สาระจากการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ (๒)


นโยบายการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ภาค ๔

            ในภาคบ่ายของการประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคมที่  ๑๔๓/๒๕๔๖  คณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ภาค ๔ หนเหนือ  ณ ห้องประชุมอาคาร ส. มหารัชฯ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์  วันที่  ๑๒  กันยายน  ๒๕๕๒  มีพระสังฆาธิการเข้าร่วมประชุมจำนวน   ๙๐๘  รูป  มีสาระที่น่าสนใจตามที่ได้จดบันทึกไว้ ดังต่อไปนี้

พระธรรมรัตนดิลก   เจ้าคณะภาค  ๔  ได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ภาค ๔  ไว้ว่า   

นโยบายการปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ภาค ๔  ได้แก่

            ๑)  พัฒนางาน    

            ๒)  ประสานสามัคคี    

            ๓)  ทำความดีเพื่อสังคม

          ๑.  พัฒนางาน   งานต่างๆ ต้องได้รับการพัฒนา  เราอยู่ในงานอะไรต้องทำให้มันดีขึ้น  มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

          ๒.  ประสานสามัคคี   พวกเราต้องรักกันไว้  ร่วมมือกันทำ  ร่วมใจช่วยกัน  ญาติโยมในเขตปกครองของเราก็เช่นกัน  ต้องให้สามัคคีกัน  มีข้อท้วงติงอะไรก็ให้ช่วยกันแก้ไข  ช่วยกันจัดช่วยกันทำให้ดีขึ้น   เพราะขณะนี้มีศาสนาอื่นเข้ามารุกราน  โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม อยู่ใกล้วัดไหนก็เป็นปัญหากับวัดนั้น พระสงฆ์จึงต้องสามัคคีกันไว้  พรรษามาก  พรรษาน้อยก็เคารพกันตามลำดับพรรษา  ก็ให้ความเคารพกันโดยการยืนขึ้น  ไม่ต้องยกมือไหว้ก็ได้

          ในบ้าน  ในกิจนิมนต์  ตามวินัยแล้ว  ไม่ต้องยกมือไหว  ไม่ต้องทำความเคารพกัน  แต่ส่วนใหญ่เราก็จะทำ  ก็ต้องดูความเหมาะสม  ตามหลักแห่งพระวินัย

          ภัยของศาสนาพุทธ  

                  ภัยนี้เกิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.  ๒๕๔๐   โดยรัฐบาลได้นำศาสนาอิสลามเข้าสู่รัฐสภา  ส.ส. ยกมือให้กว่าครึ่งก็เลยทำให้เป็นกฎหมายต้องอุปถัมภ์สุเหร่าละหนึ่งล้านบาท  พ.ร.บ. ของศาสนาอิสลามถ้าเราอ่านแล้ว  เราจะรู้ว่าเรากำลังถูกรุกรานในหลายๆ ข้อ หลายๆ ด้าน  เดี๋ยวนี้ศาสนาอิสลามเข้าไปในทุกจังหวัด  ทุกอำเภอ  สร้างสุเหร่าขึ้นหลังหนึ่ง  ถึงจะมีผู้นับถืออยู่คนเดียวก็ตาม  สร้างสุเหร่าแล้วจะได้เงินอุปถัมภ์จากรัฐทันทีหนึ่งล้านบาท  ส่วนพระพุทธศาสนาของเราของบไปเท่าไรก็ไม่ได้  มีปัญหาต่างๆ มากมาย  พ.ร.บ. อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาก็ยังเสนอไม่ได้  พุทธศาสนาจึงยังไม่มีพระราชบัญญัติรับรอง ความเป็นธรรมจึงไม่มี  ศาสนาพุทธไม่มีสิทธิไม่มีเสียงอะไร  เสนอเข้าไปทีไรก็ไม่ผ่านสักที  พวกเราจึงต้องประสานสามัคคีกันไว้ ดังกล่าว

 

          ๓)  ทำความดีเพื่อสังคม   พวกเราต้องทำความดีให้สังคม  เพื่อสังคม  เพื่อผู้อื่น  เพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ  ส่วนตัวเอาไว้ก่อน  มาทำเพื่อสังคมกันก่อน

          สภาพปัญหา  (ในปัจจุบัน)

             -  ต่างชาติฮุบที่ดินของไทยไป  โดยมีนายหน้าเป็นคนไทย  เป็นผู้ติดต่อเป็นผู้ซื้อ  ต่างชาติเป็นนายทุน  เจ้าของนำเดิมกลายเป็นผู้เช่า

          -  เงินที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาทุ่มซื้อ  และให้ราคาดี  จึงทำให้ญาติโยมอยากขาย  จึงต้องแจ้งให้  อ.บ.ต.  ไปแจ้งแก่ญาติโยมให้ทราบเรื่องและขอไม่ให้ขาย  ซึ่งบางคนเขาก็เชื่อ  บางคนเขาก็ไม่เชื่อ  ก็เลยขายไปเพราะอยากได้เงิน

          -  อาหรับกว้านซื่อที่นาเพราะอะไร..?   ก็เพราะว่า  อีก  ๕๐  ปีข้างหน้าน้ำมันจะหมด  ทำให้พวกนี้เข้ามาซื้อที่ไว้  ตอนแรกก็ให้เจ้าของเดิมเช่าทำนา  แต่ต่อๆ ไปข้างหน้ามันก็จะยึดไม่ให้คนไทยได้ทำนา

                             ๏  นายทุน - นักการเมือง - ต่างชาติ   ฮุบที่ดินไทย

                             ๏  อาหรับอาศัยคนไทยเป็นร่างทรง

                             ๏  สมุนนักการเมืองนั้นแหละตัวดี

ท่านองคมนตรี  เป็นห่วงเรื่อง  นายทุนกว้านซื้อที่นามากมาย

          -  ต่างชาติทำนาไทย  ส่งผลผลิตออกไปเมืองนอก

          -  เช่าที่ให้ไต้หวันปลูกข้าว เพื่อคนไต้หวัน

          -  เกษตรกรไทยไร้ที่นาทำกิน  และ

          -  ที่ทำนาน้อยลง

          เพราะอะไร....?    ก็เพราะว่าอีก  ๕๐  ปีข้างหน้านี้  น้ำมันจะหมดไป  ต่างชาติจึงต้องการเปลี่ยนอาชีพจากการค้าน้ำมัน  มาเป็นการยึดอาชีพเกษตรกร  เพราะเห็นว่าอาชีพเกษตรกรจะเป็นอาชีพหลักของโลกในอนาคต

          การที่ต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินก็เพราะ.....

                   -  ซื้อเพื่ออยู่เอง / ทำไร - ทำนา

                    -  ซื้อเพื่อสร้างโรงงาน

                   -  ซื้อเพื่อสร้างรีสอร์ท -  สนามกอล์ฟ

                   -  เข้ามาซื้อกิจการในประเทศไทย  และ

                   -  เพื่อการลงทุนอื่นๆ

 

ทำไม่ชาวนาจึงยากจน เป็นหนี้

          -  เดิมชาวนานั้นทำนาเพื่อกิน  ไม่ใช่ทำนาเพื่อขายเหมือนในปัจจุบัน

          ชาวนาผลิตได้  แต่กำหนดราคาไม่ได้  ให้คนอื่นเขามากำหนดราคาให้

 

ทำไมจึงต้องขายที่ดิน

         ๑.  ใช้หนี้

         ๒.  ขาดแคลนแรงงาน  ต้องจ้างคนต่างชาติ   เพราะเป็นคนสูงวัย

         ๓.  ต้นทุนสูง

         ๔.  ความผันผวนของผลผลิต

         ๕.  วิบัติด้วยลม ฟ้า  อากาศ

         ๖.  ตกเป็นทาสการบริโภค

         ๗. โรคภัยเบียดเบียน

         ๘. อื่นๆ

          รายได้ไม่เพียงพอ  จ่ายมากกว่าได้  จึงต้อง  เศรษฐกิจพอเพียง

                   จงพอใจในสิ่งที่เรามี  จงยินดีในสิ่งที่เราได้  

                        ในภาษาบาลีที่ว่า  ยํ  สทฺธํ  เตน    ตุฏฺพฺพํ.

          ดังนั้น  พระเราจึงต้องเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของญาติโยมให้ได้  ไม่งั้นศาสนาพุทธเราจะเสื่อม  สมัยก่อนพระเราเป็นผู้นำทางสังคม   ปัจจุบันพระเราจึงต้องทำความดีเพื่อสังคม   พวกเราต้องช่วยกันทำความดีให้สังคม  เพื่อสังคม  เพื่อผู้อื่น  เพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ  ส่วนตัวเอาไว้ก่อน  มาทำเพื่อสังคมกันก่อน

          ที่พูดมาวันนี้ก็เพื่อให้พวกเราตื่น  จะได้ไปบอกให้ญาติโยมของพวกเราตื่นด้วย  ให้มีสติกัน  จึงจะช่วยยืดอายุพระพุทธศาสนาไว้ได้ต่อไป  /  อนุโมทนา.

 

บันทึกเมื่อวันที่  ๑๒  กันยายน  ๒๕๕๒

เวลา  ๑๓.๐๐  น. -  ๑๔.๓๐ น.

หมายเลขบันทึก: 299442เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านพระครู

ดีใจที่ได้เห็นคณะสงฆ์ได้ช่วยกันทำหน้าที่ศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขอเป็นกำลังใจครับ

เรียนท่านผศ.ดร.พระมหาหรรษา นิธิบุณยากร

  • กราบขอบพระคุณที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจกัน

              ด้วยความเคารพครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท