หน่วยฯได้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนลงไปปฏิบัติการซ่อมสร้างสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนใน 5 พื้นที่คือ1)สงขลา ผ่านทางมูลนิธิดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้วเพื่อขับเคลื่อนกลุ่มสัจจะวันละ 1 บาทสร้างสวัสดิการภาคประชาชนระดับจังหวัด 2)นครศรีธรรมราชผ่านทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทำงานกับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ 3)สมุทรปราการ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ทำงานกับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลในคลองบางปลากด 4)ตราด โดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ทำงานกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนตำบลเขาสมิง 5)ลำปาง โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ทำงานกับเครือข่ายองค์กรชุมชนขับเคลื่อนสวัสดิการวันละบาทในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นงานซ่อมสร้างลงลึกในพื้นที่ โดยเชื่อมประสานกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนผ่านโครงข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน 200 ตำบลทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีโครงการประสาน 9 หน่วยงานโดยงบบูรณาการของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่หน่วยฯลงพื้นที่ร่วมปฏิบัติการอย่างเข้มข้น
ข้อค้นพบเบื้องต้นคือ ระบบสนับสนุนของเราขาดแคลนคุณอำนวยที่จะเข้าไปเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มอย่างวิกฤต เป็นปัญหาหลักของสนง.กทบ.ตามพระราชบัญญัติซึ่งจะเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในสภาพที่อ่อนเปลี้ยทั่วทุกหัวระแหง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มการเงินอื่น ๆเป็นอย่างมากด้วย แต่กทบ.ก็ยังคลานต้วมเตี้ยม โดยนโยบายไปทุ่มกับงานหน้าตักที่ด่วนแบบSMLซึ่งได้ประโยชน์เพียงน้อยนิด
ตอนนี้มี 3 หน่วยสนับสนุนหลักที่กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่คือ พช. กศน.และธกส. (ต่อไปคือพช.ของอปท.) กทบ.จะสนธิกำลังสร้างคุณอำนวยเพื่อเข้าไปเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มได้อย่างไร เป็นปัญหาชวนคิดที่สำคัญและเร่งด่วน