ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี (หน่วยที่ 9)


การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี

หน่วยที่  9      การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี

การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการบันทึกบัญชี

1.   วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นรายกรณี โดยอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลก็ได้ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) โดยเงินได้ที่จ่ายมิใช่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ทั้งนี้กฎหมายอาจกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ทั้งนี้กฎหมายอาจกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้บางประเภท หรือเฉพาะกรณีจ่ายเงินได้แก่ ผู้รับเงินบางประเภทเท่านั้น

การหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย มีอยู่ 2 กรณีดังนี้

1.1    ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร

1.2    ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร 

1.1  ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร

1.1.1   กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ไม่ว่าเงินได้ที่จ่ายจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน เช่น เงินเดือน ค่าจ้างโบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม เงินที่ออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ การให้อาหารรับประทานโดยไม่คิดมูลค่า หรือการให้อยู่บ้านของนายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินได้โดยไม่เก็บค่าเช่า

การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้คูณเงินได้พึงประเมินด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เหลือเงินได้สุทธิเท่าใด จึงนำไปคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ภาษีจากเงินได้สุทธิทั้งสิ้นเท่าใด ให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ได้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี

กรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 นอกจากที่ระบุในข้อ 2 ดังกล่าวต่อไปที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

นอกจากนี้กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ เมื่อคำนวณตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราสูงกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (พ.ร.บ. 405)

ข้อสังเกต

1. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

ข้อ 1   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ให้ปฏิบัติดังนี้

(1)  ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้

(ก)  กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน       ให้คูณด้วย 12

(ข)  กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง   ให้คูณด้วย 24

(ค)  กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์   ให้คูณด้วย 52

การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9

(2)  ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือนำมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น

การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้แจ้งไว้พร้อมกับแบบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย. 01 (แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตามเว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น

กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น

(3)  ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น

(4)   กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราวตามวิธีการ (1) – (3)

(5)   กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าให้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

(6)    กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

(7)     กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

(8)    กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ่างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับภาษีเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้งคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 2    การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนำจำนวนภาษีที่ได้หักและนำส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

นาย ก มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี (คำนวณตามข้อ 1) และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม – กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ตุลาคม – พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินที่หักและนำส่งไว้แล้ว = (928.33×9) + (4,315×2) = 16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,140 – 16,984.97 = 3,155.03 บาท

ข้อ 3    การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง โดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

นาย ก ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษีตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 1,008.33 บาท ภาษีที่หักไว้ไม่เกิน = (1,008.33-928.33) ×5 = 400 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 1,008.33+400 = 1,408.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน)

นาย ก ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษีตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 803.33 บาท ภาษีที่หักไว้เกิน = (925.33-803.33) × = 625 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 803.33-625 = 178.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน)

1. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ข้อ 4 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้

(1)   กรณีจ่ายค่าตอบแทนที่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ได้ ให้คำนวณหาจำนวนค่าตอบแทนเสมือนว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำค่าตอบแทนที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายในปีภาษีนั้น ได้จำนวนเท่าใดให้นำค่าตอบแทนเสมือนทั้งปีนั้นมาคำนวณภาษีตาเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือนำมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ได้จำนวนภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำมาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายทั้งปี ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายในแต่ละคราวที่จ่ายเงิน

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนค่าตอบแทนที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราวตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง

กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น รางวัล โบนัส หรือประโยชน์จากการได้ไปสัมมนาหรือท่องเที่ยว ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับค่าตอบแทนที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออก ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้นแล้วให้นำมารวมกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

(2)  กรณีการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีกให้นำค่าตอบแทนที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับค่าตอบแทนที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องทำ ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหัดเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไปก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

ตัวอย่างที่ 1  กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กันตลอดปีภาษี นาย ก ได้รับเงินเดือนเดือนละ 30,000 บาท นาย ก ได้แจ้งสถานการณ์หักลดหย่อนไว้ดังนี้ มีภริยาชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเงินได้ มีบุตรผู้เยาว์กำลังศึกษร 2 คน ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 16,000 บาท และต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน ฯ ที่เข้าเกณฑ์ รวมทั้งปีจำนวน 30,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือนดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (30,000×12)

=

360,000

หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000 บาท)

=

60,000

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

=

300,000

หัก ค่าลดหย่อน ( 30,000+30,000+34,000+16,000+30,000)

=

140,000

คงเหลือเงินได้สุทธิ

=

160,000

ภาษีเงินได้ทั้งปี (100,000-100,000) ×5% + (60,000×10%)

=

6,000

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 6,000/12

=

500

สรุป  ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนาย ก ในกรณีนี้ดังนี้เดือนมกราคมถึงธันวาคมเดือนละ 500 บาท

ตัวอย่างที่ 2 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไดพึงประเมินที่จ่ายระหว่างปีภาษี ถ้านาย ก ได้รับเงินเดือนเพิ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นเดือนละ 60,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังนี้

วิธีคำนวณ

1. การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน คำนวณตามตัวอย่างที่ 2. ส่วนการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ให้คำนวณดังนี้

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี (60,000×12)

=

720,000

หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000 บาท)

=

60,000

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

=

660,000

หัก ค่าลดหย่อน ( 30,000+30,000+34,000+16,000+30,000)

=

140,000

คงเหลือเงินได้สุทธิ

=

520,000

ภาษีเงินได้ทั้งปี (100,000-100,000) ×5% + (400,000×10%)+(20,000×20%)

=

44,000

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 44,000/12

=

3,666.67

3. สำหรับในเดือนธันวาคมให้ปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้

ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท 9 เดือน และเดือนละ 60,000 บาท 3 เดือน) (30,000×9)+(60,000×3)

 

=

 

15,000

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน = (500×9)+(3,666.67×2)

=

 

11,833.34

เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเดือนธันวาคม = 15,000-11,833.34

=

3,166.66

 

สรุป

ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนาย ก ในกรณีนี้ดังนี้

 

 

 

 

เดือนมกราคมถึงกันยายนเดือนละ

=

500

บาท

 

เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนเดือนละ

=

3,666.67

บาท

 

เดือนธันวาคม

=

3,166.66

บาท

หมายเลขบันทึก: 300460เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

3. สำหรับในเดือนธันวาคมให้ปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้

ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท 9 เดือน และเดือนละ 60,000 บาท 3 เดือน) (30,000×9)+(60,000×3)

=15,000

15000 เนี่ยมายังไงคะ อาจารย์

ฝากคำถามหน่อยค่ะ

นายกานต์ เป็นคนโสด ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด ได้รับเงินเดือน เดือนละ 30,000 บาท นายกานต์จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เดือนละเท่าใด

คำตอบคือ 1,625 บาท

แต่อยากรู้วิธีทำน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ครูสมใจ เอื้อความดี - วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

ตอบคำถามข้อแรก 15,000 มาจากไหน

เงินได้ทั้งปี คำนวณจาก

เงินเดือน 30,000*9 เดือน 270,000

เงินเดือน 60,000*3 เดือน 180,000

รวมเงินได้ทั้งปี 450,000

หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 390,000

หัก ค่าลดหย่อน

ส่วนตัว 30,000

คู่สมรส 30,000

บุตรกำลังศึกษา 2 คน 34,000

เบี้ยประกันชีวิต 16,000

เงินกู้เพื่อซื้อบ้าน 30,000 140,000

เงินได้สุทธิ 250,000

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

เงินได้สุทธิ 250,000

100,000 บาท แรก ยกเว้นภาษี

150,000 บาท ถัดไป คิดภาษี 10% 15,000

ครูสมใจ เอื้อความดี - วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

ตอบคำถามข้อที่ 2 1,625 มาจากไหน

เงินได้ 30,000*12 เดือน 360,000

หัก ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60,000 บาท) 60,000

เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 300,000

หัก ค่าลดหย่อน

ส่วนตัว 30,000

เงินได้สุทธิ 270,000

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

เงินได้สุทธิ 270,000

อัตราภาษีเก่า (ไม่ใช่อัตราภาษีที่ใช้ในปัจจุบัน)

50,000 บาท แรก ยกเว้นภาษี

50,000 บาท ถัดไป คิดภาษี 5% 2,500

170,000 บาท ที่เหลือ คิดภาษี 10% 17,000

รวม ภาษีเงินได้ 19,500

ภาษีเงินได้ที่หักไว้ในแต่ละเดือน (19,500 / 12 เดือน) 1,625

ครูสมใจ เอื้อความดี - วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

คำถาม 2 ข้อมีความแตกต่างกัน

เนื่องจาก

ข้อที่ 1 ได้ใช้โจทย์จากเนื้อหามาถาม เงื่อนไขการยกเว้นภาษี จึงแตกต่างจากข้อที่ 2

ซึ่งให้คำตอบมา แล้วย้อนถามถึงวิธีการได้คำตอบ ซึ่งเงื่อนไขการยกเว้นภาษีแตกต่างกัน

อยากจะถามว่านาย ก. เป็นพนักงาน อบต. แห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท นาย ก.มีสถานภาพโสด ไม่มีเงินได้จากแหล่งอื่น ไม่ได้กู้เงิน และไม่มีพันธะที่ต้องดูแลใคร บิดาของนาย ก. รับราชการได้เงินเดือน 20,000 บาท ส่วนมารดาเป็นแม่บ้าน อยากทราบว่า นาย ก. จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เดือนละเท่าใด

บริษัทสุโกศล จำกัก จ่ายเงินบำเหน็ดให้นายรุ่ง ซึ่งเป็นลูกจ้างเพราะออกจากงาน เป็นเงิน 500000 บาท โดยจ่ายแบบเดียวกับที่กำหนดตามระเบียบว่าด้วยบำเหน็ดบำนาญของราชการและนายรุ่งได้รับเงินเดือนในเดือนสุดท้าย 40000 บาท ระยะเวลาทำงาน 20 ปี ให้ทำ คำนวณและบัญทึกบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

บริษัทสุโกศล จำกัก จ่ายเงินบำเหน็ดให้นายรุ่ง ซึ่งเป็นลูกจ้างเพราะออกจากงาน เป็นเงิน 500000 บาท โดยจ่ายแบบเดียวกับที่กำหนดตามระเบียบว่าด้วยบำเหน็ดบำนาญของราชการและนายรุ่งได้รับเงินเดือนในเดือนสุดท้าย 40000 บาท ระยะเวลาทำงาน 20 ปี ให้ทำ คำนวณและบัญทึกบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท