ป้องกันและบอกลาความเสี่ยง


       

             

    วันนี้ขออนุญาตนำกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง ของแต่ละ รพ.มานำเสนอลองให้เปรียบเทียบหรือปรับนำกลยุทธ์ไปใช้ดูบ้างค่ะ  ผลจะเป็นอย่างไรต้องบอกว่าแล้วแต่ละบริบทของแต่ละสถานที่ค่ะ  บางครั้งเรื่องหนึ่งอาจจะไม่ใช่ ในบริบทเรา ลองดูหลากหลายกันดูบ้างค่ะ 

 

                                   SIMPLE  

   บทสรุปกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลพุทธชินราช แบบง่ายๆ

 

1.Spider การสร้างเครือข่าย คุณภาพแบบใยแมงมุมทั่วทั้ง รพ. เพื่อสานต่อคุณภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นการนำระบบกลางลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

 

2.Informal communication การลดช่องว่างของความไม่เข้าใจ จากการสื่อสารที่อาจยังไม่ทั่วถึง ปัญหาเรื่องไม่มีเวลาว่าง จึงทำให้เกิดกิจกรรม เช่น การกินข้าวด้วยกัน คุยกันนอกรอบ Doctor Rally

 

3.Make fun กระบวนการทำงานที่สนุกสนาน แต่ไม่ไร้สาระ ผลสุดท้ายต้องได้มาซึ่งคุณภาพและความปลอดภัย เช่น การรณรงค์ระบบยาด้วยการสร้างสีสีนการแต่งกาย แบ่งปันรางวัลให้ทุกหน่วยงาน

 

4.Possible dream ฝันให้ไกล ไปให้ถึง โดยให้กำลังใจซึ่งกันและกันว่าทุกอย่างต้องทำได้

 

5.Lateral thinking การคิดนอกกรอบ จากการนำหัวใจของระบบงานมาสร้างชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ลดช่องว่างของความไม่เข้าใจการใช้ระบบงานที่สำคัญ เช่น ระบบปฏิบัติการ 2 24 พี่ช่วยได้. ไวอา-ก้า

 

6.Easy การถอดเนื้อหามาตรฐานลงสู่ก่รปฏิบัติแบบเรียบง่าย โดยไม่ต้องจัดทฤษฎีลงสู่หน่วยงาน เช่น การสร้างเสริมสุขภาพโดยการใช้เข็มมุ่ง 3 ส. ขอสร้างเสริมสุขภาพ

 

                 

 

 

          การบริหารจัดการความเสี่ยงของห้องผ่าตัดแบบ FAME

 

1.Fun for Finding Risk คือ การค้นหาความเสี่ยงให้สนุกและเป็นระบบต่อเนื่อง ทำให้เกิดวัฒนธรรมค้นหาความเสี่ยงด้วยความเต็มใจ

 

2.Assessment Risk คือ การประเมินระดับความเสี่ยง ABC DEF GHI แบบเปิดเผยร่วมกัน

 

3.Managment the Risk คือ การจัดการความเสี่ยงอย่างถูกต้อง ซึ่งหน่วยงานมีการจัดทำบัญชีความเสี่ยงและมีการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางปฎิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยง

 

4.Evaluate the Risk การติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยงว่าบรรเทาเบาบางหรือหมดความเสี่ยงหรือไม่

 

    ** ขออภัย ค่ะ ที่จำไม่ได้ว่าเป็นของท่านใด  ใครทราบช่วยบอกทีค่ะ

 

                                          

 

 

           เส้นทางสู่วัฒนธรรมความปลอดภัย ( Safety Culture )

 

  การทำงาน เราจะให้ความสำคัญกับคน (ใจ ) และทีม   กลยุทธ์เรื่อง การชม การให้การบ้าน การประชุมที่เกิดผลลัพธ์ ทำให้ง่าย ทำให้สั้น ทำให้ปะทะน้อยๆ ทำให้ต่อเนื่อง ทำให้เกิดคุณค่า และทำให้เกิดผลลัพธ์ โดยมีกาละ-เวลาที่เหมาะสม

 

ทีมที่รักจะทำ ทีมที่คุยกันได้ ยิ่งคุยกัน ยิ่งเข้าใจ เข้าถึง และมองเห็นโอกาสพัฒนาพร้อมจะมีส่วนช่วย อยากจะมีส่วนร่วม และแล้วก็ได้พบว่าเพียงมองเห็นแก่นของปัญหา เข้าใจทุกสรรพสิ่ง ว่าล้วนเชื่อมโยงเป็นระบบสัมพันธ์กัน เพียงรวมใจกันคิด ร่วมมือกันทำ พร้อมกันเป็นทีม ความปลอดภัยของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ไม่ได้อยู่ไกลเกินฝัน เมื่อวัฒนธรรมความปลอดภัยเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ผู้คนในสังคมจะได้รับการดูแลรักษาที่ดี โรงพยาบาลปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย และคุณค่าที่เหนือกว่าคุณค่าอื่นใดก็คือ ความสุข ความปิติ และความภูมิใจ ที่ก่อเกิดในหัวใจของคนทำงานทุกคน

 

               การบริหารความเสี่ยง/ธนาคารความเสี่ยง

 

หลักการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลคีรีรัฐนิคมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

1.การบริหารความเสี่ยงเชิงรุก ด้วยการค้นหา ทบทวน การะบวนการทำงาน เพื่อป้องกันเฝ้าระวังและแก้ไขความเสี่ยง

 

2.การเฝ้าระวังความเสี่ยง  ทุกคนทุกหน่วยงานมีหน้าที่เฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงที่เกิด พร้อมทั้งเขียนใบรายงานอุบัติการณ์ทุกครั้งโดยการเขียนเน้นเขียนในเชิงบวก

 

3.การบริหารความเสี่ยงเชิงรับ แบ่งเป็นระดับคือ

- ระดับต่ำ เป็นความเสี่ยงที่ทุกคนสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้ด้วยตัวเอง เช่น พื้นลื่น อุปกรณ์ต่างๆไม่พอใช้

- ระดับปานกลาง หัวหน้างานจะเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมและดำเนินการแก้ไข

- ระดับสูง ผู้อำนวยการจะเป็นผู้จัดการและควบคุมความเสี่ยง

 

4.การจัดการข้อมูลความเสี่ยง  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะเป็นผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ แบ่งประเภทความเสี่ยง และนำเสนอให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขเชิงระบบ

            

      

              

 

 

                  The Risk Bank ธนาคารความเสี่ยง

 

    การทำงานของธนาคารความเสี่ยงมีหลักการทำงานคล้ายๆ กับการทำงานของธนาคาร คือให้มีการนำเงินมาฝากและมีการนำเงินไปลงทุนไปสร้างให้เกิดกำไรเช่นเดียวกัน ธนาคารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งรวบรวมใบรายงานอุบัติการณ์ที่ทุกคนได้ช่วยกันค้นหาและเฝ้าระวังความเสี่ยงและเขียนส่งมา โดยมีกรรมการความเสี่ยงทำหน้าที่เหมือนพนักงานธนาคารเก็บรวบรวมประมวลผล และนำเสนอข้อมูลเพื่อให้คณะกรรมการต่างๆมากู้ยืมไปลงทุน โดยการวางแผนเชิงระบบต่อไป

 

                                  

                                           

 

 

หมายเลขบันทึก: 312000เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • ทุกชีวิตก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทั้งนั้นนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณมากๆๆ

จะได้เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยง

ไม่รู้ว่าเจ้าของจะว่าหรือเปล่า

หากผมจะนำไปประยุกต์กับชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะครูคิม

- ดูรอบตัวเราจะมีความเสี่ยง

- แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์เรามักจะมีกลไกการป้องกันอันตรายเสมอ

- เพราะเรารักตัวเองเป็นที่สุด จริงนะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ japrang

- เราสามารถประยุกต์ในการทำงานได้เสมอค่ะ

- เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท