Why & How & Who ในการทำ usability testing


การทดสอบความสามารถของเว็บไซต์ต่อการใช้งานของผู้ใช้ (usability testing) เป็นงานละเอียดอ่อนมาก ผู้คุมการทดสอบจะต้องเป็นคนใจเย็น มีสติ ช่างสังเกต ไม่วอกแวก เพราะงานนี้เป็นงานที่ต้องสังเกตสิ่งที่ผู้ใช้ไม่รู้ว่าตนได้ทำไป หรือเป็นการที่สมองประมวลผลและให้สั่งการให้ทำโดยอัตโนมัติ

สิ่งที่เรามักจะทดสอบ เช่น 

  • feature ที่เป็นปัญหา
  • feature ที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่
  • feature ที่ใช้งานเป็นประจำ
  • feature ที่ critical ที่อาจจะทำเกิดการสูญหายของข้อมูล เป็นต้น

และเราทำการทดสอบนี้เพื่อศึกษา satisfaction และ performance และหลังจากนั้นผู้คุมการทดสอบต้องมีความสามารถที่จะดึงออกมาให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาด้าน usability โดยแบ่ง 4 ระดับคือ

  • ปัญหาที่รุนแรงมากจนต้องแก้ไขด่วน เช่น ข้อมูลหาย ระบบล่ม เป็นต้น
  • ปัญหาที่รุนแรงจำเป็นต้องแก้ไข เช่น กระทบการใช้งานของผู้ใช้หลายคน เป็นต้น
  • ปัญหาปานกลาง เช่น สร้างความสับสนในการใช้อยู่บ้าง เป็นต้น
  • และปัญหาผิวเผิน เช่น สีไม่สวย เป็นต้น

เราจะวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้และแนวทางการแก้ไขปัญหาตาม Heuristic guidelines ของ Nielsen ประกอบกับ Heuristic checklists ของ Xerox

อย่างไรก็ตาม งานด้าน usability ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์การฝึกฝนด้วยใจรักอย่างแท้จริง งานแม้จะดูผิวเผินเหมือนง่าย บางคนคิดว่าจำเจ แต่จริงๆ แล้ว เป็นงานที่ท้าทายมาก เพราะเป็นการฝึกดึงความคิดของคนออกมาโดยที่คนๆ นั้นไม่รู้ตัว

 

คำสำคัญ (Tags): #usability#usability testing
หมายเลขบันทึก: 299404เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าสนใจดีค่ะ

......อย่าลืม

แวะไปทักทายพวกเรานะคะ

ขอมาเล่าอะไรนิดหน่อยค่ะ   แต่ก่อน เคยมีประสบการณ์จ้างคนทำเว็บให้ ความที่ตัวเอง เป็นคนค่อนข้างละเอียด ให้เขาแก้ไขบ่อยในตอนแรกๆ เพราะดูไม่ลงตัว คนที่เขารับทำให้ ก็เลยค่อนข้างเซ็งๆและบอกว่า ต่อไปเขาจะไม่รับงานทำเว็บไซด์แล้ว เพราะใช้เวลามาก ไม่ค่อยคุ้ม
เลยคิดว่า งานออกแบบเว็บนี่ ควรต้องเป็นคนใจเย็นพอ และต้องเคลียร์กันให้เข้าใจว่าลูกค้าอยากได้แบบไหน จะได้ไม่ต้องมาแก้งานแล้ว แก้งานอีกให้หงุดหงิด บางทีลูกค้าก็ไม่เข้าใจงานที่ทำให้  ก็ต้องอธิบายให้เขาฟัง
เป็นอะไรที่คล้ายๆกับสถาปนิก ถ้าเราไปให้เขาแก้งานบ่อย เขาก็เริ่มไม่ชอบแล้ว ปกติสถาปนิก จะแก้งานออกแบบให้ 2 ครั้ง สนิทหน่อยก็ 3 ครั้งหรือแล้วแต่ตกลง

แต่อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัว โกทูโนโฉมใหม่ สวยดี ชอบค่ะ ใช้ง่าย ไม่ต้องแต่งอะไรเพิ่มเติม นอกจากสิ่งที่อยากจะเพิ่มพิเศษสำหรับเราเอง ชอบอะไรที่เรียบๆ  คิดว่า พวกwidgets หรือ sidebars หรือ flashy designs  ที่มากไป บางทีทำให้ความสำคัญของเนื้อหาลดลงค่ะ

ขอเรียนว่า ผมเขียนบันทึกสองครั้งหลัง ไม่ปรากฏในบล็อกเลยครับ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น จะว่ากดปุ่มผิดก็คงจะไม่ใช่ เพราะครั้งแรกนึกว่ากดผิด ครั้งหลังจึงอ่านอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็ยังไม่มีบันทึกปรากฏในบล็อกครับ (บันทึกครั้งหลังสุดวันที่ 19 ครับ)

ดิฉันก็เจอปัญหานี้ค่ะ อ. จารุวัจน์ ซึ่งเป็นเพราะหน้า preview ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นหน้า preview ผู้ใช้ก็เลยนึกว่าได้บันทึกแล้ว

ต้องขอโทษด้วยค่ะ เป็นเพราะทีมงานไม่เจอปัญหานี้ตอนทดสอบค่ะ

ตอนนี้กำลังเร่งแก้ไขค่ะ

เรื่องกดปุ่มผิด เป็น usability error ที่ต้องเร่งแก้ไขแน่นอนค่ะ

แต่ส่วนเรื่องที่ อ.จารุวัจน์ บันทึกหายไปนั้น จะให้มะปรางสอบถามในรายละเอียดอีกครั้งนะค่ะ

สวัสดีครับ ดร. จันทวรรณ ตามมาจากมาบ้านอาจารย์ โอ๋ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท