การเข้าร่วมประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19


Nutrition Security for All

 

การเข้าร่วมประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19  

(19 th  International Congress Nutrition : ICN 2009)

4-9 ตุลาคม 2552 ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กทม.

         

             การประชุมนานาชาติทุกเวที คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ต้องมีผู้เข้าประชุมทุกชาติทั่วโลกมาเข้าร่วมประชุม ซึ่งวัตถุประสงค์การประชุม เขากำหนดไว้เป็น THEME คือ “Main theme of the congress is “Nutrition Security for All” The congress will address nutrition as an integrative service, linking with other disciplines such as biomedical and life sciences; food and agriculture; social and behavioral sciences to engage and advance evidence-based policies and programs  within comprehensive food and health delivery systems.”

             ในการประชุมครั้งนี้ แพทย์หญิงแสงโสม สีนะวัฒน์ ในฐานะที่ปรึกษาด้านโภชนาการระดับเชี่ยวชาญพิเศษ สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย ได้ของบประมาณให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านโภชนาการทุกหน่วยงานภายใต้กรมอนามัย เป็นจำนวน 50 คนๆละ 6,000 บาท รวม 300,000 บาท  เพื่อจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนให้  ซึ่งเป็นบทบาทที่ดีมาก+น่ารัก ของท่าน ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

    

            ในบทบาทผู้เข้าประชุม มีความเห็นว่า มีระบบการจัดการที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่มีขั้นตอนมากมาย เขาให้เกียรติเข้าประชุมมาก ใครจะนั่งตรงไหนก็ได้(ยกเว้นที่นั่งที่เขาจองไว้เพื่อคนสำคัญจริงๆ แต่เฉพาะในพิธีเปิด) พูดแบบเราก็คือ “แบบโตๆกันแล้ว” คือเมื่อมีการลงทะเบียนมาล่วงหน้าแล้วก็รับกระเป๋าเอกสารได้เลย จะเข้าประชุมเวลาไหน เรื่องอะไร ห้องใด จะประกาศเป็นช่วงๆ ตามความสนใจเลือกเข้าฟังได้ตามที่ต้องการ เมื่อเข้าห้องประชุมแล้วเขาจะตั้งใจฟังกันมากๆ ไม่มีการวิจารณ์ขณะฟังกับคนข้างๆ โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ไม่มีการคุยกันเลย พวกเราถ้าไปกับเพื่อนบางครั้งเผลอคุยกันเขาจะมองมา เมื่อจบแต่ละเรื่อง เขาจะมีการสอบถาม/แสดงความคิดเห็น แบบสร้างสรรค์ กันอย่างกว้างขวางและตั้งใจ/จริงจัง เขามีการเข้าแถวรอกันที่ไมโครโฟนเลย  ส่วนเรื่องเนื้อหานั้นมากมายหลากหลาย หนังสือสรุปที่เขาแจกเล่มหนามากๆ

 

      

             ในบทบาทของผู้นำเสนอผลงาน ระบบการส่งผลงานของเขาก็ง่าย ไม่มีขั้นตอนมากมาย เพียงเชิญชวนทาง E-Mail ถ้าสนใจก็ส่งทางนี้ได้เลย เมื่อเขาพิจารณาแล้ว ก็จะตอบเรามาทาง E-Mail และจะบุว่าเราจะต้องไปจัดวันที่เท่าไร ที่เลขประจำโปสเตอร์อะไร ประจำอยู่ที่โปสเตอร์เวลาใด เก็บเวลาใด เมื่อไปถึงเดินไปที่เคาน์เตอร์บริการอุปกรณ์ เช่น กรรไกร กาวสองหน้า ฯลฯ ตามที่ต้องการใช้ ไม่ต้องไปลงชื่อเพื่อมานำเสนอผลงานเลย ทุกอย่างเบ็ดเสร็จแล้วตั้งแต่เราส่งผลงานและเขาตอบรับมา การขอบทคัดย่อ ก็ขอเราทาง E-Mail ส่งทางนี้ไปได้เลย ถ้าส่งทันเขาก็จะใส่ในเล่ม Abstract ให้ ถ้าเราไม่ส่งหรือส่งไม่ทันก็จะไม่มี บทคัดย่อของเราในเล่มนี้ ซึ่งในการติดโปสเตอร์นำเสนอก็เช่นเดียวกัน เขาจัดเลขที่ไว้ให้เราถ้าเราไม่ไปจัดก็ไม่มีการตาม ผู้นำเสนอรับผิดชอบเอง “แบบโตๆกันแล้ว”  ส่วนเรื่องความสนใจของผู้ชมโปสเตอร์ ผู้นำเสนอต้องภาคภูมิใจมากๆ เพราะชาวต่างชาติเขาสนใจมากๆ ในผลงานที่นำเสนอ เขาซักถาม/เสนอแนะ(comment) แบบสร้างสรรค์ กันมากมาย กว้างขวาง ในความคิดเห็นของดิฉัน ซาบซึ้งและรู้สึกว่าความมีคุณค่า+ภาคภูมิ ของการนำเสนอผลงาน คือเช่นนี้เอง ผลงานที่นำเสนอ คือ เรื่อง  “Nutrition Flag Food Consumption of Teachers/students in Health Promoting School” (Abs # 1267) ในวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และอธิบายแก่ ผู้เข้าชม เวลา 10.30-11.00 และ 15.30-16.00 น. รหัสใน Abstract   P 18-08  หน้า 212 (ตามรายละเอียด Abstract ใน Annuals of Nutrition & Metabolism)

           การประชุมครั้งนี้เราได้อะไร คิดว่าท่านอ่านข้อความข้างบนนี้แล้วสรุปเองดีกว่านะคะ จะได้เป็นแบบ THEME INTER เขาหน่อยจะดีไหมคะ

                                                                                         

                                                                        พะเยาว์  กรีกำ

                                                               นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ

                                                                ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์

 

หมายเหตุ   เอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม

 

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11487 มติชนรายวัน


ประชุม"โภชนาการนานาชาติ" ครั้งแรกของไทยในรอบ20ปี


 

การประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19 (ICN 2009 : The 19th International Congress of Nutrition) ระหว่างวันที่ 4-9 ตุลาคมนี้ ที่ศูนย์การแสดงสินค้าไบเทค บางนา ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน นับเป็นการประชุมนานาชาติครั้งแรกในรอบ 20 ปี และถือเป็นครั้งสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากตลอดการประชุมคณะผู้จัดงานประกอบด้วย สหพันธ์โภชนาการนานาชาติ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเป็นประธานเปิดงาน ในวันที่ 5 ตุลาคม และร่วมประชุมตลอดการประชุมทุกวัน

งานประชุมดังกล่าวถูกจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี หมุนเวียนไปตาม 5 ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของภูมิภาคเอเชียจะเป็นเจ้าภาพทุกๆ 20 ปี โดยก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้เคยจัดการประชุมดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับการประชุมที่ประเทศไทยครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "ความมั่นคงทางโภชนาการทั่วหน้า" เนื่องจากเล็งเห็นว่า อาหาร โภชนาการ และสุขภาพเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน โดยปัจจุบันประชากรโลกประมาณ 1,000 ล้านคน ประสบปัญหาขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในประเทศแถบแอฟริกา หรือแม้กระทั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย ที่มีสาเหตุมาจากความยากจนและภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ขาดสารอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าทารกที่คลอดออกมาแล้วมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานปีละ 20 ล้านคน โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะพบปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายแคระแกร็นประมาณ 150-175 ล้านคน อีกทั้งยังพบว่ามีการขาดวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณน้อย ซึ่งส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อง่าย ส่วนเรื่องความปลอดภัยของอาหารพบว่า 1 ใน 3 ของคนทั่วโลก หรือประมาณปีละ 2,000 ล้านคน เสี่ยงต่อภาวะอาหารเป็นพิษ หรือโรคท้องร่วง สำหรับปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วนทั่วโลกพบประมาณ 850-1,000 ล้านคน

รศ.เอมอร วสันตวิสุทธิ์ ประธานฝ่ายวิชาการของการประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19 เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้จะมีนักวิชาการ นักโภชนาการจากทั่วโลก ประมาณ 3,000 คน เข้าร่วมเสนอแนวทางให้เกิดความมั่นคงทางโภชนาการในหัวข้อต่างๆ โดยมีประเด็นน่าสนใจ อาทิ วันที่ 5 ตุลาคม ดร.ทาดาทากะ ยามาดะ (Dr.Tadataka Yamada) ประธาน Global Health มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา บรรยายเกี่ยวกับความท้าทายด้านโภชนาการกับสุขภาพที่โลกต้องเผชิญในศตวรรษที่ 21 โดยจะเสนอกรณีศึกษาของประเทศต่างๆ ที่ผลิตอาหารท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อในสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก

วันที่ 6 ตุลาคม หารือถึงประเด็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โดยครอบคลุมความรู้ใหม่ ตั้งแต่ระดับโมเลกุล พันธุกรรม ไปจนถึงระดับบุคคลและประชากร ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุมและป้องกันปัญหาเหล่านี้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยมีการนำเสนอกรณีตัวอย่างของโครงการระดับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการลดปัญหาโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

วันที่ 7 ตุลาคม ประเด็นหลักจะเน้นที่โรคมะเร็งในบริบทของการป้องกันโรค โดยอาศัยมาตรการผสมผสานทางอาหาร โภชนาการ และการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประสิทธิผลของสารเชิงพันธภาพในอาหารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง นอกจากนี้ จะมีการนำเสนอผลการศึกษาการวิจัยระยะยาวในระดับประชากรที่แสดงให้เห็นว่า ภาวะโภชนาการของแม่ก่อนตั้งครรภ์ส่งผลให้ลูกมีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเมื่ออายุมากขึ้น โดยใช้เทคนิคระดับสูงในการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต นอกจากนี้จะมีการนำเสนอข้อมูลการวิจัยการเสริมธาตุสังกะสีในรูปของยาเม็ดที่ช่วยลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในเด็กนับล้านคน โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชียตอนใต้

วันที่ 8 ตุลาคม จะเน้นการครอบคลุมสารอาหารกลุ่มจุลโภชนาการ (Micronutrients) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน สังกะสี ฯลฯ ตั้งแต่ความต้องการของร่างกาย มาตรการทางอาหารที่ช่วยเสริมภาวะโภชนาการของสารอาหารเหล่านี้ และการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันภาวะขาดจุลโภชนาการในหญิงวัยเจริญพันธุ์ แม่และเด็ก ว่าลักษณะของโครงการประเภทใดมีประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งยังเน้นเรื่องความสำคัญของโภชนาการกับการพัฒนาสมองของเด็กในระยะต่างๆ

วันที่ 9 ตุลาคม มีการนำเสนอกรณีศึกษาในระดับนโยบายและการดำเนินโครงการเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีในยุคอาหารแพงที่ประสบความสำเร็จจนเป็นต้นแบบได้ โดยองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาขาดสารอาหารลดลง แต่ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนยังพบอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า เด็กมีน้ำหนักเกินร้อยละ 10-15 ผู้ใหญ่ร้อยละ 25-30 โดย 1 ใน 4 ของผู้มีน้ำหนักเกินจะมีปัญหาไขมันในเ

หมายเลขบันทึก: 308837เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท