Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แผนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ตอนที่ 1


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนการสอนหรือเค้าโครงการสอนในรูปแบบใหม่ ซึ่งนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) มาเป็นต้นแบบในการวางแผนการเรียนการสอน แพรได้ทำตัวอย่างมาให้ทุกท่านที่สนใจศึกษาตามรูปแบบใหม่  ดังนี้ค่ะ

มหาวิทยาลัยสยาม

เค้าโครงการสอนและแผนการสอน

 

ชื่อสถานศึกษา                                                           

มหาวิทยาลัยสยาม

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา

คณะบริหารธุรกิจ    ภาควิชาการจัดการทั่วไป (ระดับปริญญาตรี)

 

หมวดที่ ๑ ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา

 

. รหัสและรายชื่อวิชา                   ๑๓๔ - ๔๐๕ การบริหารความขัดแย้ง

. จำนวนหน่วยกิต                        ๓ หน่วยกิต   ๓(๓-๐-๐ )

. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

     ๓.๑  หลักสูตร                          บริหารธุรกิจ    สาขาการจัดการทั่วไป

     ๓.๒ ประเภทของรายวิชา              วิชาเอกบังคับ

. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

     ๔.๑  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา    อ.แพรภัทร  ยอดแก้ว

     ๔.๒  อาจารย์ผู้สอน                          อ.แพรภัทร  ยอดแก้ว

. ภาควิชาชั้นปีที่เรียน

     ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๒  

. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites)               วิชา ๑๓๔ - ๒๐๑  การจัดองค์การและการจัดการ

. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)            ไม่มี

. สถานที่เรียน     

     ภาควิชาการจัดการทั่วไป

. วันที่จัดหรือปรับปรุงและรายละเอียดของวิชา ครั้งล่าสุด

    ๕ พฤศจิกายน  ๒๕๕๒

 

 

 

หมวดที่ ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 

.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา

    ๑.๑  เพื่อให้นักศึกษา รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี และ กระบวนการการบริหารความขัดแย้ง       

    ๑.๒  เพื่อให้นักศึกษา สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ กระบวนการการบริหารความขัดแย้งได้

    ๑.๓  เพื่อให้นักศึกษา สามารถนำการบริหารความขัดแย้งไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตได้

    ๑.๔ เพื่อให้นักศึกษา มีความสามารถและทักษะในการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้งไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผล

. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา

      มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

 

หมวดที่ ๓  ลักษณะและการดำเนินการ

 

.  คำอธิบายรายวิชา

      ศึกษาเกี่ยบกับแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง พฤติกรรมบุคคลเมื่อพบความขัดแย้ง สาเหตุของความขัดแย้ง กระบวนการบริหารความขัดแย้ง  กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งในองค์การ  ภาวะผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์  การเจรจาต่อรอง  การวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้กรณีศึกษา  เพื่อหาวิธีแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น  และการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีประสิทธิผลสูงสุด

. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการสอนต่อภาคการศึกษา

 

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

๓๖ ชั่วโมง

ไม่มี

ไม่มี

๗๒ ชั่วโมง

 

. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

     ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

หมวดที่ ๔  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และยุทธศาสตร์ตามนโยบายสถานศึกษา ๓ ดี (3D)

 

.   คุณธรรม จริยธรรม

      ๑.๑   ความรู้ที่ต้องได้รับการพัฒนา

           -  จริยธรรมทางธุรกิจ  ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

              - การเคารพสิทธิ  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

              - การเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม การมีวินัย  ตรงต่อเวลา

              - ความซื่อสัตย์และกล้าหาญในวิชาการ

              - ความคิดสร้างสรรค์

              - ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

       ๑.๒  วิธีการสอน

           - กำหนดกติการ่วมกันและปฏิบัติเข้มงวด ในการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานและการนำเสนอผลงาน ที่ถูกต้องและตรงต่อเวลา

               - ให้ทุกคนในแต่ละกลุ่ม ได้มีโอกาสอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน

               - ให้ทุกคนในแต่ละกลุ่ม มีส่วนร่วมในการนำเสนออย่างเท่าเทียมกันในการนำเสนอผลงาน

               - ให้ทุกคนในกลุ่มอื่นๆ  สามารถซักถาม ให้ความเห็น และ เสนอแนะแก่กลุ่มที่กำลังนำเสนองาน

                  เพื่อนำปรับปรุงแก้ไขให้ผลงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

               - ให้ทุกคนในห้องเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการจริยธรรมเพื่อพัฒนาตนเอง  และพัฒนาสังคม

        ๑.๓  วิธีการประเมินผล

             - ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การนำเสนอ  การแสดงความเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน

                - ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย

                - ประเมินจากการดำเนินงานจัดทำโครงการจริยธรรมสร้างสรรค์สังคมและรายงานจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม

.  ความรู้

       ๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ

                แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับความขัดแย้ง  พฤติกรรมทางสังคมของบุคคล  สาเหตุความขัดแย้งของบุคคล  สาเหตุความขัดแย้งขององค์การ กระบวนการของความขัดแย้ง   พฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อความขัดแย้ง การบริหารความขัดแย้งยุทธ์ศาสตร์ในการบริหารความขัดแย้ง ผู้นำกับการจัดการความขัดแย้ง  การเจรจาต่อรอง  การพัฒนาตนเองโดยใช้ 7 อุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง

         ๒.๒  วิธีการสอน

                     เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง โดยเริ่มต้นด้วยผู้สอนเปิดประเด็นเนื้อหาสาระและ การตั้งคำถาม แล้วให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปราย ระดมความคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์ สรุปผล นำเสนอผลสรุปและให้ข้อเสนอแนะถึงแนวทางนำเอาข้อค้นพบไปใช้ประโยชน์  โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง  มีการบรรยายเสริมเพิ่มเติม ให้ feedback แก่ผู้เรียน และ มอบหมายงานงานให้ผู้เรียนศึกษาล่วงหน้าเพื่อเป็นฐานในการเรียนครั้งต่อไป           

          ๒.๓  วิธีการประเมินผล

                     - การสอบกลางภาคและปลายภาค      

                     - การทำรายงานรายบุคคล  กลุ่ม และ การนำเสนอรายงานกลุ่ม

                     - ความสำเร็จของการจัดทำโครงการจริยธรรมสร้างสรรค์สังคมและรายงานจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม

.   ทักษะทางปัญญา

       ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

                  ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการคิด  โดยสามารถที่จะเสนอแนะแนวทาง ในการนำเอาความรู้ที่มีอยู่หรือความรู้ที่สังเคราะห์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในบริบทต่างๆ 

         ๓.๒  วิธีการสอน

                    ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายที่ส่งเสริมให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบหรืออย่างมีกลยุทธ์ เช่น การอภิปราย  การระดมความคิด และ การใช้ปัญหาเป็นฐาน  เน้นให้เกิดการคิดที่ท้าทายต่อการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ

          ๓.๓  วิธีการประเมินผล

                - ประเมินจากตอบคำถาม  การอภิปราย การแสดงความเห็น และการนำเสนอ  ของผู้เรียน

                   - ประเมินจากการรายงานเดี่ยวและรายงานกลุ่ม

                   - ประเมินจากการสอบข้อเขียนที่วัดในระดับ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการให้ข้อเสนอแนะ

                   - ประเมินจากการดำเนินงานจัดทำโครงการจริยธรรมสร้างสรรค์สังคมและรายงานจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม

.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

       ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

                  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย  สามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างราบรื่น  มีความเคารพนับถือทั้งในตนเองและบุคคลอื่นอย่างจริงใจ มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไว้วางใจต่อบุคคลอื่นๆ มีบุคลิกภาพที่ดี  มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม

         ๔.๒  วิธีการสอน

                    - จัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการฟังที่มีประสิทธิผลและมีทัศนคติเชิงบวก

                    - จัดกิจกรรมให้มีการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม

                    - ส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนแต่ละคน มีโอกาสแสดงออกถึงการมีภาวะแห่งการเป็นผู้นำ

          ๔.๓  วิธีการประเมินผล

               - ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

                  - ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายทั้งระดับรายบุคคลละกลุ่ม

                  - ประเมินจากผลการประเมินโดยตัวผู้เรียนเองและโดยเพื่อน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ

                  - ประเมินจากการดำเนินงานจัดทำโครงการจริยธรรมสร้างสรรค์สังคมและรายงานจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม

.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

        ๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

                 - ทักษะในการแปลงผลวิเคราะห์และการประเมินความรู้เชิงคุณภาพให้เป็นเชิงปริมาณ

                 - ทักษะในการนำเสนอผลสรุปและข้อเสนอแนะที่เป็นเชิงคุณภาพให้เป็นเชิงปริมาณ

                 - ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

                 - ทักษะการมีวิจารณญาณในการเลือกใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ที่เหมาะกับบริบทการเรียนรู้  

         ๕.2  วิธีการสอน

                   - แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อเคราะห์ข้อมูล/สารสนเทศ เชิงคุณภาพ ให้เป็นข้อมูล/สารสนเทศเชิงปริมาณ และประเมินข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเชิงคุณภาพให้เป็นเชิงปริมาณ

                   - มอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในลักษณะที่เป็นตัวเลข กราฟ ภาพ และ ข้อความ

                   - ในการระดมความคิดนั้น ให้สรุปผลการอภิปรายร่วมกันทั้งในรูปแบบที่เป็นเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณที่สอดคล้องเชื่อมโยงกัน และสามารถนำเสนอเป็นตัวเลขได้    

          ๕.๓ วิธีการประเมิน

                     - ประเมินจากการการเขียนรายงาน  โดยพิจารณาที่เนื้อหาและความถูกต้องของภาษาที่ใช้ 

                     - ประเมินจากการนำเสนอรายงาน โดยพิจารณาจากเนื้อหา ความถูกต้องของภาษาพูดและภาษาเขียน และเทคนิคในการนำเสนอรายงานอย่างสร้างสรรค์

                     - ประเมินจากการดำเนินงานจัดทำโครงการจริยธรรมสร้างสรรค์สังคมและรายงานจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม

หมายเลขบันทึก: 310387เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท