023 ถึงเศรษฐกิจจะแย่ แต่ทำอย่างไรให้ธุรกิจคงอยู่


แน่นอนครับสำหรับพวกเราในฐานะผู้ประกอบการ เศรษฐกิจจะแย่อย่างไร ธุรกิจที่เราดำเนินอยู่ก็คงต้องดำเนินต่อไป ล้มไม่ได้ หากธุรกิจล้มก็หมายความว่า มีอีกหลายชีวิตที่ต้องล้มตามธุรกิจไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง ครอบครัว ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ นี่มองในมุมเล็กๆของธุรกิจเดียวเท่านั้นนะครับ

ถ้าหากมองในระดับประเทศหละครับ คงเหมือนโดมิโนที่ล้มเพียงตัวเดียวก็จะล้มกันเป็นแถบๆเลย  คำถามคือว่า แล้วผู้ประกอบการทุกท่านจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไรในสภาวะการณ์ปัจจุบัน และในกาลข้างหน้า ผมขอกล่าวแนวทางการดำเนินกลยุทธ์ของบริษัทผมเผื่อเป็นแนวทางในการที่ท่านอาจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของท่านได้ครับ

 

แนวทางปฏิบัติที่หนึ่ง : ตรวจสอบสุขภาพของธุรกิจ ณ.สถานการณ์ ปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคต

ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทางบริษัทผมได้มีการตรวจสอบ และวิเคราะห์ธุรกิจของผมเพื่อมองว่าเราจะอยู่รอดในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างไร สิ่งที่ผมได้ทำการตรวจสอบมีหลายประการด้วยกันเช่น กำไรต่อเดือน ยอดขายที่ลดลง จำนวนลูกค้า สถาะการ์การเงินของบริษัท จุดคุ้มทุนในการดำเนินงาน นอกจากนี้ผมยังได้มีการทำประมาณการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าด้วยว่าจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ผลกำไร จำนวนสินค้าคงคลัง ความต้องการตลาดเป็นต้น

หลังจากผมทำการตรวจสอบสถานปัจจุบัน และคาดการณ์สถาพตลาดในอนาคตแล้ว ผมก็เริ่มมานั่งวิเคราะห์ธุรกิจที่ตัวเองมีอยู่นั้น มีอะไรบ้าง ธุรกิจไหนมีแนวโน้มดี ธุรกิจไหนมีแน้วแย่  ธุรกิจไหนที่เรามีความเชี่ยวชาญ ธุรกิจไหนที่เราไม่ค่อยเชี่ยวชาญ แหล่งรายได้ของเรามาจากธุรกิจไหนเป็นหลัก เพื่อเป็นการตัดสินใจในแนวปฎิบัติในข้อต่อไป 

 

แนวทางปฏิบัติที่สอง : เน้นธุรกิจหลัก ตัดธุรกิจรองที่ไม่คุ้มทุน

หลังจากที่ผมได้วิเคราะห์ธุรกิจที่ผมมีอยู่ โดยใช้หลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ในข้อที่หนึ่ง ผมได้ทำการตัดใจที่จะเน้นที่ธุรกิจหลักที่เป็นแหล่งรายได้หลักของผม ซึ่งมีแนวโน้มในระยะยาวที่ยังดีอยู่ และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ผมต้องมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆอย่างดีด้วย ผมได้มีการจัดลำดับธุรกิจที่มีความสำคัญลำดับหนึ่ง สอง สาม ไว้ในสมุดโน๊ตของผมเพื่อเตือนตัวเองเสมอว่า อะไรคือธุรกิจหลักของเรา เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกลยุทธ์ หากเหตุการณืในอนาคตไม่ดีผมสามรถตัดสินใจได้ชัดเจนและตรงประเด็นว่า ธุรกิจไหนที่ผมจะทำต่อ ธุรกิจไหนที่สามารถโอนถ่าย หรือขานกิจการไป ในบางสถานการณ์ เราก็ต้องตัดสินใจในการตัดแขนข้างใดข้างหนึ่งเพื่อรักษาชีวิตไว้ แต่แน่นอนครับมันเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ

 

แนวทางปฏิบัติที่สาม : หารายได้จากธุรกิจเสริมที่สามารถต่อยอดจากธุรกิจหลัก

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธุรกิจหลักของผมมีปัญหาเกี่ยวกับยอดขาย ยอดขายของผมตกลงมาประมาณ 20เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งตลาด คำถามคือผมไปเปลี่ยนความต้องการตลาดให้มากขึ้นได้หรือไม่ แน่นอนว่ามันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน แล้วผมจะทำอย่างไรหละ จะให้ผม”ทำใจ” แล้วทำเป็นปูนไม่รู้ร้อนก็คงเป็นไปไม่ได้ ธุรกิจก็ธุรกิจของเรา ทำมากก็ได้มาก ผมเลยมานั่งตรึกตรองดูว่าจะมีวิธีการอย่างไรในการที่สร้างรายได้ให้สูงขึ้นจากที่เป็นอยู่ แน่นอนครับจะให้ผมเพิ่มยอดขายจากรายได้หลัก ก็คงเป็นไปไม่ได้ ผมเลยถามตัวเองว่าตอนนี้บริษัทของเรามีรายได้จากแหล่งไหนบ้าง ผมขอตัวอย่างอย่างเช่น บริษัทผมมีรายได้จาการขายรถจักรยานยนต์ การต่อภาษี พ.ร.บ การบริการแก่ลูกค้าด้านศูนย์บริการ โดยปกติผมจะมองแต่รายได้รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก ในสภาวะอย่างนี้ผมเลยตัดสินใจในการที่เพิ่มรายได้จากบริการอื่นๆที่ผมมี โดยใช้การตลาดนำ(ทำอย่างไรจะกล่าวในบทความอื่นๆต่อไป) หลังจากที่ผมดำเนินการด้านการตลาดประมาณ 2 เดือน รายได้ส่วน การต่อภาษี พ.ร.บ เพิ่มขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้นน้อยมากถือว่าคุ้มมาก

ระหว่างการดำเนินกลยุทธ์สร้างรายได้จากธุรกิจเสริม ผมก็ถามตัวเองต่อว่าแล้วเราจะหารายได้จากธุรกิจหลักนี้ได้อย่างไรอีก ผมก็เริ่มคิด หาข้อมูล พูดคุยกับผู้คนในวงการ ปรากฎว่าผมหารายได้เสริมจาดธุรกิจเสริมที่สร้างขึ้นใหม่ได้อีก สองอย่าง และเริ่มดำเนินการไปแล้วประมาณสองเดือน ผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดี ข้อคิดจากแนวทางปฎิบัติที่สามนี้คือ เงินอยู่รอบๆตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบขึ้นมารึเปล่า และรู้วิธีการหยิบให้ง่ายๆ 

 

แนวทางปฏิบัติที่สี่ : จัดการกับเงินสดให้ดี

เงินสดเป็นสิ่งที่สำคัญมาในทุกสภาวเศรษฐกิจครับ แต่จะสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆอย่างนี้ นักการเงินจะทราบเรื่องเงินสดดีมากว่า ถ้าให้ลำดับความสำคัญระหว่างกำไร กับ เงินสด นักการเงินเลือกเงินสดมากว่า กำไร เพราะหากมีกำไรในงบกำไรขาดทุน แต่รายได้เหล่านั้นได้มาโดยให้เครดิตแก่ลูกค้าไป หากลูกค้าไม่มีความสามารถในการจ่ายคุณ รายได้หรือกำไรที่คุณเห็นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย  ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องพยายามบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพที่สุด วิธีหลักๆเพื่อนำไปปฏิบัติก็คือ วิธีที่ 1 บริหารลูกหนี้ของคุณให้ดี ตรวจสอบจากพนักงานเก็บเงินของคุณบ่อยๆ เพื่อรู้สถานะของลูกหนี้  วิธีที่ 2 เน้นการการเป็นเงินสดหากเป็นไปได้ นึกภาพเศรษฐฐีเงินสด(ตัวอ้วน)เปรียบเทียบกับเศรษฐีเงินเชื่อ(ตัวผอมหิวโซ)ไว้ว่าเราอยากเป็นเศรษฐีประเภทไหน วิธีที่ 3 ขอเครดิตจากคู่ค้าของคุณให้ยาวขึ้น ยิ่งยาวยิ่งดี สามารถจะช่วยให้สถานะเงินสดของท่านดีขึ้น วิธีที่ 4 จัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพที่สุด พยากรณ์ยอดขายให้ถูกต้อง

แนวทางปฎิบัติที่ห้า : ลดหนี้เก่า อย่าก่อหนี้ใหม่ ชลอการลงทุน

 

ในแนวทางปฎิบัตินี้มีประเด็นหลักคือ พยายามลดดอกเบี้ยที่ท่านจะต้องจ่ายในทุกเดือนให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมไม่ค่อยห่วงดอกเบี้ยที่เสียให้แบงค์ครับเพราะเทียบเป็นรายจ่ายน้อยกว่า ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินกู้นอกระบบที่มีการเก็บดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ทางปฎิบัติที่ดีที่สุดหากเลือกได้คือ ลำดับแรกจ่ายหนี้ระบบให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ลำดับสองคือจ่ายหนี้ธนาคาร ประเด็นต่อมาคือ พยายามอย่าก่อหนี้ใหม่ ในความหมายนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ท่านตัดโอกาสในการลงทุน แต่ให้ท่านให้แนวอนุรักษ์นิยมในการตัดสินใจลงทุน พยายามประเมินโครงการที่ท่านองค์ในกรณีที่แย่ที่สุดที่จะเป็นไปได้

 

แนวทางปฎิบัติที่หก : เก็บกวาดบ้านให้น่าอยู่: สร้างและพัฒนาระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้เป็นช่วงที่พนักงานแต่ละคนจะมีเวลาว่างมากขึ้นในทุกๆแผนก ดังนั้นเราสามารถช่วงเวลานี้ในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นการดำเนินงาน 5ส. พัฒนาขั้นตอนการปฎิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง หรือทดลองระบบงานใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นมาเป็นต้น

ทั้งหมดก็เป็นหกแนวทางปฎิบัติในยามที่ธุรกิจซบเซาอย่างนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของท่านได้ครับ ในฐานะผู้ประกอบการเหมือนข้อฝากข้อคิดไว้ให้ทุกท่านนะครับว่า ถ้าเรารักที่จะเป็นผู้ประกอบการแน้วละก็ ทุกท่านสามารถจะท้อได้ ทุกคนก็เคยท้อเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่แยกผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จกับล้มเหลวคือ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จท้อได้ แต่ไม่ถอยครับ

ที่มา http://www.oknation.net/blog/innovation/2008/11/24/entry-2

หมายเลขบันทึก: 310339เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่า คุณสุดสายป่าน

สุขสันต์วันลอยกระทงเนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท