จิตอาสากับงานการดูแลครอบครัวสูญเสีย


          หลังจากได้รับหนังสือเชิญจากฝ่ายวิชาการ หน่วยการศึกษาต่อเนื่องของเเพทย์เเละประชุมวิชาการ โดยมีท่าน รศ.นพ. บุญส่ง พัจนสุนทร รองคณบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธานกรรมการจัดประชุมวิชาการประจำปีคณะเเพทย์ ปี 2552 ให้ไปร่วมเป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อ"จิตอาสากับงาน palliative care ในเด็ก" ในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ที่จะถึงนี้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องเตรียมก็คือ การเขียนบทความวิชาการเพื่อเผยเเพร่ในเอกสารการประชุม ซึ่งการบรรยายในวันนั้นเราจะขึ้น 3 คน มีพี่เกศคนเก่งของทีมเรา พยาบาลผู้มีจิตอาสาเต็มเปี่ยม พี่เกศคงพูดในบทบาท APNและ co- ordinator  เราทำงานร่วมกันมาตั้งเเต่ปี 2547  ส่วนน้องอาร์มนักสังคมสงเคราะห์ หนุ่มคนนี้ตัวใหญ่ ใจดี สมกับเป็นนักสังคมฯก็พูดในบทบาทของตัวเอง เเละตัวฉันเองก็เรื่องการดูแลครอบครัวสูญเสีย เเต่ทั้งหลายทั้งมวลเราประสานเป็นทีม หลอมเป็นหนึ่งเดียวที่มุ่งสู่คนไข้เด็กระยะสุดท้ายเเละครอบครัว มีท่านอาจารย์ชูศรี  คูชัยสิทธิ์ หัวหน้างานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ของเราเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

               เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา บทความก็ได้คลอดเป็นที่เรียบร้อย เเละเราได้รวบรวมส่งให้พี่เกศเพื่อส่งให้ฝ่ายวิชาการเเล้ว ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ จะเป็นเรื่องจิตอาสากับการดูแลครอบครัวสูญเสียเนื้อหาของบทความมีดังนี้

          จิตอาสากับการดูแลหลังสูญเสีย (Bereavement care )

          การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายเมื่อถึงที่สุดแล้วการสูญเสียคือสิ่งที่ตามมา เมื่อมีสูญเสีย( loss) ก็จะต้องมีคนที่ เศร้า( grief ) และคนที่เศร้าคือ พ่อแม่ ครอบครัว  เนื่องจากผู้เขียนอยู่ในพื้นที่การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและให้การช่วยเหลือครอบครัวสูญเสียมาระยะหนึ่ง  ทำให้ทราบและเห็นถึงความทุกข์ยากของครอบครัวตลอดทั้งตัวเด็กเองเมื่อวาระสุดท้ายใกล้มาถึง  หากเด็กน้อยคนหนึ่งมีโอกาสได้กล่าวคำอำลาต่อเราทีมการดูแล ประโยคสั่งลาสุดท้ายที่เด็กน้อยคนนั้นอยากจะพูด เชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่เขาคงอยากบอกกับเรา พูดกับเราว่า  “เมื่อหนูจากไปช่วยเยียวยาจิตใจพ่อแม่หนูด้วย”  การดูแลจึงไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อเด็กตาย  คนที่อยู่ข้างหลังต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เวลาที่เราดูหนัง พระเอกตายหนังก็จบ เเต่ถ้าเป็นระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเมื่อคนไข้ตาย การดูแลยังไม่จบ ยังไม่สิ้นสุด การดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย( Bereavement care) จึงเปรียบเหมือนการดูหนังตอนจบ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของ Bereavement care ก็คือ

1.      เพื่อให้ครอบครัวและคนที่อยู่ข้างหลังเข้าใจธรรมชาติของความเศร้าโศกและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

2.       เพื่อให้ความมั่นใจเเก่ผู้เศร้าโศกว่าเป็นกระบวนการอันปกติ

3.       เพื่อให้เข้าใจอุปสรรคที่อาจพบหลังสูญเสียและวิธีการจัดการ

4.      ช่วยเหลือในการหาวิธีการเผชิญกับความเศร้าโศกได้อย่างเหมาะสม

5.        เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การยอมรับความเป็นจริง

      วิธีการให้การช่วยเหลือครอบครัวนั้นเราเริ่มต้นตั้งแต่หลังการแจ้งข่าวร้าย( breaking bad news) โดยเริ่มให้การช่วยเหลือตั้งแต่ผู้ป่วยเด็กยังไม่เสียชีวิต  เช่น การประเมินครอบครัว ความเสี่ยงต่อการปรับตัวที่ยากลำบาก( Bereavement risk assessment )  การมอบสิ่งที่เป็นความทรงจำที่ดี เช่น ภาพถ่าย วีดิโอ  สมุดบันทึก สิ่งของ  และหลังจากผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตแล้ว

       โปรแกรมการดูแลที่สามารถทำได้เลยคือการติดตามถามข่าวและให้กำลังใจครอบครัวซึ่งทำได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมาย การโทรศัพท์  การนัดหมายครอบครัวสูญเสียมาทำกลุ่มพบปะลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ( Self help  group)  การให้การช่วยเหลือครอบครัวสูญเสียเป็นงานที่ยากลำบาก  แต่หากเรามีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเขาคงไม่ยากเกินกำลัง ผู้ที่จะทำงานตรงนี้ได้ก่อนอื่นต้องรู้จักตัวเองว่าเรากำลังทำอะไรอยู่  เรามีความพร้อมที่จะทำงานตรงนี้แค่ไหน มีจิตอาสาแค่ไหน และพร้อมหรือยังที่จะเป็นเพื่อนร่วมเดินทางและนำพาครอบครัวสูญเสียก้าวผ่านความยากลำบากที่เขากำลังเผชิญอยู่  

          ครอบครัวสูญเสียหากมองดูแล้วเขาก็คือคนป่วยคนหนึ่ง ความเจ็บปวดที่เกิดจากการสูญเสียที่สำคัญคือสูญเสียลูกผู้เป็นที่รักนั้นคงยากที่จะบรรยาย   ความทุกข์ที่เกิดจากการสูญเสียลูกนั้นมากมายแค่ไหนเจ็บปวดแค่ไหน  “สูญเสียลูกเหมือนสูญเสียแก้วตา ดวงใจ”  มีแม่ท่านหนึ่งได้เขียนบรรยายถึงความเจ็บปวดจากการที่ต้องสูญเสียลูกไว้ว่า  “คำว่าลูก ยังผูกในดวงจิต แม่เฝ้าคิดคร่ำครวญคะนึงหา โอ้ลูกน้อยแม่เฝ้าคอยเจ้ากลับมา กลับมาหาซบอกของแม่เอย”

       และอีกหลายต่อหลายครอบครัวที่ต้องเผชิญกับประสบการณ์ที่แสนเจ็บปวดจากการสูญเสียลูก “คุณแม่ไปอยู่ที่หนองคาย หลังงานศพน้องคุณแม่เจ็บปวดเหลือเกิน คงไม่ มีความสูญเสียครั้งไหนจะยิ่งใหญ่เท่าครั้งนี้อีกแล้ว”  เมื่อทราบดังนี้จึงคิดว่าหลังการเสียชีวิตของเด็ก ทีมจะต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือทันทีและผู้ที่จะทำงานนี้ได้ดีจะต้องมีจิตใจที่เป็นจิตอาสาเนื่องจากว่าความทุกข์โศกหลายคนไม่อยากเผชิญแม้แต่ทีมการพยาบาลเองบางครั้งเกิดความกลัว เกิดความไม่มั่นใจ หรือพยาบาลบางท่านเคยผ่านประสบการณ์การสูญเสียมาก่อนจึงเลี่ยงที่จะไม่ทำตรงนี้  คุณสมบัติของพยาบาลจิตอาสาหรือผู้สนใจที่จะมาทำงาน Bereavement care ควรจะมีดังนี้

- มีเมตตา กรุณา

- รู้จักรัก

- รู้จักให้อภัย

-  มีความเอื้ออาทร

- มีความละเอียดอ่อนเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น

- เห็นคุณค่าเเละความหมายของทุกชีวิต

- มีสิ่งยึดเหนี่ยวเเละศรัทธาของตัวเอง

- พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ พร้อมที่จะช่วย

- เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

      การทำงานด้วยความมีจิตอาสากับการทำงานด้วยจิตวิญญาณของคนทำงานถ้าจะพูดแล้วดูจะไม่แตกต่างกัน เพราะต่างก็คือการทำในสิ่งที่เป็นการให้ และทุ่มเทด้วยใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ใดใด เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความดี ความงามของใจ มีจิตใจที่รักต่อเพื่อนผู้ทุกข์ยากเสมือนหนึ่งว่าเขาเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน และความเป็นจิตอาสาจะเป็นสิ่งที่จะช่วยนำพาครอบครัวสูญเสียก้าวผ่านความเจ็บปวดและสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

เอกสารอ้างอิง

นิรมล พัจนสุนทร.ความเศร้าและขบวนการผ่านพ้นความเศร้า. ขอนแก่น.เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง Communication skill in pediatric palliative care วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2548 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2549: 1-6.

 

 

หมายเลขบันทึก: 303084เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2009 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

มาฝึกวิทยายุทธดูแลครอบครัวค่ะน้องกุ้ง

ขอบคุณค่ะ

อารมณ์คนสูญเสียไม่ค่อยนั่ง  เดี๋ยวเศร้าโศก ทุกข์ทรมาน อยากรู้ข้อเท็จจริง เดี๋ยวเครียด  เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวสับสน เดี๋ยวทำบุญ เดี๋ยวกลับมานิ่งใหม่ สลับกันไปค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • อ่านบันทึกของน้องแล้ว...สามารถเตือนสติได้ดีค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้น้องกุ้งด้วยนะคะ
  • ขอให้น้องผู้จากไป...สู่สุขคติ

สวัสดีค่ะ น้องกุ.

มาชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ทีมงานค่ะ

พี่แจ๋ว

น้องกุ้ง...สิ่งเหล่านี้

- มีเมตตา กรุณา
- รู้จักรัก
- รู้จักให้อภัย
-  มีความเอื้ออาทร
- มีความละเอียดอ่อนเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น
- เห็นคุณค่าเเละความหมายของทุกชีวิต
- มีสิ่งยึดเหนี่ยวเเละศรัทธาของตัวเอง
- พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ พร้อมที่จะช่วย
- เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

เป็นสิ่งดี ๆ ที่รับรู้ได้จากใจคนป่วยทุกคน

น้องสาวคงสบายดีนะคะ

จิตอาสา ..คือ...

เอาใจนำพา..เอาศรัทธานำทาง

...ขอบคุณครับ..

ยินดีมากๆค่ะพี่ไก่...กัญญา ที่มาเเลกเปลี่ยนค่ะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลังสูญเสีย ทุกอารมณ์ที่พี่ไก่พูดถึงนะคะอาจจะมีกลับไปกลับมา ถูกต้องเลยค่ะ เเต่เวลาเท่านั้นที่จะช่วยให้ดีขึ้น ที่สำคัญกำลังใจจากคนรอบข้างเเละคนในครอบครัว คงจะช่วยให้พี่ไก่เเละทุกคนในครอบครัวดีขึ้น การได้ทำบุญอุทิศให้พี่ออก็เชื่อว่าทำให้เราใจสบายเเละรู้สึกว่าพี่ออได้รับผลบุญเเล้ว เราก็จะรู้สึกดีขึ้น อันนี้กุ้งเรียนรู้จากครอบครัวสูญเสีย ที่กุ้งได้ให้การดูเเลค่ะ กุ้งขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ สู้ค่ะ

ขอบคุณพี่คิมนะคะที่เเวะมาเติมกำลังใจให้คนทำงาน

พี่เเจ๋ว มาเยี่ยมดีใจจัง ขอบคุณนะคะ

ว้าว ! พี่ครูพยอมของน้อง หายไปไหนมาคะ ไม่เห็นเขียนบันทึกนานเลย

ช่วงนี้ปิดเทอมเเล้วใช่มั๊ยคะ เลยมีเวลามาเยี่ยมกุ้ง คิดถึงค่ะ เเละกุ้งก็สบายดี

เดี๋ยวจะเเวะไปหาค่ะ

จิตอาสา ..คือ...

เอาใจนำพา..เอาศรัทธานำทาง  ขอเอาไปใช้ได้มั๊ยคะคำนี้ คงไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ ฟังเเล้วไม่ต้องเเปลมากเลยค่ะ อ. พนัส ขอบคุณนะคะที่เเวะมาเติมคำคมวันละคำ

  • Perfect ...all the best จ้ะ
  • พี่ส่งบทความเราลง Nursing time ด้วยจ้ะ

เยี่ยมเลยค่ะพี่เกศ ขอบคุณมากมายค่ะ เย! จะได้ลงวารสารของสภาการพยาบาลด้วย Nursing time ดีใจจังค่ะ

สวัสดีค่ะน้องกุ้ง ดีใจและภูมิใจแทน3 งนะคะที่มีคนเก่งๆ เป็นวิทยากร เราจะไปประชุมวิชาการด้วยกันค่ะ...จะไปให้กำลังใจนะคะ

น้องเอิร์ท มีความสุขมากๆๆๆ พูดตลอดเลย...

เจมส์ก็เล่นน้ำสนุกมาก

แจ๊คได้รับการสานฝัน กีต้าร์....

ขอบคุณพี่เเดง น้องอาร์มเเละน้องโอ๊ต จริงๆค่ะ ขอบคุณเเทนเด็กๆ กีตาร์ให้เเจ๊คกุ้งเคยคิดไว้ค่ะ โอ้โฮ เยี่ยมเลยค่ะ เเจ๊คมีกีตาร์ส่วนตัวเเล้ว คราวหน้า peer group ต้องเชิญเเจ๊คมา show เดี่ยวกีตาร์ใหม่ให้ฟังกันหน่อยนะคะ พี่เเดงยังไม่นอนเหรอคะ

นอนดึกจัง

สวัสดีค่ะ คุณกุ้ง

เรื่องนี้น่าจะเป็นอีกเรื่องที่จะได้นำเสนอใน HA Forum 11 มั้ยค่ะ

คอยติดตามอ่านเพื่อนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ รพ.ด้วยค่ะ

ชื่นชม ส่งกำลังใจ

เอาใจนำพา..เอาศรัทธานำทาง ของ อ.พนัส คมค่ะ ขอใช้ด้วยคนนะคะ

ถ้าเป็นไปได้คงจะดีค่ะ จะยกไปทั้งทีม ต้องอยู่ที่ดุลพินิจของเเม่ต้อยเเละทีม สรพ. ค่ะ เเต่จะว่าไปก็เเอบฝันไว้อยู่ลึกๆ ค่ะ เพราะในเรื่องจิตอาสาเป็นประเด็นที่กำลังร้อนๆ ค่ะโดยเฉพาะกับโครงการ SHA ที่ทางเเม่ต้อย เเละทีมกำลังมุ่งมั่นชง SHA อย่างเข้มข้น หอม หวานมันอยู่ตอนนี้ โดยเฉพาะ SHA โรงพยาบาลเเก่งคอยหอมโชยมาถึงขอนเเก่นเเล้วค่ะตอนี้

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยม  และชื่นชม

พร้อมเป็นกำลังใจให้ผู้มี จิตอาสา ในการทำงานต่อไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ คุณชาดาเช่นกันค่ะสำหรับกำลังใจ

มาสนับสนุนทุกๆๆท่านที่ทำความดีครับ เป็น HHC จริงๆๆน่าชื่นชมครับ..

พี่สุขอเป็นกำลังใจให้ผู้มีจิตอาสา ผู้มีจิตวิญญาณ ที่ได้เสียสละทำโครงงาน เกี่ยวกับผู้ที่สูญเสียบุคลอันเป็นที่รัก เขาอาจจะป่วยทางใจซักระยะหนึ่ง  ซึ่งระยะนั้นเขาก็ต้องการคนปลอบใจ ฉะนั้นพี่สุเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมากคะ  ควรมีและอย่ามองข้ามคะ ถึงเขาจะสูญเสียไป ก็ให้เขาได้รับรู้ว่า มีคนอยู่เบื้องหลัง ก็ลุ้นเอากำลังใจช่วยเขาอยู่ เช่นนางฟ้าผู้อารีทั้งหลาย ใครที่มีจิตใจเหล่านี้ ก็ขอให้กุศลผลบุญตอบแทนเขาด้วยเถิดคะ ให้สมกับว่าทำดีได้ดี ให้เห็นเป็นกำลังใจบ้างคะ

พี่สุคิดถึงพอดี ไปเห็นอยู่บล็อคคนอื่นเลยตามมาคะ  อย่าคิดมากนะคะ  ไปเอาข้อคิดจาก บล็อคพี่สุกัน กดตามได้เลย http://gotoknow.org/blog/lelaxy/303467

ขอบคุณค่ะ พี่สุที่ความคิดถึงเดินทางมาถึงกันทุกวัน ขอบคุณสำหรับกำลังใจ การดูแลครอบครัวสูญเสียกุ้งริเริ่มตั้งเเต่ปี 2547 ถือว่าเราเป็นคนริเริ่มให้เกิดในทีมเด็กจะเรียกว่าเป็นคนเเรกของศรีนครินทร์ก็ว่าได้ค่ะที่ทำ bereavement care ตอนนี้เเนวคิดนี้กุ้งก็ได้เผยเเพร่ให้กับโรงพยาบาลเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในภาคอิสาน 15 โรงพยาบาลจังหวัด 2 โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลในโครงการ SHA ของเเม่ต้อย สรพ. กุ้งอยากให้มีคนทำตรงนี้เยอะๆค่ะ ตอนนี้ก็เเพร่หลายไปในหลายๆโรงพยาบาลแล้วค่ะพี่สุ

  • มาแสดงความคิดถึง
  • และชื่นชมน้องกุ้งค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่เขี้ยว คิดถึงพี่เขี่ยวเหมือนกันค่ะ

มาชื่นชมงาน "จิตอาสา" กับกลุ่มคนที่เขาต้องการกำลังใจจริง ๆ นะครับ...

  • มาเป็นกำลังใจ
  • มาหาสาระดีๆ เติมปัญญา เติมและเตือนสติ
  • ขอบคุณครับ

ไม่อยากให้ใครไปจาก g2k ค่ะครูลีเเต่หากจำเป็นต้องไปก็ไม่เป็นไร พร้อมจะกลับมาเมื่อไหร่ก็มานะคะ ทุกคนยังต้อนรับการกลับมาเสมอ

ขอบคุณคุณดิเรกนะคะที่มาทักทายเเละเป้นกำลังใจให้คนหน้างาน จิตอาสา

ขอบคุณคุณสามสักค่ะ สำหรับกำลังใจ ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

  • ตามมาอ่าน เติมเต็มสิ่งดี ๆ ในชีวิตค่ะ เป็นมิติสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่ลึกซึ้งเกินกว่าหน้าที่ตามความหมายที่เราเข้าใจกันโดยทั่วไปเสียอีกนะคะ
  • ชื่นชมและศรัทธาทุกท่านในวงการแพทย์ค่ะ เป็นการดูแลครบวงจรเลย และก็เป็นการก้าวล้ำมาสู่จิตใจที่เป็นหัวใจของการรักษาอย่างแท้จริงค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้ทำงานด้วยความเบิกบานนะคะ เหนื่อยแค่ไหนขอเพียงใจไม่ท้อค่ะ น้องกุ้งเก่งมากเลย

คำเเนะนำ ข้อคิดเห็นจากพี่ศิลาทุกครั้งล้วนมีความหมายต่อกำลังใจของคนทำงาน ขอบคุณมากมายค่ะ กุ้งก็เเอบชืนชมพี่ศิลาเหมือนกันค่ะ ดูเหมือนว่าเราจะมีหัวใจดวงเดียวกันค่ะ หัวใจของคนที่มีจิตอาสาไงคะพี่ศิลา

Dsc03108

ถ่ายปราสาทผึ้งที่บ้านกุ้ง มาฝากค่ะ ที่วัดป่าสุทธาวาส สวยมากก

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบพระคุณที่ไปให้กำลังใจ นะคะ
  • ในนามคนเก่า...ลีลาวดี...ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณมนัสนันท์ ยินดีที่ได้เจอกันอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท