farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร


น้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร สมบัติทางเคมี (ต่อ)

สมบัติทางเคมี 
                  โดยทั่วๆ ไป มีดังนี้
                  - มีค่า pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) อยู่ในช่วง 3.5 - 5.6 ปฏิกิริยาเป็นกรดถึงกรดจัด ซึ่ง pH ที่เหมาะสมกับพืชควรอยู่ในช่วง 6 – 7
                  - ความเข้มข้นของสารละลายสูง โดยค่าของการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity , E.C) อยู่ระหว่าง 2 - 12 desimen / meter(ds / m) ซึ่งค่า E.C. ทีเหมาะสมกับพืชควรจะอยู่ต่ำกว่า 4 ds / m
                   - ความสมบูรณ์ของการหมัก พิจารณาจากค่า C / N ration มีค่าระหว่าง 1 / 2 - 70 / 1 ซึ่งถ้า C / N ratio สูง เมื่อนำไปฉีดพ่นบนต้นพืชอาจแสดงอาการใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุไนโตรเจนได้
ธาตุอาหาร
                  - ธาตุอาหารหลัก (N,P,K)
                  - ไนโตรเจน (% Total N) เป็นองค์ประกอบของโปรตีน คลอโรฟิลล์ เอนไซม์และวิตามินหลายชนิด ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช  ถ้าใช้พืชหมัก พบไนโตรเจน 0.03 - 1.66 % แต่ถ้าใช้ปลาและหอยหมักจะพบประมาณ 1.06 - 1.70 %
                  - ฟอสฟอรัส ( % Total P¬¬2O5 ) เป็นองค์ประกอบกรดนิวคลีอิกฟอสโฟลิปิดหรือ ATP และโคเอนไซม์หลายชนิด ช่วยเร่งการออกดอกและการสร้างเมล็ดในน้ำหมักจากพืชจะมีตั้งแต่ไม่พบเลยจนถึง 0.4 % แต่ในน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 0.18 - 1.14 %
                  - โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (% Water Soluble K2O) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ในการสร้างแป้ง น้ำตาล และโปรตีน  ควบคุมการปิดเปิดของปากใบ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบสู่ผล  ในน้ำหมักพืชพบ 0.05 - 3.53 % และในน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 1.0 - 2.39 %
                   - ธาตุอาหารรอง (Ca, Mg, S)
                   - แคลเซียม เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ จำเป็นสำหรับกระบวนการแบ่งเซลล์และดพิ่มขนาดเซลล์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด  ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05 - 0.49 % และน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 0.29 - 1.0%
                  - แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง ในน้ำหมักจากพืชและปลาพบในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 0.1- 0.37 %
                  - ธาตุอาหารเสริม
                  - เหล็ก ในน้ำหมักจากพืชพบ 30 - 350 ppm. และน้ำหมักจากปลาและหอยพบ 500 - 1,700 ppm.
                  - คลอไรด์ น้ำหมักจากพืชและปลามีปริมาณเกลือคลอไรด์สูง 2,000 - 11,000 ppm.
                  - ธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดินัม น้ำหมักทั้งจากพืชและปลาพบในปริมาณน้อย มีค่าตั้งแต่ตรวจไม่พบเลยจนถึง 130 ppm
 

ฮอร์โมนพืช
                  ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช 3 กลุ่ม คือ
                  1. กลุ่มออกซิน (Auxin ; Indole acetic acid : IAA) มีสมบัติควบคุมการขยายตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการเกิดราก การเจริญของราก ลำต้น ควบคุมการเจริญของใบ ส่งเสริมการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ควบคุมการพัฒนาของผล ควบคุมการสุก แก่ และการร่วงหล่นของผล  IAA ตรวจพบทั้งในน้ำหมักจากพืชและสัตว์ แต่พบในปริมาณน้อย มีค่าในช่วงตั้งแต่ น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ - 2.37 ppm
                  2. กลุ่มจิบเบอเรลลิน (Gibberellins ; Gibberellic acid : GA3) มีสมบัติกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์พืชในทางยาว เร่งการเกิดดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล ยืดช่อดอก กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา  GA3 ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 18 - 140 ppm. ไม่พบ GA3 ในน้ำหมักจากปลา

                  3. กลุ่มไซโทไคนิน (Cytokinins ; Zeatin และ Kinetin) กระตุ้นการแบ่งเซลล์การเจริญด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญของตาข้างทำให้ตาข้างเจริญออกเป็นกิ่งได้ ช่วยเคลื่อนย้ายสารอาหารจากรากไปสู่ยอด รักษาระดับการสังเคราะห์โปรตีนให้นานขึ้น ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลงทำให้ใบเขียวอยู่นานและร่วงหล่นช้าลง ช่วยทำให้ใบเลี้ยงคลี่ขยาย ช่วยให้เมล็ดงอกได้ในที่มืด  Zeatin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางตัวอย่างในปริมาณน้อย 1 - 20 ppm. และพบในน้ำหมักจากปลาที่ใส่น้ำมะพร้าว 2 - 4 ppm.   Kinetin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 1 - 14 ppm. แต่ไม่พบในน้ำหมักจากปลา
                  จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นว่าคุณภาพและประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้    จุลินทรีย์ที่ทำให้ย่อยสลาย กระบวนการย่อยสลายที่สมบูรณ์ไม่เน่าเสีย ความเข้มข้นของสารละลาย และความเป็นกรดเป็นด่าง

 

คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพในด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                 

                  การหมักพืช หรือสัตว์ในกระบวนการหมักจะมีแก๊สมีเทน (CH4) เกิดขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียจะเปลี่ยนแก๊สมีเทน (CH4) ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์เมื่อถูกออกซิเจนในอากาศ ทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์จะมีกลิ่นหอมหรือเหม็นเฉพาะตัว ถ้ามีกลิ่นหอมก็เป็นสารดึงดูดแมลง ถ้ามีกลิ่นเหม็นก็จะเป็นสารไล่แมลง มีการศึกษาพบว่าสารกลุ่มแอลกอฮอล์ที่พบมากในสัตว์ ผลไม้และผัก โดยเฉพาะการหมักผักหรือผลไม้รวมกับสัตว์จะให้สารกลุ่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่สูง ส่วนกลุ่มเอสเตอร์และฟีนอลพบมากเมื่อใช้ปลาและหอยเป็นวัสดุหลักในการหมัก  น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ ผักสด หรือจากพืชสมุนไพรจะมีสารพวก polyphenol ได้แก่  Benzenediol หรือ Benzenediol พวก dimethoxy phenol, benzoic acid derivatives สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นกรด เช่น Benzenediol(resorcinol) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุจมูก ทางสัตวแพทย์เคยใช้เป็น antiseptic ดังนั้น สารพวกนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของแมลงได้ นอกจากนี้ยังพบสารพวก ethylester ของพวกกรดไขมัน เช่น ethyl palmitate, ethyl linoleate ในสารละลายบางตัวพบ alcohol ได้แก่ bezene ethanol  นอกจากนี้น้ำสกัดจากหอย + ไข่ดาว พบสารพวก poly phenol และ ethyl ester ของกรดไขมันเช่นเดียวกัน Ethyl ester เกิดจาก alcohol ชนิด ethyl alcohol ที่สกัดจากการหมักย่อยสารของพืชแล้ว alcohol นั้น ก็ทำปฏิกิริยากับกรดไขมันที่มีในพืชที่เป็น ethyl ester คุณสมบัติของ ester พวกนี้มีคุณสมบัติ เป็นสารไล่แมลงและสารล่อแมลงได้

 

 คุณสมบัติและปริมาณธาตุอาหารพืชในน้ำหมักชีวภาพที่ใช้กล้วย มะละกอ ฟักทอง 

เป็นวัสดุหลักที่หมักระยะเวลาต่าง ๆ

คุณสมบัติ/ปริมาณ

ธาตุอาหาร

ระยะเวลาหมัก

7 วัน

1 เดือน

2 เดือน

6 เดือน

1 ปี

ความเป็นกรดด่าง

3.6

4.0

4.2

3.8

4.1

ความถ่างจำเพาะที่ 30 °C

1.08

1.08

1.08

1.10

1.06

การนำไฟฟ้า (เดซิซีเมน/เมตร)

3.04

4.23

4.64

4.77

3.75

อินทรีย์คาร์บอน (%)

8.27

6.51

6.52

10.45

6.48

อัตราส่วนคาร์บอน/ไนโตรเจน

14/1

4/1

10/1

21/1

8/1

กรดฮิวมิก (%)

0

0.38

0.10

0.82

0.17

ไนโตรเจน (%)

0.61

1.66

0.92

0.5

0.77

ฟอสฟอรัสทั้งหมด –P2O5 (%)

0.11

0.11

0.10

0.41

0.82

โพแทสเซียม –K2O (%)

0.99

1.23

1.58

1.38

0.98

แคลเซียม (%)

0.05

0.20

0.25

0.24

0.18

แมกนีเซียม (%)

0.08

0.13

0.13

0.14

0.11

กำมะถัน (%)

0.06

0.33

0.23

0.57

0.12

เหล็ก (%)

0.004

0.004

0.01

0.011

0.008

แมงกานีส (%)

0.0007

ไม่พบ

0.001

0.001

0.001

ทองแดง (%)

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

0.00042

สังกะสี (%)

0.002

0.002

0.002

0.003

0.001

โบรอน (%)

ไม่พบ

0.0005

ไม่พบ

ไม่พบ

0.0003

โมลิบดีนัม (%)

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

0.002

คลอไรด์ (%)

0.3

0.36

0.36

0.45

0.32

 ประสิทธิภาพปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 

ธาตุอาหาร

1. นมสด

2. ถั่วเหลือง

3. ปลาสด

4. สมุนไพร

  ป้องกันแมลง

N

0.39

1.09

1.06

0.38

P2O5

0.09

0.09

0.69

0.19

K2O

1.74

1.15

1.08

1.00

Ca

0.28

0.16

0.77

0.09

Mg

0.210

0.130

0.140

0.085

S

0.26

0.18

0.18

0.09

Fe

0.027

0.055

0.170

0.085

Mn

0.002

0.001

0.003

0.001

Zn

0.004

0.003

0.005

0.002

CI

0.61

0.17

0.15

0.18

PH

3.8

3.6

4.1

4.5

C/N ratio

35/1

6/1

8/1

8/1

EC Ds/m

6.41

4.27

7.44

2.75

เปอร์เซ็นต์

O.C.

13.65

6.93

8.37

3.10

O.M.

23.48

11.95

14.43

5.34

ฮอร์โมน (ug/ml)

LAA

0.30

0.11

0.11

ไม่พบ

GA3

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

39.97

Zeatin

4.38

2.13

ไม่พบ

11.57

Kinetin

ไม่พบ

4.95

ไม่พบ

ไม่พบ

 ผลการวิเคราะห์ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพ
สูตรหอยเชอรี่

ส่วนที่นำมาหมัก

ค่า pH

ค่า EC

ธาตุอาหารหลัก (%)

ฮิวมัค

แอซิค(%)

อินทรีย์

วัตถุ (%)

N

P

K

ตัวหอย+เปลือกหอย

ไข่หอย

ไข่หอย+พืชสด

ไข่หอย+เนื้อหอย

เนื้อหอย+พืชสด

4.9

4.6

4.3

4.3

4.2

17350

17020

16110

12280

15510

0.84

1.23

0.87

1.62

0.74

-

0.6

0.9

0.64

0.33

1.67

1.66

1.68

2.04

1.83

3.07

4.45

4.47

4.31

3.57

15.13

26.51

26.67

20.44

30.68

 

แสดงคุณค่าทางอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยหมักบางชนิด

ชนิดของปุ๋ยหมัก

% ธาตุอาหารของพืช

 

N

  P2O5

K2O

ปุ๋ยหมักจากขยะเทศบาล

1.52

0.22

0.18

ปุ๋ยหมักจากหญ้าแห้ง

1.23

1.26

0.76

หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลกระบือ

0.82

1.43

0.59

หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลโค

2.33

1.78

0.46

หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลแพะ

1.11

4.04

0.48

หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลม้า

0.82

2.83

0.33

ปุ๋ยหมักจากใบจามจุรี

1.45

0.19

0.49

ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว

0.85

0.11

 0.76

ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลไก่

1.07

0.46

0.94

ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลโค

1.51

0.26

0.98

ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลเป็ด

0.91

1.30

0.79

ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา

1.43

0.48

0.47

ปุ๋ยหมักผักตบชวา+มูลสุกร

1.85

4.81

0.79

ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดอ่อน

0.95

3.19

0.91

ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดปานกลาง

1.34

2.44

1.12

ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดแรง

1.48

 2.96

1.15

 

ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K) และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) โดยเฉลี่ยของวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ

วัสดุอินทรีย์

C (%)

N (%)

P2O5 (%)

K2O (%)

C/N

ฟางข้าว

38.57

0.84

0.22

1.58

59

แกลบ

48.46

0.84

0.22

1.58

97

ขุยมะพร้าว

64.21

0.38

0.07

1.34

185

ตอซังข้าวโพด

26.27

0.88

0.28

0.56

37

ซังข้าวโพด

44.60

0.64

0.21

0.75

112

ทลายปาล์มแห้ง

50.60

0.92

0.10

1.00

55

กากอ้อย

52.77

0.40

0.81

0.20

132

เปลือกสับปะรด

49.46

0.99

0.22

1.73

50

ใบสับปะรด

50.32

1.00

0.23

1.50

54

 

ปริมาณธาตุอาหาร (เปอร์เซ็นต์) ในพืชและวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสด

และปุ๋ยหมัก

ชนิดของปุ๋ย

ไนโตรเจน (N)

ฟอสฟอรัส (P)

โพแทสเซียม (K)

ละอองข้าว

2.71

0.68

0.59

ขี้เถ้าแกลบ(85-90%SiO2)

0

0.15

0.81

ใบเสียว

1.64

0.14

0.43

ใบกระถินณรงค์

1.58

0.10

0.40

ใบกระถินเทพา

1.09

0.03

0.06

ใบยูคาลิปตัส

0.68

0.07

0.03

ผักตบชวา

1.55

0.46

4.90

ใบฉำฉา

2.10

0.09

0.40

โสนไทย (S.javanica)

2.06

0.42

1.90

ไมยราบไร้หนาม

1.04

0.04

1.03

ปอเทือง

1.98

0.30

2.41

ถั่วมะแฮะ

1.42

0.26

0.90

ถั่วพร้า

3.03

0.37

3.12

ถั่วพุ่ม

2.05

0.22

3.20

ถั่วเหลือง

2.71

0.56

2.47

ถั่วเขียว

1.85

0.23

3.00

กระถินยักษ์

3.70

0.24

1.88

ถั่วลาย

1.60

0.04

1.32

ต้นข้าวโพด

0.71

0.11

1.38

ต้นมันสำปะหลัง

1.23

0.24

1.23

แหนแดง

3.30

0.57

1.23

กากตะกอนอ้อยจากโรงงาน

น้ำตาล (Filter cake)

1.01

2.41

0.44

มูลวัว

1.10

0.40

1.60

มูลควาย

0.97

0.60

1.66

มูลสุกร

1.30

2.40

1.00

 

ชนิดของปุ๋ย

ไนโตรเจน (N)

ฟอสฟอรัส (P)

โพแทสเซียม (K)

มูลไก่

2.42

6.29

2.11

มูลเป็ด

1.02

1.84

0.52

มูลค้างคาว

1.54

14.28

0.60

ปุ๋ยหมักฟางข้าว

1.34

0.53

0.97

กากอ้อยเก่า (ชานอ้อย)

0.60

0.24

0.47

เปลือกถั่วเหลือง

1.04

0.06

0.77

ตอซังถั่วลิสง

1.74

0.11

0.52

 

คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2548

ลำดับที่

คุณลักษณะ

เกณฑ์กำหนด

1

ขนาดของปุ๋ย

ไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร

2

ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้

ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

3

ปริมาณหิน และกรวด

ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

4

พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่น ๆ

ต้องไม่มี

5

ปริมาณอินทรียวัตถุ

ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

6

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)

5.5-8.5

7

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)

ไม่เกิน 20 : 1

8

ค่านำไฟฟ้า (EC : Electrical Conductivity)

ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร

9

ปริมาณธาตุอาหารหลัก

- ไนโตรเจน (total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

- ฟอสฟอรัส (total P2O5) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

- โพแทสเซียม (total K2O) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

10

การย่อยสลายที่สมบูรณ์

มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

11

สารหนู (Arsenic)

ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

แคดเมียม (Cadmium)

ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

โครเมียม (Chromium)

ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ทองแดง (Copper)

ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ตะกั่ว (Lead)

ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ปรอท (Mercury)

ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

การใช้น้ำหมักชีวภาพ.จาก.http://www.moac-info.net/.../35_4_38219_การใช้น้ำหมักชีวภาพ.doc -

ประสิทธิภาพปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ  กรมวิชาการเกษตร ปี 2544 จาก.http://www.gotoknow.org/blog/pandam/265616 –

ปัจจัยที่สำคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง.สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จาก.http://www.ofs101.ldd.go.th/webofi/

เอกสารความรู้เรื่องปุ๋ยการวิเคราะห์ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพ. ศูนย์ส่งเสริมเกษตรชีวภาพและโรงเรียนเกษตรกรภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี 31 สิงหาคม 2544

คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์. ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2548

การวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กลุ่มงานวิเคราะห์ปุ๋ย กองเกษตรเคมี มี.ค.2544-เม.ย.2545

เอกสารการเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ทะเลแก้ว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก 2552

การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร

 

การผลิตเชื้อและขยายเชื้อจุลินทรีย์

อุปกรณ์ส่วนประกอบ

              1. ใบไผ่หรือใบไม้ทั่วไปที่ไม่มีสารพิษตกค้าง         5 กก.

              2. กากน้ำตาล                                                    2 กก.

              3. รำละเอียด                                                     1 กก.

              4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (EM) หรือจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่เก็บจากป่าโดยการนำอาหารข้าวสุกไปเป็นตัวล่อเก็บมาใช้  1 ลิตร หรือ 1 กก.

              5. น้ำสะอาด                                                      3 ลิตร

              6. กระสอบป่านหรือผ้าห่มเก่าๆ

              7. ถังหมัก 50 ลิตรที่มีฝาปิด                                 1 ใบ

วิธีการทำ

              1.เทใบไม้หรือใบไผ่ลงบนพื้นบริเวณที่ที่สวกใต้ร่มไม้หรือใต้ชายคาบ้าน

              2.นำรำละเอียดโรยให้ทั่วบนกองใบไม้

              3.นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมกับน้ำและน้ำตาลคนให้เข้ากันแล้วเทคลุกเคล้ากับใบไม้ให้เข้ากันแต่งกองคลุมด้วยกระสอบป่านหรือผ้าห่มเก่าหมักไว้ 1-2 อาทิตย์เชื้อก็จะเดินสมบูรณ์

              4. นำใส่ถังไปขยายเป็นน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือ EM โดยเติมน้ำอีก 20 ลิตร

              5. เติมน้ำตาล 2 กก. รำละเอียดอีก 1 ขีด

              6. ปิดฝาทิ้งไว้ 7-10 วัน เชื้อก็จะเดินเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์

วิธีนำไปใช้

              1.นำไปหมักขยายทำน้ำหมักชีวภาพได้ทุกชนิด อัตราส่วน 1:3 (หัวเชื้อ 1 ส่วนและเศษพืชสัตว์อื่นๆ 3 ส่วน)

2.ใช้ย่อยสลายตอซังข้าวฟางข้าว 20 ลิตรต่อไร่

 

สูตรพืชผั

หมายเลขบันทึก: 302855เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท