การจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจอาหารแช่แข็ง


ควรรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้

หลายๆท่านที่เรียน MBA ไม่ว่าจะเป็นภาคค่ำหรือภาคสมทบล้วนแล้วแต่ทำงานด้วยกันทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของเอกชน รัฐบาล หรือแม้กระทั่งธุรกิจส่วนตัว ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความรู้ และการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกันตามความถนัดของสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้มา เราเป็นคนหนึ่งที่เป็นลูกจ้างของบริษัทเอกชนซึ่งทำงานในส่วนของการตลาดของบริษัทแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งมีหน้าที่ในการติดต่อ ประสานงาน ดูแลลูกค้า ซึ่งตอนแรกๆที่เข้ามาทำงานในส่วนการตลาดก็ค่อนข้างหนักใจอย่างมาก เนื่องจากเราจบการเงิน ไม่ใช่การตลาดเลย แต่การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆก็ไม่ยาก หากเรามีความตั้งใจที่จะเรียนรู้มัน เราเป็นคนหนึ่งที่โชคดีที่มีพี่ที่บริษัทช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่เราทำให้เรา และทุกวันนี้เราก็เป็นคนถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้กับน้องๆที่เข้ามาทำงานกับเรา นอกจากนี้เราได้ถ่ายทอดความรู้ที่เรามีลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเตรียมไว้สำหรับซักวันหนึ่งที่เราจะก้าวออกมาเป็นเจ้านายตัวเอง.....

หากพูดถึงอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็ง เพื่อนๆหลายคนคงยากที่จะเข้าใจ แต่หากเราพูดถึงปูอัด ลูกชิ้นปลาแซลมอน เต้าหู้ปลา ที่เพื่อนๆหาทานได้ตามโรงช้าง หน้าโรงเรียน หรือแม้กระทั่ง MK สุกี้ล้วนแล้วแต่มาจากบริษัทที่เราทำอยู่ โดยทั่วไปอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งจะมีอายุการเก็บได้นานถึง 2 ปี (หากมีการเก็บที่อุณหภูมิ -18oC) ดูๆแล้วหลายคนจะคิดว่าอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งจะไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วการแช่แข็งเป็นขบวนการที่ทำให้ส่วนที่เป็นน้ำในอาหารแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง อันจะทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะยังคงรักษาคุณค่าทางอาหารได้ดี...

ในบริษัทฯจะมี Intranet ซึ่งเป็นเน็ตบริษัทฯ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ต่างๆจากฝ่ายต่างๆมากมาย เช่น QC จะมีข้อมูลเรื่องข้อกำหนดในการส่งออกไปประเทศต่างๆ เราซึ่งมีหน้าที่ในส่วนของตลาดต่างประเทศก็สามารถเข้าไปดูข้อกำหนดต่างๆในการส่งออกไปประเทศที่เราต้องการได้ เช่นการส่งออกไปสหรัฐฯ หลังจากเกิดเหตุการณ์วันที่ 11 ก.ย.2544 มีข้อกำหนดในเรื่องการนำเข้าสหรัฐฯมากมาย ก่อนที่เราจะส่งออกไปได้จะต้องทำการลงทะเบียนให้ได้หมายเลข FDA number ซึ่งในหมายเลขนี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฯเรา และบริษัทฯลูกค้าของเราในสหรัฐฯที่เราได้เลือกให้เค้าเป็น Agent อยู่ เมื่อมีปัญหาในการนำเข้า ทางศุลกากรของสหรัฐฯจะทำการสืบกลับข้อมูลไปที่ Agent ของเราในสหรัฐฯ ส่วนเอกสาร SI (Shipping information) ซึ่งจะมีข้อมูลของสินค้าที่เราส่งออกไป เช่นชื่อผลิตภัณฑ์ ขนาดบรรจุ จำนวน เป็นต้น จะต้องส่งไปให้ Shipping ที่สหรัฐฯ 72 ชม.ก่อนเรือ on board ที่สหรัฐฯ นอกจากนี้ในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ต่างๆก็ต้องให้สอดคล้องกับ FDA ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดของข้อมูลทางโภชนาการหรือ Nutrition facts ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่เป็นแบบสมบูรณ์เลย หากเพื่อนๆคนใดสนใจว่าจะมีรูปแบบๆใด ครั้งหน้าจะแนบไฟล์มาให้เพื่อนๆได้ดูกันนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 306เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2005 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมอยากรู้ว่าถ้าเปนอาหารจำพวกที่ต้องทอดจะทำได้มัยคับ เช่น ทอดมันปลา อะรัยปะมานนี้อะคับ แล้วเราจะเริ่มทำยังงัยอยากเอามาพัฒนาะรกิจที่บ้านอะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท