก ที่กล่าวเช่นนั้น เพราะเหตุว่าเพื่อนๆข้าราชการกรมการปกครองที่เข้ามาประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ถึงแม้จะงงๆในช่วงต้นตอนเช้า แต่เมื่อเข้าใจแล้วเลยมีทัศนคติที่ดีมากๆ ทำให้ผู้เข้าประชุมเกิดอาการอยากมีส่วนร่วมด้วย เลยมีการแย่งคิวไมโครโฟนกันมาเล่าความรู้จริงที่น่าทึ่งให้เพื่อนๆฟัง วันนี้ผู้เข้าประชุมประมาณ 60 คน ทำให้ผู้เข้าประชุมมากกว่า95% มีการเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการทำKMมากๆหลังจากเสร็จการประชุม ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ เราได้สาธิตการจัดกลุ่มปฏิบัติการ KM ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหาร 1, กลุ่มบริหาร 2, กลุ่มบูรณาการ และกลุ่มบริการประชาชน เราได้เลือก ประธานกลุ่มฯ เลขากลุ่มฯ ผช.เลขากลุ่มฯ(ระบบสมัครใจ) วันนี้แต่ละกลุ่มได้ร่วมกำหนด KV ของหน่วยงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนในกลุ่มซึ่งทุกคนทำได้น่าทึ่งมากและได้กำหนด สมรรถนะหลัก(CC)ของหน่วยงานที่จะบรรลุKV ขึ้น และได้สาธิตการสกัดขุมความรู้(KA)ด้วยเทคนิคการใช้เรื่องเล่า.......ปรากฎมีมากมายจนน่าทึ่งและที่สำคัญมีหลายเรื่องที่เรียกเสียงฮาเต็มๆจากเพื่อนๆ...จนลืมว่าหมดเวลาแล้ว และสุดท้ายได้ทิ้งการบ้านให้ทีมKM ของแต่ละอำเภอไปสืบสานสายใยKMต่อจากจุดเริ่มต้นที่มาจุดประกายไว้แต่ละทีมคงต้องไปออกแรงเล่าเรื่องราวให้ท่านนายอำเภอ......ให้รัก KM เหมือนที่ตัวเองที่หลงรักKMให้ได้เสียก่อนนะครับ..... พรสกล ณ ศรีโด บันทึกเมื่อ 17/6/2548KV ของที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร “เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนพัฒนาศักยภาพผู้นำ/บุคลากร ในการให้บริการประชาชน ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด เพื่อความเป็นธรรมในสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนนำไปสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”สมรรถนะหลักของที่ทำการปกครองจังหวัดแบ่งเป็น 4 ด้านด้านการบริหารองค์กรด้านการบริหารราชการปกครองด้านการบริการประชาชนด้านการบริหารเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะหลักด้านการบริหารองค์กร1.การทำงานเป็นทีม2. การทำงานอย่างเป็นระบบ3. การมีภาวะผู้นำของผู้บริหาร4. การจัดสรรงบประมาณ5. การประสานงานของหน่วยงาน6.การมีความรับผิดชอบในการปฎิบัติงาน7. การจัดการบุคลากรและการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน8. การจัดและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ9. การประชาสัมพันธ์องค์กร10. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้11. การเรียนรู้ลักษณะนิสัยของผู้ร่วมงาน12. การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรและบุคลากร13.การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของบุคลากรในองค์กร14. การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กร15. การพัฒนาระบบแรงจูงใจการปฏิบัติงานที่ดี16. การกำหนดและพัฒนาคู่มือแนวทางในการบริหารองค์กร 17. การคัดเลือกและพัฒนาองค์กรต้นแบบเพื่อการเรียนรู้18. การจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานด้านการบริหารราชการปกครอง1. การพัฒนาระบบราชการและงานบริการอย่างต่อเนื่อง2. การเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณี จารีต และวัฒนธรรมและเข้าใจข้อมูล การรู้ปัญหา ในพื้นที่3. การพัฒนาองค์กรระดับหมู่บ้านให้เข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพกำนัน/ผญ. /กม.4. การทำงานมวลชนในพื้นที่โดยการเข้าถึงผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ชุมชน และทักษะการการเจรจาต่อรองมวลชน 5. การมีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ และมีคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี6. การกำหนดนโยบาย/ขั้นตอนการบริหารราชการและการควบคุมการปฏิบัติตาม นโยบายและการติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ7. ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า8. การเรียนรู้ปัญหาท้องที่ และความต้องการของชุมชน9. การจัดตั้งองค์กรต้นแบบเพื่อการเรียนรู้10. ความรู้ ความเข้าใจกฎหมาย11. การเสียสละด้านการบริการประชาชน1. การพัฒนาบุคลากร2. การนำเทคโนโยยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการ3. การพัฒนาระบบงาน กระบวนงานและการขั้นตอนการให้บริการประชาชน4. การปรับปรุงภูมิทัศน์ ทั้งภายในภายนอกองค์กร5. การปฏิบัติงานภายใต้กฎ ระเบียบ6. การปรับปรุงและพัฒนาทัศนคติของบุคลากร7. การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ8.การเข้าใจธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นด้านการบริหารเชิงยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ1. การทำงานเป็นทีม2. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน3. การปฏิบัติงานในเชิงรุก4. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี5. การสร้างศูนย์กลางความรู้6. การจัดทำแผนการทำงานร่วมกันของแต่ละองค์กร7. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานให้มีหน่วยงาน ที่เป็นศูนย์กลางในการ ดำเนินงาน8. การมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน9. การจัดให้มีการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนความคิด10. การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน