ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

เตรียมตัวรับการป้องกันและควบคุมโรคที่มากับหน้าหนาว


 

         เริ่มหน้าหนาวเมื่อไหร่ เตรียมตัวรับการระบาดของ 6 โรคที่มากับหน้าหนาว ปีที่แล้วก่อนปีใหม่ พบการระบาดของโรคหัด เกิดขึ้นกับนักศึกษาแพทย์ และต่อมาก็เกิดกับนักเรียนสาธิตทั้งสองโรงเรียน เราฉีดวัคซีนให้นักเรียนเพื่อควบคุมโรค จนหมดแรงกัน เพราะว่านักเรียนมาจำนวนมาก มาปีนี้ยังไม่หนาวเริ่มรับการระบาดของโรคคางทูม นักศึกษาป่วยอีกแล้ว การทำนายคาดว่าจะเกิดอีก ปีหรือสองปี เพราะว่าอายุของนักศึกษาในช่วงนี้มีภูมิต้านทานลดลง และบางคนก็ไม่ฉีดวัคซีนMMR กระตุ้นภูมิต้านทาน

        เตรียมรับมืออย่างไรบ้าง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่เกิดการระบาดหลายครั้ง

1. สำรวจว่า นักเรียน นักศึกษากลุ่มไหนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน MMR กระตุ้นครั้งที่2   (งานช้างที่ยากมาก ๆ) แบบนี้ต้องมีโปรแกรมให้นักศึกษากรอกข้อมูล 

2.นำเสนอผู้บริหารให้เป็นนโยบาย  ให้นักษาศึกษาใหม่ทุกรายที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน MMR ครั้งที่สอง ได้รับวัคซีน จะเป็นในรูปของมหาวิทยาลัยสนับสนุนรายจ่าย หรือให้  ผู้ปกครองจ่ายค่าวัคซีนขึ้นอยู่กับนโยบายผู้บริหาร

3.ประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำ แจกเอกสาร ติดป้ายประกาศ นำขึ้ยweb siteของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาได้ทราบและสามารถดูแลตัวเอง ป้องกันโรคได้

4. สร้างเครือข่ายนักศึกษาเฝ้าระวังป้องกันช่วยควบคุมโรค โดยมีแกนนำของแต่ละคณะมาร่วมและนำไปขยายผล  โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ต้องเชิญมาช่วยและมีส่วนร่วม

5. เฝ้าระวังโรค ตรวจจับความเร็วของการเกิดโรคให้ทันกับสถานการณ์ วิเคราะห์

คิดวางแผนแล้วจะทำตามที่วางแผนได้ไหม ต้องสู้นะคะ ว่าจะรับงานนี้ต่อหรือถอย

             โรคที่เกิดขึ้นในฤดูหนาวมักจะเกิดกับเด็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หัดเยอรมัน สุกใส และอุจจาระร่วง สาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อไวรัสซึ่งชอบอากาศหนาวเย็น  อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=29014

       โรคหัดมักเกิดในเด็กโตและวัยรุ่น ระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวต่อฤดูร้อน หรือช่วงที่เด็กทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการรับน้อง อาการจะเริ่มจากมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง หลังมีไข้ประมาณ 4 วันจะมีผื่นขึ้น ไข้จะลดลงเมื่อผื่นกระจายทั่วตัว เด็กที่ป่วยเป็นหัด ให้แยกออกจากเด็กอื่นๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผื่นจะจางหายไปภายใน 2 สัปดาห์ หากเกิดในเด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารจะมีอาการรุนแรง มีโรคแทรกซ้อน เช่นปอดอักเสบ ช่องหูอักเสบ สมองอักเสบได้   โรคนี้ประสบการณ์ที่ผ่านมา ต้องฉีดวัคซีน      ผู้สัมผัสใกล้ชิดให้ทัน ภายใน 72 ชั่วโมง 

       ในปีนี้ต้องเฝ้าระวังติดตามให้ใกล้ชิด ปล่อยให้เกิดอีกไม่ได้ จะป้องกันควบคุมได้ไหม ในเมื่อโรคนี้ติดต่อกันทางระบบหายใจ

       โรคไข้หวัดใหญ่ อาการจะเริ่มด้วยการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ เมื่อเริ่มมีอาการ ควรนอนพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ ถ้าตัวร้อนมากควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-7 วัน แต่หากมีอาการไอมากขึ้นหรือมีไข้สูงนานเกิน 2 วันควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเด็กเล็กหากหายใจเร็ว หอบ หรือหายใจแรง จนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ โรคปอดบวม ซึ่งมีความรุนแรง ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย เด็กขาดสารอาหาร เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด เช่นโรคหัวใจ

        ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลและไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ เรามีระบบการเฝ้าระวังและการตรวจรักษาที่เฉพาะอยู่แล้ว ไม่น่าห่วง ต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้

        โรคหัดเยอรมันเป็นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล็ก มีอาการไข้ ออกผื่นคล้ายโรคหัด บางรายอาจไม่มีผื่นขึ้น หากเป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ดังนั้นควรพบแพทย์และหยุดงานหรือหยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์ ขณะนี้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมีบริการฉีดวัคซีนหัดให้เด็กอายุ 9-12 เดือนและวัคซีนรวม ป้องกันได้ 3 โรค ทั้งโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม ให้กับเด็กอายุ 4 - 6 ปี จะมีภูมิต้านทานโรคตลอดชีวิต

         ไม่น่าห่วง ในพื้นที่ไม่พบการระบาด

         โรคสุกใส มักจะเกิดในเด็ก เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมิต้านทานโรคตลอดชีวิต อาการจะเริ่มด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมาจะมีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสหลังมีไข้ 2-3 วัน จากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง และแห้งตกสะเก็ด และหลุดออกเองประมาณ 5 - 20 วัน เด็กนักเรียนที่ป่วยควรหยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์ เด็กเล็กที่ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการอักเสบจากการเกาที่ผื่น 

          จากประสบการณ์ปีที่แล้ว พบบุคลากรป่วยด้วยโรคสุกใสหลายราย และเกิดการระบาดที่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน ปีนี้การเกิดโรคน่าจะลดลง บุคลากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว คือพยาบาลเด็ก พยาบาลหลังคลอด

          โรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาว มักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ติดต่อโดยการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนเข้าไป เด็กจะถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาการแรกเริ่มอาจคล้ายไข้หวัดก่อนถ่ายเหลว โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง แต่เด็กบางคนอาจขาดน้ำรุนแรง ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากเด็กที่ป่วยจะมีน้ำหนักลดลง การเจริญเติบโตหยุดชะงักไปพักหนึ่ง

           ควรให้อาหารเหลวบ่อยๆ เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด ให้ดื่มนมแม่ สำหรับเด็กที่ดื่มนมผสม ควรผสมนมให้เจือจางลงครึ่งหนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น หากยังถ่ายบ่อย ให้ผสมสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ให้ดื่มบ่อยๆ อาการจะกลับเป็นปกติภายใน 2-7 วัน หากรักษาเองที่บ้านแล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

            การป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสะอาด ปลอดภัย เด็กมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ ได้ดี ผู้ที่ดูแลเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเตรียมอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ให้เด็กกินอาหารที่สุกใหม่ๆ และดื่มน้ำต้มสุก โดยให้เด็กที่ป่วยถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่รองรับมิดชิด แล้วนำไปกำจัดในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย

           โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคอันดับหนึ่งที่เฝ้าระวังมา 3 ปี และอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล จัดเลี้ยง

หมายเลขบันทึก: 311993เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

คืนนี้ที่เขาใหญ่ ยังไม่หนาวครับ

1.

P
JJ
เมื่อ อา. 08 พ.ย. 2552 @ 21:38

สวัสดีคะอาจารย์เจเจ

ขอนแก่นร้อนมากคะอาจารย์เปิดแอร์นอน เที่ยว พักผ่อนให้สนุกนะคะ นำภาพสวยมาให้ชมด้วยคะอาจารย์

สวัสดีค่ะ

* แวะมารับวัคซืนค่ะ

* สุขกายสุขใจรับฤดูหนาวนะคะ

3.

สวัสดีคะพี่พรรณา

ขอบคุณนะคะที่ใส่ใจสุขภาพ ขอให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆนะคะ

 สวัสดีค่ะ

มารับความรู้ดีๆ ไว้ ให้น้องมี่ เตรียมรับมือ สำหรับหนาวนี้ค่ะ

 

สวัสดีคะน้องชาดา

เตรียมตัว ออกำงกาย อาหารดีมีประโนชน์ อารมณ์แจ่มใสสู้โรคภัยได้คะ

วันนี้ไปดูการออกรายการสด สัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อ บทโทรทัศน์เขียนครั้งแรกในชีวิต จะคุณเบญจมาภรณ์ ฝ่ายรายการบอกว่าเขียนได้เท่านี้ก็ OK แล้วคะ ต่อไปขอให้มาช่วยจองรายการอีกนะคะ และให้ฝึกเขียนบทไว้เรื่อย ๆเตรียมเนื้อหา ภาพไว้ พรุ่งนี้จะมีสอนการเขียนบทโทรทัศน์ เสียดายต้องไปกรุงเทพฯ

เป็น ข้อมูล ที่ มี ปย. มากครับ

ผมจะได้เตรียมรับ คนไข้ได้ครับ

8.

สวัสดีคะ คุณศุภรักษ์

พี่ติดตามอ่านงานเยี่ยมบ้าน แล้วพี่ประทับใจจริง คงจะได้ขอคำแนะนำจากน้องนะคะ ต่อไปพี่จะได้ลงชุมชนด้วยนะคะ

10.

P
nussa-udon
เมื่อ อา. 15 พ.ย. 2552 @ 21:52
#1676625 [ ลบ ]

สวัสดีคะน้องนุช ตาร้อนเลยคะ ไม่ได้ไปร่วมงานแต่ง ถูกแซวว่าเป็นตั้งต้น แต่ไม่ได้มีโอกาส ไปงานแต่ง เลยอดเจอน้องนุชและคนอื่น ๆ เลยคะ ไปอุดรอีกจะต้องหาโอกาสไปพบน้องนุชนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท