สุขภาพในมุมองใหม่


สุขภาพ บริการปฐมภูมิ

เรารับรู้ ความหมายของสุขภาพ ตามนิยามของ WHO คือ สุขภาวะ (state of well being) ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ(spiritual/หรือปัญญา)

และตามความหมาย ใน พรบ.สุขภาพ “สุขภาพ” ว่า หมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล  

-คือมุมอง สุขภาพ ที่ เป็นสถานะ (state)

-ถ้ามองสุขภาพ ใน มุม ของ ศักยภาพและทรัพยากร(Capacity&Resource)  =ต้นทุนสุขภาพตั้งแต่เกิด +ความสามารถในการดูแลตนเอง(ความรู้และทักษะในการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือสร้างปัจจัยปกป้อง)+โอกาสการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

-อุปสรรคใหญ่ ของสุขภาพดีในมุมมองนี้ น่าจะเป็น

    1.การศึกษา(ความสามารถในการเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร)-->ทำให้ขาดศักยภาพ

     2.เศรษฐกิฐ(รวมถึง ลักษณะงาน,ความมั่นคงในอาชีพ,รายได้)-->ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพและเสียโอกาสเข้าถึงบริการ

     3.การกระจายของสถานบริการคุณภาพ --> เสียโอกาสเข้าถึงบริการ

-ระบบสุขภาพของสังคมไทยปัจจุบัน

 1. มีระบบประกันสุขภาพ(UC+ประกันสังคม+สวัสดิการราชการ) ได้ให้โอกาสการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่เท่าเทียมได้มาก ถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญ แต่ก็ยังมี ปัญหาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ของ กลุ่มผู้ยากจน ขาดคนดูแล (เช่น ส่งต่อ รพ.จังหวัด ไม่มีเงิน ไม่มีคนพาหรือ ไม่สามารถลางานได้จนอาการหนัก)

2. มีระบบการพัฒนา คุณภาพสถานบริการ และปัจจัยเอื้อหรือกระแสกดดัน อย่างต่อเนือง ถึงแม้จะยังไม่สามารถพูดได้ว่ามีสถานบริการคุณภาพอย่างทั่วถึง แต่ต้องยอมรับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลในทางที่ดีมาก และมีโอกาสดีขึนอย่างต่อเนื่อง

3. เริ่ม ให้ความสำคัญกับ การสร้างเสริมสุขภาพ และกิจกรรมเชิงรุกเพื่อการป้องกันโรคมากขึ้น แต่ตรงนี้ ยังไม่ลงถึงการพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ ยังต้องพึงพา สถารบริการและเป็นการรับบริการมากกว่า (เช่นโครงการตรวจสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของสปสช)

4. เริ่ม พัฒนาบริการปฐมภูมิ ซึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญทีจะ ช่วยให้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเป้นระบบได้ สามารถดูแลต่อเนื่องได้อย่างใกล้ชิด และสามารถพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลซึงกันและกันของชุมชน

- ข้อ 1และ 2 มีระบบและทิศทางที่จัดเจน พวกเราช่วยกันสนับสนุน พัฒนาและแก้ปัญหาในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นเสาหลักของระบบสุขภาพที่มั่นคง

-ข้อ 3และข้อ 4 แม้ทิศทางจะค่อนข้างชัด แต่แนวทางยังแกว่งมาก และยังขาดความพร้อมในเกือบทุกพื้นที่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมให้มาก(สนับสนุน สปสช.ลงทุนแบบนี้อย่างต่อเนื่อง) จนกว่าจะตกผลึกได้แนวทางที่จัด ผู้ปฏิบัติตามไม่สับสน ไม่เช่นนั้น ถึงแม้ทรัพยากร(งบประมาณและบุคลากร)พร้อม ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์(สุขภาพดี)ที่ถูกต้องได้ เช่น รพ.สต.ที่กำลัง implement ในปัจจุบันนี้ ภาพรวมพวกเรามั่นใจแค่ไหน....? ในมือเรา เราจะช่วยได้มากแค่ไหน... ?

-สุขภาพในมุมมองนี้(้ำhealth as Capacity&Resource) ก็เป็นรูปธรรมดีนะและความสำคัญ ที่สุดก็ยังอยู่ที่ปัญญา ความรู้และความสามารถในการเรียนที่เป็นประโยชน์

หมอเอก 


หมายเลขบันทึก: 308396เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ที่มองอยู่ตอนนี้คือเมื่อใดสุขภาวะบุคคล ครอบครัว ชุมชนเข้มแข็งเมื่อไหร่

หมายถึงความร่วมมือทุกหน่วยงาน ทุกฝ่าย ทุกองค์กรหันมาร่วมมือกันสร้างสุขภาวะไปในทิศทางเดียวกัน

อันนี้คิดว่าจะเป็นก้าวหนึ่งการบรรลุสุขภาพได้ ที่ทำอยู่ตอนนี้มันยากตรงที่ความร่วมมือนี้แหละค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ ขอบพระคุณที่ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับสุขภาพนะครับ มีประเด็นที่อยากจะชวนคุยต่อครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนในสองประเด็นนะครับ 1.ผมว่าพวกเรานักสาธารณสุข มักจะเหมา "ระบบสุขภาพ" ว่าเท่ากับ "ระบบการให้บริการสุขภาพ" ซึ่งหากพิจารณาลึกๆ แล้ว การให้บริการสุขภาพ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของระบบสุขภาพทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น "ระบบการให้บริการสุขภาพด้วยวิธีทางการแพทย์สมัยใหม่" ก็มีพื้นที่ส่วนแบ่งไม่มากนักใน "ระบบการให้บริการสุขภาพ" ทั้งหมด ผมอยากจะเสนอว่าวิธีการจะเข้าใจสุขภาพจะให้รอบด้าน ต้องถอดหัวโขนของความเป็น "นักสาธารณสุข" ออกก่อนครับ ต้องทำใจก่อนว่า ลองสมมติว่า ไม่มีหมอ ไม่มีโรงพยาบาล ไม่มียา ไม่มีสุขศึกษา ฯลฯ ความหมายของสุขภาาพจะเกี่ยวข้องกับอะไร ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างวิธีที่นักฟิสิกส์ท่านหนึ่ง ที่มองเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องระบบความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และการปรับตัวนะครับ ...the holistic view recognizes also that this system is an integral part of larger systems, which implies that the individual organism is in continual interaction with its physical and social environment, that it is constantly affected by the environment but can also act upon it and modify it. ... What is healthy and sick, normal and abnormal, sane and insane, varies from culture to culture. ... To be healthy an organism has to preserve its individual autonomy, but at the same time it has to be able to integrate itself harmoniously into larger system.

[Fritjof Capra 'The Turning Point'  1983]

2. โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า สุขภาพ คือ ความสุข ซึ่งในทางพุทธศาสนา สุข คือ ภาวะที่ปราศจากทุกข์ สุขกับทุกข์ไม่ใช่สองสิ่งที่ตรงข้ามกัน สุข คือ ทุกข์ที่น้อยลง เหมือนๆ กับความเย็นคือภาวะที่เราเรียกความร้อนที่น้อยลง

ผมเขียนมุมนี้ คือ สุขภาพ ในฐานะความอุดมคติของความเป็นมนุษย์เอาไว้ใน บันทึกของผมที่

http://gotoknow.org/blog/siam-ohp/72681

หากมีโอกาสเรียนเชิญแวะเยี่ยมกันได้นะครับ

ขอบพระคุณครับ

เป็นข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นนี้ มุมมองของ "สุขภาพในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม" นั้น สิ่งที่เราจะต้องมองคือ ระบบความสัมพันธ์ด้านสุขภาพของสมาชิกในสังคม จะเห็นว่า มนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม เมื่อแรกเกิดมา ก็ต้องพึ่งพาผู้อื่น คือพ่อแม่ หรือผู้ดูแล ระบบสุขภาพก็เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน เพราะการดูแลสมาชิกในครอบครัวนั้น จะเป็นกระบวนการขัดเกลา หล่อหลอม วิถีการดำเนินชีวิต ที่มีผลโดยตรง (Health directed) หรือมีผลโดยอ้อม (Health related) ต่อสุขภาพทั้งสิ้น จากกระบวนการปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ ก็จะก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างระบบสุขภาพขึ้น และระบบสุขภาพ ก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น ตามความซับซ้อนของสังคม มีการจำแนก แบ่งย่อย และการสร้างความชำนาญการเกิดขึ้น จนทำให้มีการจำแนกหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ขององค์ประกอบต่างๆในระบบสุขภาพ และมีความซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย ซึ่งหากเราเอาชุมชนในพื้นที่ที่เรารับผิดชอบเป็นหน่วยวิเคราะห์ เราก็จะพบความหลากหลายในองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพ จะมีทั้งระบบการดูแลสุขภาพ แบบดั้งเดิมจนถึงระบบสมัยใหม่ ระบบคิด ค่านิยมและวิถีสุขภาพ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จนถึงระบบคิดในแบบบริโภคนิยม สมัยใหม่ ฯลฯ และแบบแผนของปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ หลายส่วนก็จะมีการจัดระบบระเบียบ จนกลายเป็นสถาบัน เช่น การมีระบบบริการสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพในเชิงธุรกิจ ระบบการขายตรงของผลิตภัณฑ์สุขภาพ? ฯลฯ ดังนั้น ระบบบริการสุขภาพหรือบริการสาธารณสุข จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพโดยรวม

อย่างไรก็ดีมีบทความทางวิชาการบางชิ้นที่มองระบบบริการสุขภาพหมายถึงระบบสุขภาพ แต่โดยพระราชบัญญัติสุขภาพของเรา มองระบบสุขภาพที่กินความกว้างกว่าระบบบริการสุขภาพ

มุมมองสุขภาพ ในฐานะที่เป็นสถานะ กับการมองในฐานะที่เป็น ศักยภาพหรือทรัพยากร นั้น ก็มีบทความมากมาย ไว้ผมจะรวบรวมให้อ่านกันนะครับ ทั้งสองแนวคิดมีเหตุผล โดยส่วนตัวแล้ว หากเราจะใช้เป็นกรอบการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนา เราน่าจะให้ความสำคัญของสุขภาพในฐานะที่เป็นศักยภาพของมนุษย์ เพราะมุมมองนี้ จะทำให้เราสามารถมองเห็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของสมาชิกในสังคม

ชนินทร์

ขอ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจาก ทันตกรรมชุมชนสยามและ อ.ชนินทร์ ครับ

ผมเห็นด้วนเช่นกัน ครับ ว่า ระบบบริการสุขภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ระบบสุขภาพ

ระบบสุขภาพ ส่วนที่ ไม่ใช่ระบบบริการสุขภาพ ที่ผมมองเห็น ได้แก่

ระบบการเรียนรู้ของทุกคนและสังคม เพื่อการดูแลตนเอง และส่วนรวม ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและช่วยป้องกันโรค ทุกคนและทุกภาคส่วน มีบทบาทสำคัญที่จะนำความรู้ที่มี ไปปฏิบัติ หรือเผยแพรกระตุ้นเตือนซึ่งกันและกัน เพื่อ การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ระบบประกันชีวิต และประกันสุขาภาพ ช่วยลดข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาก

ระบบกฏหมาย ที่ช่วยควบคุม รักษาสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและป้องกันอัตรายต่อสุขภาพ ทั้งการกิน การทำงาน และการผักผ่อน ที่ปลอดภัย

เหล่านี้เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดี และจำเป็นที่ ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน ทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีความเข็มแข็ง จึงจะบรรลุ เป้าหมายการมีสุขภาพดี ซึงไม่ว่าจะเป็นมุมมอง ใดก็ตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท