การบริบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง


จินตนาการสำคัญกกว่าความรู้

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ถือเป็นผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มใหญ่ ในโรงพยาบาล

 

หลักสำคัญในการดูแลผู้ป่วยได้แก่


1 คุมความดันโลหิตให้ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท

2 หากเป็นเบาหวานหรือโรคหัวใจ ความดันควรต่ำกว่า 130/90 มม.ปรอท

3 หากเป็นโรคไตวาย ความดันควรต่ำกว่า 125/80 มม.ปรอท

4 ลดเกลือ และเพิ่มผัก

5 อย่าให้คนไข้ขาดยา ไม่กินยา  หรือขาดนัด

6 ระวัง ADR จากยา

7 เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บแน่นหน้าอก  อัมพาต  ตัวบวม ไอ ปัสสาวะไม่ออก

หน้ามืด

8 ฝึกสมาธิ และสวดมนต์

9 ตรวจการทำงานของไต

การเลือกยาให้เหมาะกับผู้ป่วย

1 ผู้สูงอายุ เลือก HCTZ

2 หัวใจขาดเลือด เลือก atenolol and enalapril

3 ไตวาย เลือก enalapril (Cr<3.0) or lorsatan

4 หัวใจล้มเหลว เลือก enalapril+carvedilol

5 เบาหวาน เลือกยา enalapril or lorsatan

สรุปหลักสำคัญ

1 ให้ความรู้ที่จำเป็น ในการดูแลตนเอง

2 พูดคุย ตีสนิท

3 แสดง ความห่วงใย

4 จดจำผู้ป่วยได้

5 รับฟัง อย่างตั้งใจ

6 เตือน ภาวะฉุกเฉิน เช่นภาวะไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต

7 การแก้ปัญหาเบื้องต้นที่พบบ่อยในผู้ป่วย

เช่น หากความดันสูง เกิน 160 ให้นอนพัก

หากบวม ให้ ลดน้ำ และงดเกลือ

บทบาท ที่มากเหล่านี้ ในเวลาปกติ อาจทำได้ ยาก

ดังนั้น วันว่าง

 ผมจึงต้องหาโอกาสไปเยี่ยมคนไข้ที่บ้านครับ

คำสำคัญ (Tags): #km#patient care#เภสัชกร#ยา
หมายเลขบันทึก: 308751เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

คนไข้ได้ Enalapril  แล้ว ไอ  จนบางครั้งรบกวนการนอน (มีหัวใจร่วมด้วย)

จะทำอย่างไรดีค่ะ

  • สว. เข้ามาเรียนรู้เพื่อหาทางป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิต และหัวใจขาดเลือดค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลให้ได้เรียนรู้ค่ะ

                                                     

  •  

มาเยี่ยมครับ ... การป้องกัน ดีกว่า การแก้ไขครับ

เรียน คุณกระติก

ใช้ lorsatan แทนครับ เม็ดละ 4 บาท

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องยาค่ะ ดีจังมีเภสัชกรใกล้ตัวใน go to know นี่เอง

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณกับเรื่องที่ดีมีสาระค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ

ผมคิดว่า ควรต้องย้ำ พฤตกรรมเสี่ยง มากกว่านี้ และ มีทางเลือกมากกว่านี้ ในการช่วยลดความดันโลหิต

เช่น การนอนดึก อดนอน การทานไขมัน ของทอด เกินจำเป็น

และหากจะต้องทานผักสมุนไพร ริมรั้ว ที่ช่วยลดความดันบ้าง ช่วยลดอนุมูลอิสระ จะช่วยให้ทั้งเราและคนไข้ มีศักยภาพดูแลสุขภาพ ที่ได้ผล มากกว่า สูตรการใช้ยาแผนตะวันตก

ที่น่าสน กว่านี้ คือ ผป.ไม่ช่วยปรับพฤติกรรม ยังนอนดึก ยังดื่มสุรา ยังไม่เลิกบุหรี่ เราจะทุ่มเทการใช้ยา เพียงใด จะใช้ยาแพง ยาแรง สังคมรับภาระ หรือ ใช้ยาพอประมาณ ผู้ป่วยรับภาระบ้าง มองได้หลายมุม

ผมคิดว่า เราต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมการกิน การพักผ่อน ด้วย แทนการแนะนำแนวทางการกิน เฉพาะบุคคล และ กิจกรรมชุมชน ยังกินแบบเดิมๆ ผป.ก็เปลี่ยนอาหารได้ไม่ยั่งยืน

ฝรั่งสนใจ จัดการ food policy influenced social food culture, food pattern

ฝรั่ง สนใจ sleep deprivation บ้านเรายังพูด งดเกลือ (ซึ่งไม่น่าจะสำคัญมากในปัจจุบัน ที่เราถนอมอาหารด้วยเกลือลดลงแล้ว )

งานวิจัยรักษาความดัน ทั่วโลก ยุคใหม่ ยืนยันว่า ยาขยายหลอดเลือด ดีกว่า ยาขับปัสสาวะ และ ยาลดการเต้นของหัวใจ

(งานวิจัยยุคเก่า บอกว่า ยาขับปัสาวะดี )

ขออนุญาต แลกเปลี่ยนมุมมองครับ

หากมีโอกาส อยากร้องขอ ให้คุณศุภรักษ์ แนะนำ เจาะจงผักที่ลดความดัน ให้ผป.ความดันสูงบ้าง

enalaprilทำให้นอนไม่หลับได้มั้ยค่ะ

ผมไม่พบ ครับ ยกเว้น ทำให้ไอ จนนอนไม่หลับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท