การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้


การจัดการความรู้ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

1.   ชื่อโครงการ 

(ภาษาไทย)           การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้การจัดการความรู้ “กรณีศึกษาการ

บริหารงานวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3”

(ภาษาอังกฤษ)   The Development for the Management Quality by the Knowledge Management : The Case Study for Academic Administration in Chumchonbanputhong School

2.  ประเภทของงานวิจัย 

        วิจัยและพัฒนา (Research and Development)  และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Particicatory

 Action Research)

3.  คำสำคัญ

        องค์กรแห่งการเรียนรู้  หมายถึง  องค์กรที่ต้องรับรู้และเรียนรู้ทั้งจากสภาพภายนอกและภายใน เพื่อ

นำมาปรับตัวและทำในสิ่งที่องค์กรต้องทำและเป็นองค์กรเรียนรู้ตลอดเวลา

                การจัดการความรู้  หมายถึง การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัฒกรรมที่จะทำให้ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ

                สถานศึกษา  หมายถึง  สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ปี 2547  คือ  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

4.  คณะทำงานหรือทีมวิจัย

      หัวหน้าชุดโครงการ

        ชื่อ – สกุล              นายวิโรจน์            ฤกษ์ศิริ              

        ตำแหน่งทางวิชาการ          รองผู้อำนวยการโรงเรียน/ชำนาญการพิเศษ

        หน่วยงาน             โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

        การติดต่อ              โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

                                        โทรศัพท์ 075 – 497028 มือถือ 081 – 7882849,084 – 0549455

                                        E – mail : [email protected],[email protected]

ทีมวิจัย

        ชื่อ – สกุล              นางทิวาพร  กาญจนะ

        ตำแหน่งทางวิชาการ  ครู

        หน่วยงาน             โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

        การติดต่อ              โทรศัพท์  075-497028  มือถือ  081-2772255,0819681132

 

5.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในปัจจุบันนี้ ทกประเทศต่างให้ความสำคัญกับการศึกบามาก เคยมีฐานความคิดเดียวกันที่ว่า “กำลังคน คือ ทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าที่สุดและการศึกษา คือ กุญแจแห่งการดำรงชีวิตและความสำเร็จของคนในชาติ” (Education and Manpower Burear ,2543 อ้างถึงใน มีชัย เอี่ยมจินดา 2543:28) คงที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ระบุไว้ ในมาตรา 49 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ...” มาตรา 80 (3) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแหงชาติกฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูเละบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก...” ดังนั้น การคำเนินการพัฒนาการศึกษาในความ

รับผิดชอบของสถานศึกษาสู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ( Knowledge - Based Society ) และการจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ด้วยการถ่ายทอดความรู้ การอบรมบ่มนิสัย ภาย ใต้ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวางตนอย่างสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา(นคร ตังกะพิภพ. 2550 : 1 ) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมเเละวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 ซึ่งสอดคล้องกับเเนวคิดพื้นฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2510-2554) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีสภาพของโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐาน และความเชื่อถือศรัทธาสูงในท้องถิ่น ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีนักเรียน 195 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 10 คน ซึ่งข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่โรงเรียนนี้ไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป และมีความตั้งใจว่าจะเกษียณอายุที่โรงเรียนแห่งนี้ จึงมีความรักและผูกพันกับสถาบันสูง คิดเสมอว่า โรงเรียนอยู่ในสภาพดีอยู่แล้ว มีความทันสมัย มีความพร้อม ในการจัดการเรียนการสอน จนได้รับรางวัลพระราชทาน เมื่อปี 2547

อย่างไรก็ดี การเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานดูเหมือนเป็นจุดเด่นที่สำคัญแต่โรงเรียนก็ยังมีจุดบกพร่อง ได้แก่ ความรู้สึกว่าโรงเรียนอยู่ในสภาพดีอยู่แล้ว จนอาจทำให้ไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการจัดการความรู้ให้กับนักเรียน ชุมชน และสังคมโดยรอบ การประยุกต์ให้ความรู้ในกิจการงานของตนการนำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดขุมความรู้ออกมาใช้แทนที่จะเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงานคือการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (operation Effectiveness)

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ย่อมเกิดขึ้นจากระบบการบริหารจัดการที่ดีอย่างรู้และเข้าใจเป้าหมายชัดเจน เพี่อปฏิบัติภารกิจให้ได้ตามความคาดหวังนั้น ดังนั้นการยึดติดอยู่กับรูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบเก่าๆ ไม่กล้าเผชิญความเปลี่ยนแปลง คอยแต่รับคำสั่งมอบหมายงานจากหน่วยเหนือเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ. 2542 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยcละพัฒนาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การนำรูปแบบการจัดการความรู้ (knowledge Management) มาใช้กับงานวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงจะมีผลต่อการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนอย่างไร

6.  วัตถุประสงค์โครงการ

6.1  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้งานวิชาการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

6.2  เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการความรู้งานวิชาการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

7.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ / เป้าหมายเมื่อจบโครงการ

7.1  ผู้เรียนได้รับความรู้ในคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น

7.2  ผู้เรียนมีความรู้ในสิ่งที่ตนเองมีความต้องการและสนใจ

7.3  ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับกิจกรรมที่ครูจัดให้

7.4  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของ สพท.นศ.3

7.5  ครูผู้สอนมีความชำนาญในการสอนในวิชาที่ตนเองสอนมากขึ้น

7.6  ครูผู้สอนประหยัดเวลา งบประมาณ ในการจัดทำสื่อ/อุปกรณ์ ที่มีราคาแพงในการจัดการเรียนการสอน

7.7  ครูผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น และเสริมสร้างทักษะการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

7.8  ประชาชนในตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช มีความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างกว้างขวาง และทันต่อเหตุการณ์

7.9  มีศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน หน่วยงานต่างๆ

8.  การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ(information)เกี่ยวข้อง

                                นิยามของ “ความรู้”

                ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่า การจัดการความรู้ที่ดีนำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรโดยรวม ทั้งนี้เมื่อศึกษาแนวคิดหรือนิยามของคำว่า “ความรู้” จะพบว่า มีผู้รู้หลายท่านที่ได้ให้นิยามไว้หลากหลาย ดังนี้

                Hideo Yamazaki ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ได้ให้คำจำกัดความของ ความรู้ ในรูปของปิรามิด

 

รูปที่ 2.1 ปิรามิดแสดงลำดับขั้นของความรู้ 

 

โดยให้ความหมายของ “ข้อมูล” ว่าเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลดิบ หรือตัวเลขต่างๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านการแปลความ ส่วน “สารสนเทศ” เป็นข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและตัดสินใจ มีบริบทซึ่งเกิดจากความเชื่อ สามัญสำนึก หรือประสบการณ์ของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ โดยมักจะอยู่ในรูปของข้อมูลที่วัดได้หรือจับต้องได้ อย่างไรก็ตาม สารสนเทศอาจมีข้อจำกัดในเรื่องช่วงเวลาที่ใช้และขอบข่ายของงานที่จะนำมาใช้ ในขณะที่ “ความรู้” คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา หรือกล่าวได้ว่าเป็นสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับเราในการนำไปใช้งาน และ “ปัญญา” คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้

                อีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka ซึ่งเริ่มจากแนวคิดในการจำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explicit Knowledge ซึ่งได้รับความนิยมและนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ทั้ง 2 ท่าน ได้ให้ คำกัดความของความรู้ทั้ง 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

                1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารถ่ายทอดในรูปตัวเลข สูตร หรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันได้ และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

                2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงไดง่าย

                นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ได้แก่ Leif Edvinsson ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประเภท คือ ความรู้เฉพาะบุคคล ความรู้ขององค์กร และความรู้ที่เป็นระบบดังนี้

                1. Individual Knowledge ความรู้เฉพาะบุคคล เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน หรือเป็นความรู้ที่อยู่ในหัวของพนักงาน

                2. Organization Knowledge ความรู้ขององค์กร เป็นความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงานที่อยู่ในกลุ่มหรือฝ่ายงานต่างๆ ในองค์กร ทำให้เกิดเป็นความรู้โดยรวมขององค์กร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานขององค์กรโดยรวมได้มากขึ้น

                3. Structural Knowledge ความรู้ที่เป็นระบบ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการ คู่มือ และจรรยาบรรณต่างๆ ในองค์กร           

                ทั้งนี้ ความรู้ทั้ง 3 ประเภทข้างต้น สามารถเป็นได้ทั้งในรูปของ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge

                Dave Snowden มีมุมมองต่างออกไปว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ซับซ้อนไม่สามารถจัดเป็นระบบที่แน่นอนได้ หรือไม่สามารถกล่าวได้ว่าพัฒนาการของข้อมูลจะนำไปสู่การเป็นสารเทศ ความรู้ และปัญญาตามลำดับเสมอไป โดยให้เหตุผลว่าสารสนเทศที่แม้จะผ่านกระบวนการวิเคราะห์ มีบริบท รายละเอียดที่ครบถ้วน แต่หากไม่ใช่สารสนเทศในเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราไม่สามารถนำไปใช้ได้ ก็ไม่เรียกว่า เป็นความรู้สำหรับเรา ดังรูป

 

รูปที่ 2.3 ลำดับขั้นของความรู้จากมุมมองของ Dave Snowden

                นั่นคือ การจัดการความรู้ต้องอาศัยหลักศิลปะหรือธรรมชาติมากกว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยให้แนวคิดว่าความรู้มีตั้งแต่ประเภทที่เป็นนามธรรมยากต่อการบริหารจัดการ จนกระทั่งถึงรูปธรรม หรือเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน สามารถจัดการได้ง่าย เรียกว่า “ASHEN” ซึ่งมาจากคำว่า

                Artifacts                เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปเอกสาร ลายลักษณ์อักษร

                Skills: เป็นทักษะ หรือสิ่งจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถทำงานได้ หรือประสบความสำเร็จ

                Heuristics: ความรู้ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ หรือจากเหตุผลต่างๆ ที่มี

                Experience: ประสบการณ์ ซึ่งยากในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะตัว

                Natural Talent: พรสวรรค์ หรือสิ่งที่ธรรมชาติให้มา ซึ่งยากที่จะบริหารจัดการได้ เป็นความรู้ที่ฝังลึกและยากในการถ่ายทอดมากที่สุด

 

รูปที่ 2.4 มุมมองของ Dave Snowden เกี่ยวกับความรู้

 

                อีกหนึ่งนิยามที่น่าสนใจเกี่ยวกับความรู้ คือ มุมมองของ Thomas Davenport และ Laurence Prusak ซึ่งกล่าวว่า ความรู้เป็นสิ่งที่อธิบายได้ค่อนข้างยาก แม้ปัจจุบันก็ยังเป็นที่สับสนในเรื่องนิยาม อย่างไรก็ตาม ความรู้ในมุมมองของทั้งสองท่าน คือ การที่เราใช้ประสบการณ์ ค่านิยม สารสนเทศ ความชำนาญ และสัญชาติญาณในตัวเราเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมและกรอบการรวบรวมและประเมินสารสนเทศและประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้รับมา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งวิธีการขึ้นอยู่กับแต่ละคน โดยพบว่า ในหลายๆองค์กรบ่อยครั้งที่ความรู้ไม่ได้อยู่ในรูปของเอกสารที่เก็บไว้เพียงอย่างเดียว แต่อาจอยู่ทั้งในรูปของการทำงานประจำ กระบวนการ วิธีปฏิบัติ และความเชื่อในองค์กรนั้นๆ ดังนั้น การที่จะสร้างความรู้ หรือเรียนรู้ต่างๆ จึงต้องทำให้เหมาะกับองค์กรและประเภทของความรู้

                อย่างไรก็ตาม จากนิยามของความรู้ที่หลากลหายข้างต้น แม้จะยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนแต่สิ่งที่องค์กรควรให้ความสนใจมากกว่าการพยายามตีความคำว่า “ความรู้” ก็คือ การทำความเข้าใจว่าความรู้ชนิดใดเป็นความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินงานขององค์กร และจะนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร

 

นิยามของ “การจัดการความรู้” 

                Ryoko Toyama กล่าวว่า การจัดการความรู้ หมายถึง การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัฒกรรมที่จะทำให้ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ

                Dave Snowden กล่าวว่า องค์กรต้องมีการจัดการความรู้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของการตัดสินใจในองค์กร เพื่อสร้างนวัฒกรรม ทั้งนี้มีการจัดการความรู้อยู่ 3 ประเภท คือ

                1. Content Management คือ การจัดการความรู้ประเภท Explicit โดยเน้นการจัดระเบียบเอกสาร หรือโครงสร้างต่างๆ

                2. Narrative Management เป็นการจัดการความรู้โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องที่รู้มา ภายใต้แนวคิดที่ว่าเราไม่สามารถเขียนทุกเรื่องออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เนื่องจากข้อจำกัดในการเขียน ดังคำกล่าวที่ว่า “We know more than we can say, we’ll always say more than we can write draw : เรารู้มากกว่าเราพูดและเราพูดมากว่าเขียน “ การใช้เทคนิคนี้ต้องเชื่อมตัวระหว่างวิธีการสื่อที่น่าสนใจและเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อ

                3. Context Management เป็นการจัดการความรู้โดยใช้กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้โดยเครือข่ายทางสังคม

                การจัดการเรียนรู้ในแนวคิดนี้ เน้นทั้งด้านการจัดการกับสาระและการสร้างการแลกเปลี่ยนไหลเวียนของความรู้ ดังนั้น จะให้ความสำคัญกับการในลักษณะ Context และ Narrative มากกว่า Content Management

                Yogesh Malhotra กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญในการปรับองค์กรให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ภายไต้สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระบวนการในการผสมผสานความสามารถของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศในการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ และความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม

                Arthur Anderson Business Consulting กล่าวว่า การจัดการความรู้ เป็นการสนับสนุนให้พนักงานในองค์กรรวบรวม ค้นหา แลกเปลี่ยนความรู้ และนำมาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กร โดยเขียนสมการดังนี้

                ความรู้ = (คน + ระบบสารสนเทศในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล)

               

                Carla O’Dell และ Jackson Grayson กล่าวว่า การจัดการความรู้ เป็นกลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้รับความรู้ที่ต้องการภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อยกระดับและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้ การจัดการความรู้โดยตรงแต่เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีระหว่างกันได้

                นอกจากความพยายามของการจัดการความรู้ข้างต้น โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งตะวันออกและตะวันตก ยังมีอีกหลากหลายนิยามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่น่าสนใจได้แก่

                The World Bank ให้คำนิยามของการจัดการความรู้ว่า เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำไปใช้ และเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ

                European Foundation for Quality Management (EFQM) Knowledge Management in Europe กล่าวว่า วิธีการจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์กระบวนการในการจำแนก จัดหาและนำความรู้มาใช้ประโยชน์เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

                The US Department of Army กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นแผนการที่เป็นระบบและสอดคล้องกันในการจำแนก บริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศต่างๆ ซึ่งได้แก่ฐานข้อมูล เอกสาร นโยบายและขั้นตอนการทำงานรวมทั้งประสบการณ์และความชำนาญต่างๆ ของบุคลากรในองค์กร โดยเริ่มจากการรวบรวมสารสนเทศและประสบการณ์ต่างๆ ขององค์กร เพื่อเผยแพร่ให้พนักงานสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ ระบบนี้ทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้กระตุ้นให้พนักงานเกิดความร่วมมือและกระจายอำนาจในการทำงานเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นที่ตั้ง

ยุทธนา แซ่เตียว กล่าวว่า แม้จะมีแนวคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ เป็นการจัดการเพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้ เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมายอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้รูปแบบของการพัฒนาความรู้  ได้แก่

-          การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตของตนเอง

-          การเรียนรู้จากการทดลอง โดยเป็นการตั้งสมมติฐานและทดลองเพื่อให้ทราบผลตามต้องการ

-          การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น เช่น การทำ Benchmarking การจ้างคนเก่าๆมาร่วมงาน การหาพันธมิตรเพื่อพัฒนาหรือแลกเปลี่ยนความรู้ (Alliances) การร่วมกิจการ ( Joint Venture) การรวมและควบกิจการ ( Merger & Acquisition) เป็นต้น

-          การเรียนรู้จากการฝึกอบรมและพัฒนาต่างๆ

(สถาบันเพิ่มพลผลิตแห่งชาติ 2548 : หน้า 13 -25)

 

       

 การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)  

          การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม  

          นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

          1. บรรลุเป้าหมายของงาน

          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน  

          การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่  

          (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

          (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้

          (6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

           โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

         (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม

         (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ

         (3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ

         (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

 ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา

        งาน พัฒนางาน

         คน พัฒนาคน

        องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้

       ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้  

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย

     สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

     การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ

     การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง

     การจัดการระบบการจัดการความรู้

   

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

 องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

     1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

     2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

     3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

     องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการใน

หมายเลขบันทึก: 304405เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท