วาทะปรัชญาว่าด้วย "บุตร" : คาลิล ยิบราน


บุตรของเธอ...ไม่ใช่บุตรของเธอ

           คาลิล  ยิบราน  แสดงแนวคิดทางปรัชญาว่าด้วยบุตร ไว้ดังนี้ครับ

 

                                          (คาลิล ยิบราน)

                                        

                                            ในเรื่องของ "บุตร"  

 

บุตรของเธอ...ไม่ใช่บุตรของเธอ 

เขาเหล่านั้นเป็นบุตรและธิดาแห่งชีวิต 

เขามาทางเธอ แต่ไม่ได้มาจากเธอ 

และแม้ว่าเขาอยู่กับเธอ แต่ก็ไม่ใช่สมบัติของเธอ 

เธออาจจะให้ความรักแก่เขา แต่ไม่อาจให้ความนึกคิดได้

เพราะว่าเขาก็มีความนึกคิดของตนเอง

 

เธออาจจะให้ที่อยู่อาศัยแก่ร่างกายของเขาได้

แต่มิใช่แก่วิญญาณของเขา

เพราะว่าวิญญาณของเขานั้น อยู่ในบ้านของพรุ่งนี้

ซึ่งเธอไม่อาจเยี่ยมเยือนได้ แม้ในความฝัน...

 

เธออาจจะพยายามเป็นเหมือนเขาได้

แต่อย่าได้พยายามให้เขาเหมือนเธอ           

เพราะชีวิตนั้นไม่เดินถอยหลัง

หรือห่วงใยอยู่กับวันวาน         

 

เธอนั้นเป็นเสมือนคันธนู  

บุตรหลานเหมือนลูกธนูอันมีชีวิต

ผู้ยิงเล็งเห็นที่หมายบนทางอันมิรู้สิ้นสุด           

พระองค์จะน้าวเธอเต็มแรง เพื่อว่าลูกธนูจะวิ่งเร็วและไปไกล

 

ขอให้การโน้มงอของเธอในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์

เป็นไปด้วยความยินดี 

เพราะว่าเมื่อพระองค์รักลูกธนูที่บินไปนั้น

พระองค์ก็รักคันธนูซึ่งอยู่นิ่งด้วย

 

      

        เมื่ออ่านบทกวีที่เป็นแนวคิดด้านปรัชญาของท่านคาลิล ยิบราน  ขออนุญาตนำมาวิเคราะห์ตามสไตล์ของผมเองนะครับ  

 

      ผมว่าท่านคาลิล  ยิบราน  คงต้องการให้พ่อแม่เลี้ยงลูกให้เขาเป็นตัวของตัวเอง  โดยไม่เอาความรู้สึกนึกคิด ของ พ่อแม่  ไปคิดแทนลูก หรือ  บังคับลูกให้เป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการ   

 

       แต่จะต้องเลี้ยงลูกให้เขาเป็นตัวของเขาเองตามที่เขาต้องการ 

 

     ดังนั้นการเลี้ยงลูกแบบท่านคาลิล ยิบรานทำให้ผมนึกถึงนักคิดอยู่สองท่านครับ

 

                              ท่านแรก ผมนึกถึงคุณมาสโลว์  

 

 คุณมาสโลว์บอกว่ามนุษย์มีความต้องการ 5 ขั้น

1. ความต้องการด้านร่างกาย

 2. ความต้องการด้านความปลอดภัย

 3.  ความต้องการด้านสังคม

 4. ความต้องการการยอมรับ

 5. ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง

 

    พ่อแม่ในสังคมไทยส่วนใหญ่ จะให้แค่ขั้นที่ 1 ครับ  คือ ให้กินอิ่ม นอนหลับ ขั้นสองบางทียังไปไม่ถึงครับ คือ ยังไม่ปลอดภัยดีครับ  เพราะยังมีการดุด่าว่ากล่าว   และ ขั้นสาม บางทีพ่อแม่ก็ไม่ให้ลูกเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ครอบครัว

 

    ถ้าจะให้ดีแบบคาลิล ยิบราน  ต้องไปให้ถึงขั้นที่ 4 ครับ  คือ พ่อแม่ควรที่จะต้องยอมรับลูกในสิ่งที่เป็น "ตัวตน" ของเขา  ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในหลายๆครอบครัวในสังคมไทย

 

       นอกจากนั้นหันกลับมามองทางตะวันออกผมนึกถึงพระพุทธเจ้าครับ 

        พระพุทธเจ้าก็มีหลักธรรมในการเลี้ยงลูกครับ  ที่เรียกว่า "พรหมวิหาร 4"

 

         แต่จะต้องเป็นพรหมวิหารที่ครบทั้ง 4 ครับ จึงจะสมบูรณ์  ส่วนใหญ่จะขาด "อุเบกขา"  นั่นคือ อุเบกขาในการปล่อยให้เขามีโอกาสได้แสดงความเป็นตัวตนของเขาเองบ้าง   อย่าไปก้าวก่ายอะไรเขามากนัก  

 

       สังคมไทยส่วนใหญ่ก็เลี้ยงลูกแบบ  "ขาดอุเบกขา"  ครับ  นั่นคือ ชอบเลี้ยงลูกให้เขาเป็น "เด็ก" อยู่เสมอ  ไม่ยอมปล่อยให้ "เป็นผู้ใหญ่" เสียที

 

      หลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พ่อแม่ ต้องเป็น "กัลยาณมิตร" เพื่อให้ลูกเกิด "โยนิโสมนสิการ"ครับ  นั่นคือ ให้ลูก คิดเป็น ทำเป็น ด้วยการ คิดเอง ทำเอง บ้าง ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม   แต่ส่วนใหญ่  พ่อแม่มักจะไม่ค่อยเป็นกัลยาณมิตร ที่ทำให้ลูกเกิดโยนิโสมนนสิการครับ

     

      ทั้งหลายทั้งปวง  ควจะต้องเปลี่ยนมุมมองในการเลี้ยงลูกให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชีวิตครับ  เพราะ

 

บุตรของเธอ...ไม่ใช่บุตรของเธอ

เขาเหล่านั้นเป็นบุตรและธิดาแห่งชีวิต

เขามาทางเธอ แต่ไม่ได้มาจากเธอ

และแม้ว่าเขาอยู่กับเธอ แต่ก็ไม่ใช่สมบัติของเธอ

เธออาจจะให้ความรักแก่เขา แต่ไม่อาจให้ความนึกคิดได้

เพราะว่าเขาก็มีความนึกคิดของตนเอง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 310331เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะคุณ small man...

เธออาจจะพยายามเป็นเหมือนเขาได้

แต่อย่าได้พยายามให้เขาเหมือนเธอ  

                                                        .....ดีค่ะ...

มีลูก เลี้ยงได้แต่ตัว หากหัวใจนั้นไซร้หาบังคับได้ไม่ ...

พ่อแม่มิควรเลี้ยงลูกเพื่อชดเชยสิ่งที่ตนขาดหายในอดีตค่ะ

Pคุณสุดสายป่านครับ

    มีความสุขสนุกสุขจริงวันลอยกระทงนะครับ

                ขอบคุณครับ

Pคุณnuchครับ  ที่ยกมาตรงนี้ก็ดีนะครับ

เธออาจจะพยายามเป็นเหมือนเขาได้

แต่อย่าได้พยายามให้เขาเหมือนเธอ  

      ขอบคุณครับ

  

PคุณPooครับ

    *  การเลี้ยงลูกเพื่อชดเชยสิ่งที่หายไปของตนเอง ก็มีมากครับ

    *  ครับ ลูกเราเลี้ยงได้แต่ตัว  แต่หัวใจ ต้อง ปล่อยเขาไปครับ

                         ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • อ่านแล้วอิ่มค่ะ  เพราะท่านรอง ฯ สรุปมาหมดแล้ว
  • อ่านซ้ำหลายเที่ยวค่ะ  เพราะถูกใจ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

- เข้ามารับอาหารสมองจากบันทึกนี้ มาแล้วต้องเก็บเกี่ยวความรู้ให้คุ้มค่ะ ได้อาหารสมอง จากสิ่งที่ยังไม่รู้ทำให้เกิดปัญญา.... มาพัฒนาตนเอง

- ชอบมากๆ เลย ขอบคุณมากๆ ค่ะ

                          

         

 

Pขอบคุณพี่คิมมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม

         ลอยกระทงให้สนุกสุขใจนะครับ

Pขอบคุณครูใจมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชมปรัชญาว่าด้วยบุตรของคาริล ยิบราน

สวัสดีครับ

แนวคิดนี้ผมคิดว่าสอดรับและสอดคล้องกับแนวคิดของ OSHO ด้วยครับ เนื้อหาบางส่วนในบทนำ จากหนังสือแปล เล่มล่าสุดของอ. ประพนธ์ครับ (ดีไซน์รัก (Being in Love) http://www.freemindbook.com/menu2_bk_beinginlove.html ) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการกำจัดพ่อแม่ออกจากตัวตนเรา ว่า ถ้าผู้ใดสามารถบรรลุถึงจุดนี้ได้แล้ว ผู้นั้นจะรู้จัก เข้าใจและซาบซึ้งกับคำว่าผู้มีพระคุณและการกตัญญูรู้คุณกับผู้ที่ให้ทุกอย่างกับชีวิตเราอย่างหาที่เปรียบมิได้

  • เรียน  ท่านรอง ฯ small man
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
    ละแม้ว่าเขาอยู่กับเธอ แต่ก็ไม่ใช่สมบัติของเธอ
    เธออาจจะให้ความรักแก่เขา แต่ไม่อาจให้ความนึกคิดได้
    เพราะว่าเขาก็มีความนึกคิดของตนเอง
  • ใช่เลยค่ะ.. ไม่เคยเป็นแม่คน..เป็นแต่ลูก...แต่ก็สัมผัสได้ว่า
    วิธีคิด  มุมมอง ระหว่างแม่กับลูกต่างกันคนละฟากฟ้า    นี่คือความจริงค่ะ

     

     

แวะมาเยี่ยมท่านรองครับ

ไม่ได้แวะมานานครับ

วันนี้....วันบูชา..สายน้ำ

ขอสายน้ำ....พัดพาสิ่งดีๆแด่ท่ารองฯและครอบครัวค่ะ

มีความสุขในวันลอยกระทง และทุกๆวัน นะคะ

ด้วยความเคารพเสมอค่ะ :)

เก็บกระทงที่เด็กๆทำ..มาฝากนะคะ

สวัสดีค่ะ

- คิดถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นกันค่ะ

- ที่กล่าวเรื่อง พ่อแม่ควรมีพรหมวิหาร 4 ค่ะ

Pคุณไทเลย-บ้านแฮ ครับ

    หนังสือ Osho ที่อาจารย์ประพนะธ์แปลที่ผ่านมา ผมมีทุกเล่มเลยละครับท ยกเว้นเล่มล่าสุดดีไซน์รัก (Being in Love)ผมคงต้องรีบหามาอ่านแล้วละครับ  

    ผมชอบใจตรงนี้ครับ

     การกำจัดพ่อแม่ออกจากตัวตนเรา ว่า ถ้าผู้ใดสามารถบรรลุถึงจุดนี้ได้แล้ว ผู้นั้นจะรู้จัก เข้าใจและซาบซึ้งกับคำว่าผู้มีพระคุณและการกตัญญูรู้คุณกับผู้ที่ให้ทุกอย่างกับชีวิตเราอย่างหาที่เปรียบมิได้

    ผมว่าลึกซึ้งมากเลยนะครับ ตรงนี้

                     ขอบคุณครับ

Pคุณธรรมทิพย์ครับ

วิธีคิด  มุมมอง ระหว่างแม่กับลูกต่างกันคนละฟากฟ้า    นี่คือความจริงค่ะ

       ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

 

 

  

PคุณPhornphonครับ

          ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม  สบายดีนะครับ

Pคุณสายธารครับ

     ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม พร้อมผลงานของเด็กๆ

                  สบายดีนะครับ

Pขอบคุณคุณกิติยาครับสำหรับภาพลอยกระทงสวยๆ

Pคุณเพชรน้อยครับ

     พรหมวิหารสี่  เป็นธรรมะในการเลี้ยงลูกเลยละครับ  แต่ส่วนใหญ่สังคมไทยจะขาด "อุเบกขา"

                  ขอบคุณครับ

วันนี้เพิ่งมาSearchเจอครับ

ขอบคุณบทความดีๆครับ ท่านSmall Man

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท