รายงานการวิจัย: ความขัดแย้งของคู่สมรส


ยิ่งใกล้กัน..ยิ่งขัดแย้ง..ต้องบริหารให้เป็นถ้าคิดจะมีคู่ครอง

รายงานการวิจัย         ประสบการณ์ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส

                               ในกรุงเทพ มหานคร

ผู้เขียน                     นางสาวปัญญฎา   ประดิษฐบาทุกา

สาขาวิชา                  การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์

ปีการศึกษา               2551

อาจารย์ที่ปรึกษา       อาจารย์ดร. สธญ   ภู่คง

 

บทคัดย่อ

            การศึกษาคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาเชิงประจักษ์ (Empirical Phenomenology)  มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส ในกรุงเทพมหานคร  ผู้ให้ข้อมูล  คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด  จำนวนทั้งสิ้น 3 คน  เป็นหญิง จำนวน  2 คน  และเป็นชาย  จำนวน 1 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตามขั้นตอนของการศึกษาคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาเชิงประจักษ์ ซึ่งประกอบด้วย  7 ขั้นตอน  ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก   การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  การบันทึกภาคสนาม  และการบันทึกเทป  และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีของจอร์จี่ (Giorgi)  ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ผลการศึกษาพบว่า

               ส่วนที่ 1     ข้อมูลทั่วไป

                     1.    คู่สมรสที่ 1    พี่ดา  อายุ 35 ปี  เพศหญิง  อาชีพแม่บ้าน (ทำความสะอาด) ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดเชียงราย  การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (กศน.) สถานที่พัก คอนโดแห่งหนึ่ง เขตลาดพร้าว  เงินเดือน 5,500 บาท  อยู่กินกับสามี 16 ปี  มีลูกสาว 1 คน  อายุ 15 ปี (กำลังเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น)  และลูกชาย 1 คน อายุ 3 ปี (ยังไม่เข้าโรงเรียน)  สามีอายุ 36 ปี  อาชีพช่างทอง  เงินเดือน 15,000 บาท  ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดอุบลราชธานี  

                     2.    คู่สมรสที่ 2    พี่ณี  อายุ 46 ปี  เพศหญิง  อาชีพแม่บ้าน (ทำความสะอาด)  ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดนครสวรรค์  การศึกษาประถมศึกษาตอนปลาย  สถานที่พัก บ้านเช่า (บ้านเดี่ยว)  เขตปากเกร็ด  เงินเดือน 6,000 บาท  อยู่กินกับสมี 24 ปี  มีลูกชาย 2 คน  คนโตอายุ 23 ปี (จบปวส. ทำงานแล้ว)  คนเล็กอายุ 16 ปี (กำลังเรียนปวช.ปี 1)  สามีอายุ  51 ปี  อาชีพขับแท็กซี่ เงินเดือน 11,000 บาท  ภูมิลำเนาเดิมจังหวัดมหาสารคาม

                     3.    คู่สมรสที่ 3    พี่โชค  อายุ 50 ปี  เพศชาย  อาชีพพ่อบ้าน (เจ้าหน้าที่ดูแลโรงกีฬา) ภิมลำเนาเดิมจังหวัดปราจีนบุรี

               ส่วนที่ 2     ข้อมูลตอบคำถามการวิจัย                     

                       ความหมายของความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส   เป็นสถานการณ์ที่ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าเกิดความไม่เข้าใจกัน  (ความคิดไม่ตรงกัน / ความคิดสวนทางกัน / ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย)

                       เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการให้ความหมายของความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส   ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างตนกับคู่สมรส  มีเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง คือ  เรื่องเงิน  เรื่องการนอกใจ  เรื่องการเลี้ยงลูก  และเรื่องครอบครัวเดิม

                       ลักษณะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรส   ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าลักษณะของความขัดแย้งระหว่างตนกับคู่สมรส  เริ่มจากความไม่เข้าใจกันในเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง (ความคิดไม่ตรงกัน / ความคิดสวนทางกัน / ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย)  ร่วมกับความโกรธ / โมโห  มีการสื่อสารที่ไม่ดีต่อกัน จนอาจถึงขั้นลงไม้ลงมือ (ทำร้ายร่างกาย) 

                       การจบของเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส   ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าการจบของเรื่องราวความขัดแย้งในแต่ละเรื่อง คือ  หลีกหนี  การร่วมมือกัน / ปรับความเข้าใจ และการยอม

                     จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตระหนักว่าความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส คือ ความไม่เข้าใจกัน  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  และถ้าพิจารณาถึงชีวิตประจำวันของคู่สมรสอย่างละเอียดแล้วจะพบว่าความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง  

หมายเหตุ  งานวิจัยเรื่องนี้นำเสนอในงานสัมมนาหลากหลายวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ            

หมายเลขบันทึก: 304401เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากทราบเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล อยากทราบกระบวนการวิจัยครับ น่าสนใจจังเลย

อยากเห็นรายละเอียดครับ การวิจัยเชิงคุณภาพน่าจะเป็นงานที่เหมาะกับครูในโรงเรียน

ขอบคุณท่านทั้งสองที่ให้ความคิดเห็นและกำลังใจ..ส่วนท่านผอ.พรชัย สนใจการวิจัยเชิงคุณภาพ นับว่ามีวิสัยทัศน์อย่างยิ่ง เพราะการทำวิจัยในชั้นเรียน และในโรงเรียนนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพช่วยได้มาก

เรียน ผอ.พรชัย

งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายอย่าง แต่ที่ใช้มากสุดคือ Gathering, Interviewing, Observing, Fictional และ Imaginal

ส่วนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต เครื่องอัดเสียง และตัวผู้วิจัย

ซึ่งแนวทางนี้ค่อนข้างที่จะวิเคราะห์ยากพอควร และจากการค้นคว้าตอนที่ผู้เขียนทำวิจัยตามแนวทางนี้ ยังไม่พบรายงานวิจัยในประเทศไทยที่ศึกษาตามแนวทางนี้

หากท่านผู้ใดทราบ หรือพบ ขอความกรุณาแนะนำด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้เขียน และจักขอบพระคุณอย่างยิ่ง

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

ขอศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อนำไปประยุกต์ใช้วิจัยในชั้นเรียนด้วยค่ะ

อยากทราบรายละเอียดเครื่องมือ การวิเคราะห์และการแปลผลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท