หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๑ : ชมรมเพื่อนผู้พิการ


“...ตอนนั้นอาจารย์ป้อม เป็นรองคณะบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คิดว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษาใช้ชีวิตไม่ประมาท ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เลยเริ่มต้นจากกิจกรรมรับน้อง เพราะที่คณะวิจิตรศิลป์ แต่ก่อนการน้องจะมีวันหนึ่งที่จะให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้เขารู้ว่าจริงๆ ชีวิตก็มีคุณค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะบางคน บางครั้งก็รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง แล้วหันไปพึ่งพาเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดต่าง ๆ ฯลฯ กิจกรรมนี้น่าจะทำเขาให้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตของเขาได้...”
     กาดต้นพยอม ตลาดสดของชาวเชียงใหม่เย็นนี้คราคร่ำไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายดังเช่นทุกวัน...
     หนุ่มสาวผู้มีอาการครบถ้วนกว่า ๑๐ คน ต่างคนต่างพาตัวเองเคลื่อนไปในตลาด ซึ่งหากเป็นการย่างกรายเข้าไปในภาวะปกติ ก็คงไม่สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าและผู้คนที่มาจับจ่าย แต่เพราะมิใช่เหตุการณ์ปกติด้วยพวกเขาเคลื่อนตัวเองอยู่บนรถวีลแชร์ รถเข็นสำหรับผู้พิการ จึงได้รับความสนใจจากบรรดาผู้คนในตลาดไม่น้อย เป็นสีสันให้ตลาด
     เหตุการณ์ดังนี้ หากเป็นผู้พิการผู้ช่ำชองการใช้รถวีลแชร์ แม้จะมีความยากลำบากในพื้นที่ที่มิได้เตรียมไว้รองรับสำหรับผู้พิการ แต่ก็คงไม่ทุลักทุเลเท่า แต่พวกเขา... ทางเดินขรุขระบางช่วง พื้นต่างระดับเพียงองคุลี ก็นำพาตัวเองไปได้อย่างยากเย็น มีเพียงบางคนที่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้าง
     หนุ่มสาวเหล่านี้ได้รับโจทย์จากกิจกรรมที่เข้าร่วม ให้เข้าไปซื้อของในตลาดสดในยามเย็นที่ผู้คนจอกแจกจอแจ ซึ่งมีข้อแม้ว่าเขาจะต้องนั่งบนรถวีลแชร์พาตัวเองเข้าไปปฏิบัติภารกิจตามโจทย์ และมิให้ร้องขอความช่วยเหลือใด ๆ จากใคร เว้นแต่ละได้รับความเมตตาจากผู้พบเห็นโดยสมัครใจ ทั้งนี้มีเพื่อน ๆ ของเขาอีกจำนวนหนึ่งเฝ้าสังเกตุความเป็นไปทั้งบรรดาเพื่อน ๆ ที่เคลื่อนตัวไปบนรถเข็น อากัปกิริยาของผู้คนในตลาด รวมทั้งพื้นที่ในตลาดเมื่อมีการใช้รถวีลแชร์พาหนะของผู้พิการ
     เหตุการณ์จำลองในสถานการณ์จริงนี้ เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้กลุ่มนักศึกษาผู้นำองค์กรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีอาการครบสามสิบสอง ได้เข้าใจสภาพปัญหาของผู้พิการที่ต้องเผชิญในการดำรงชีวิต รวมทั้งตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้พิการได้ช่วยเหลือตัวเองได้สะดวกและมากขึ้น ฯลฯ กิจกรรมหนึ่งในค่ายเพื่อนผู้พิการ ของ “ชมรมเพื่อนคนพิการ” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    
     ย้อนหลังไปเมื่อปี ๒๕๔๗...
     คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา ให้ได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของชีวิต มีสติและรอบคอบในการตัดสินใจและการใช้ชีวิต เข้าใจและอาทรปัญหาของสังคม กระตุ้นให้มีสำนึก “จิตอาสา” ที่จะทำความดี ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม
     เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการบรรลุภารกิจข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมจริยธรรม “เรียนรู้ชีวิต” ในลักษณะค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น เริ่มต้นในสมัยที่ อาจารย์ป้อม หรือ ผศ.อัศวิณีย์ หวานจริง เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา โอ๊ด – อวิรุทธ์ ทรัพย์วิวัฒนา อดีตนายกสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ เล่าถึงที่ไปที่มาของกิจกรรมดังกล่าวว่า
     “...ตอนนั้นอาจารย์ป้อม  เป็นรองคณะบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คิดว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษาใช้ชีวิตไม่ประมาท ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เลยเริ่มต้นจากกิจกรรมรับน้อง เพราะที่คณะวิจิตรศิลป์ แต่ก่อนการน้องจะมีวันหนึ่งที่จะให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้เขารู้ว่าจริงๆ ชีวิตก็มีคุณค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะบางคน บางครั้งก็รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง แล้วหันไปพึ่งพาเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดต่าง ๆ ฯลฯ กิจกรรมนี้น่าจะทำเขาให้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตของเขาได้...”
     กิจกรรมดังกล่าว ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดอาสาสมัครเพื่อนสังคมเข้ากับการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งได้เชิญผู้พิการมาร่วมแชร์ประสบการณ์ชีวิตด้วย
     ผลสำเร็จจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว นำไปสู่การจัดตั้ง “ชมรมเพื่อนคนพิการ” คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดอย - สักก์สีห์ พลสันติกุล รับตำแหน่งเป็นประธานชมรมคนแรก
     จากนั้น ในปีต่อ ๆ มา การรับน้องใหม่ก็จะมีกิจกรรมลักษณะนี้เรื่อยมา และในปี ๒๕๕๐ ได้ขยายผลไปดำเนินการร่วมกับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนกระทั่งมีนักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกชมรม อีกทั้งสักก์สีห์ เข้าไปทำงานให้กับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเพื่อให้ชมรมได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ชมรมเพื่อนคนพิการ จึงโอนไปสังกัดกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี ๒๕๕๑
     หลังจากชมรมย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัย ก็มีสมาชิกชมรมเพิ่มมากขึ้น นอกจากคณะวิจิตรศิลป์และคณะนิติศาสตร์แล้ว ยังมีนักศึกษาจากคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะวิทยาศาสตร์ มาร่วมด้วย
     แม้จะชื่อ “ชมรมเพื่อนคนพิการ” แต่ชมรมก็มิได้สนใจเพียงแค่ปัญหาเกี่ยวกับคนพิการเท่านั้น การช่วยเหลือผู้พิการ เป็นเพียงกิจกรรมรูปธรรมที่ทำให้ “จิตอาสา” ในตัวสมาชิกเบ่งบานและเติบโต เป็นเงื่อนไขที่ทำให้สมาชิกได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิต เห็นคุณค่าของชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ดังที่ อวิรุทธ์ กล่าว
     “...ชื่อชมรมมาจากกิจกรรมครั้งแรก ที่ได้เรียนรู้กับผู้พิการ จริง ๆ แล้ววัตถุประสงค์ที่แท้ของชมรมคือการให้สมาชิกใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ เราไม่ใช่สนใจแต่ประเด็นผู้พิการเท่านั้น ปัญหาสังคมอื่น ๆ เราก็ใส่ใจ แต่เรื่องผู้พิการเป็นจุดเริ่มต้นของเรา...”
     เพื่อให้กิจกรรมชมรมฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๕๑ ชมรมฯ จึงได้จัดทำโครงการค่ายเพื่อนผู้พิการ ขึ้น โดยยังคงมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ชีวิต เข้าใจถึงปัญหาของสังคมที่มีอยู่จริงและสามารถนำมาพัฒนาในรูปแบบจิตอาสา รู้จักช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต มีความสุขที่จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ แล้วส่งขอรับการสนับสนุนทุนดำเนินการภายใต้ชุดโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านเครือข่ายพุทธิกา
     โครงการฯ ได้รับการพิจารณาสนับสนุนทุนจากเครือข่ายพุทธิกา นอกจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทางชมรมยังใช้เงื่อนไขการดำเนินงานนี้เสริมสร้างทัศนคติต่าง ๆ อาทิ การใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่พึ่งพิงความสุขทางวัตถุเพียงอย่างเดียว เชื่อมั่นในความเพียรของตน นอกจากนี้ยังทำให้เราสามารถรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อส่วนรวม ฯลฯ
 
หมายเลขบันทึก: 297656เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

กัลยาณมิตรครับ

มิตรรักแฟนเพลงที่สนใจงานด้านจิตอาสา

มีเรื่องเล่าให้ฟังครับ

เรื่องนี้ คาดว่า ๓ ตอนจบครับ

ชมรมเพื่อนผู้พิการทางกายได้ฉายภาพ สังคมครับโปรดรับรู้ดูให้เห็น

ผู้พิการขอโอกาสอย่างชัดเจน               เขาก็เป็นคนเช่นท่านโปรดหันมอง

ให้โอกาสเขาบ้างทั้งหน้าที่                เหมือนคนมีร่างกายใช้สมอง

ร่างพิการแต่ใจคล้ายดั่งทอง              ขอพี่น้องมีน้ำใจไม่พิการ

ผู้พิการคนใดไร้สามารถ                     สังคมจัดสงเคราะห์เหมาะสถาน

ร่วมแบ่งปันร่วมถักทอร่วมก่อาร         เป็นดั่งท่านฝึกหัดใจให้ใสงาม 

 

 

  • ธุ  คุณหนานเกียรติค่ะ..

ต้อมอยากให้เมืองไทยทำพื้นที่สำหรับอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการมากกว่านี้   อย่างเช่น  ฟุตบาท  ห้องน้ำ  รถโดยสาร และอื่นๆ  

ท่านพี่ครับ นายวิโรจน์ พูลสุข

ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ

ยังมีต่อนะครับ ตอนต่อไปจะแนะนำให้รู้จักนักศึกษาผู้มีจิตอาสาที่ริเริ่มงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้มีทางลาดสำหรับผู้พิการครับ

 


เมื่อ อ. 15 ก.ย. 2552 @ 08:30
#1552488 [ ลบ ]

น้องต้อมครับ เนปาลี

นักศึกษากลุ่มหนึ่งใน มช. พยายามดำเนินการเรื่องนี้อยู่ ไม่น่าเชื่อว่าอุปสรรคการทำงานกับเป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัย

เฮ้อ...

 

สวัสดีค่ะ

  • ในปัจจุบันจะเห็นว่ากิจกรรมจิตสาธารณะเบ่งบานขึ้นมากแล้วนะคะในสังคมของบ้านเมืองเรา
  • แม้ว่า..ดูเหมือนจะทวนกระแส  แต่เมื่อมีคนเริ่มทำแล้ว  นับว่าเป็นเรื่องดีงามค่ะ
  • อ่านแล้วชื่นใจในการกระทำของเยาวชนคนต้นแบบเหล่านี้
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

พี่ ครูคิม

น่าจะ ๓ ตอนจบครับ

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มนักศึกษา มช. จิตใจใหญ่น่าดู

เห็นแล้วก็อดภูมิใจไม่ได้ครับ

พี่.... กาแฟ จบแล้วเหรอ

สวัสดีครับ พี่นงนาท สนธิสุวรรณ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

มีต่ออีกสองตอนนะครับ

เป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจ แต่พี่อ่านแทบไม่เห็น ตัวมันเล็ก...พี่ สว.น่ะ

โกงนี่หว่า ! ตะกี้ยังเล็กติ๊ดหนึ่งอยู่เลย แล้วมาหาว่าเราไม่ได้อ่าน..นี่แหละ เท่านี้เลย..อ่ะ ! ให้ 5 ดาว

คุณพี่ ครู ป.1

แหม่... ก็มันมือใหม่อยู่

จะทำตัวใหญ่ ตัวเล็ก มันยังไม่คล่อง พอจะเป็นแล้ว

ต้องเอาใจบรรดา สว. หน่อย เพราะเยอะเหลือเกิน ฮิฮิ

 

ตอบหนานเกียรติด้วยความยินดี       เป็นหน้าที่คนไทยใจอาสา

ได้พบปะพูดคุยเห็นหน้าตา              ทัศนคติที่จริงใจได้สื่อกัน 

สะดวกเมื่อไหร่ให้บอกมาอย่าเกรงใจ  ท่านจะมาหรือให้ไปใจแข็งขัน

จิตสาธารณะจิตอาสามาแบ่งปัน     ร่วมยืนยันรักชาติประกาศตัว         

ท่านพี่ นายวิโรจน์ พูลสุข

พี่ส่งเบอร์โทร และที่อยู่มาที่อีเมล์ผมหน่อยนะครับ

จะแวะไปคารวะและสนทนาด้วย

[email protected]

 

น้องหนานเกียรติคะ

นี่ถ้าไม่ทราบ  ชาวตลาดคงแตกตื่นกันน่าดู

ที่อยู่ๆ ก็มีกองทัพคนพิการมาจ่ายตลาดเอง

เป็นกิจกรรมที่ดีมากค่ะ  ชื่นชมค่ะ

  • สู้ต่อไป..แม้จะต้องฝ่าสายฝนและแสงแดด
  • มาเป็นกำลังใจครับ
  • ขอมอบภาพนี้เป็นกำลังให้ด้วยครับ

สวัสดีครับ คุณสามสัก

ขอบคุณมาก ๆ ครับ สำหรับภาพนี้

ชอบมากครับ

เห็นภาพแล้วทำให้นึกถึงเพลงยิ้มกลางสายฝน

เป็นเพลงกล่อมเฌวาหนะครับ

พี่สุก็เป็นคนขี้สงสารนะคะ โดยเฉพาะคนพิการ แต่พี่สุชื่นชมเขา ที่เขาพิการเพียงร่างแต่ใจเขาสู้ และพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง

และถ้าหากมีองค์กรที่มองเห็นคนพิการก็มีคุณค่าเหมือนคนปรกติทั่วไป และให้โอกาสเขา เขาก็คงจะยืนหยัดต่อสู้ด้วยหัวใจที่ทรนง คือไม่จำเป็นจะไม่ขอร้อง ร้องขอคามช่วยเหลือจากใคร จะยืนหยัดด้วยตนเอง  ก็แต่มีผู้ยื่นมือและให้โอกาสได้เรียนรู้วิถีการช่วยเหลือตนเองได้ ตามความสามารถที่เขามีอยู่คะ พี่สุจะติดตามตอนต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านด้วยความชื่นชมค่ะ

กิจกรรมทุกชนิดเป็นประสบการณ์ตรงของนักศึกษา... สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น...

ตอนเป็นนักศึกษานี่เองค่ะ ที่คนไม่มีรากได้เรียนรู้และปลูกฝังความรัก ความเชื่อในการ "ช่วยเหลือ" เพื่อนมนุษย์

จะรออ่านตอนต่อนะคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับ พี่สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สังคมเรายังมีมายาคติเกี่ยวกับผู้พิการมากมายเลยครับ

ผมรู้จักกับพี่คนนึงเป็นผู้พิการ และได้ทุ่มเททำงานเพื่อสร้างความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับผู้พิการ

ชื่อพี่ธีรวัฒน์ครับ เราเป็นอโชก้าเฟล์โลว์ด้วยกัน

 

คุณคนไม่มีราก ครับ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน ดีใจที่ชอบนะครับ

ตอนที่สองมาแล้วนะครับ

เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๒ : คนจิตอาสาผู้ขับเคลื่อนชมรมฯ

ตามมาอ่าน อ่านไม่ทันเลยครับ ฮ่าๆๆ ไปไวมากๆๆ

พี่สามสักทำภาพออกมาสวย ๆ ทั้งนั้นเลยน่ะค่ะพี่หนานเกียรติ

กอสนใจค่ะ จะมาอ่านอีก 3 ตอน

อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ครับ

ตอนที่สองมาแล้ว ค่ำนี้จะขึ้นตอนจบครับ

ขอบคุณที่ตามอ่านครับ

น้องกอครับ สุดสายป่าน

ใช่ภาพที่คุณสามสักทำเนี่ยสุดยอดเลย

ว่าจะเอาไปเปลี่ยนภาพเดิม แต่ไม่รู้ทำไง งม ๆ ไปก่อน

ขอบคุณที่ตามมาอ่านครับ

ค่ำนี้จะขึ้นตอนจบครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • เขียนเก่งจริง ๆ เลยพี่หนานเกียรติเราเนี่ย
  • มีบางท่านบอกว่าถ้าลูกในครรภ์ไม่สมบูรณ์พิการคงต้องเอาออกไม่ให้เกิด
  • ทัศนะแบบนี้ดูท่าจะมาแรงน่าหวั่นใจไมเบา
  • อันที่จริงพิการนี่แหละน่ารักน่าเมตตา
  • พุทธภาษิต เมตตากันนี่แหละเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ทำให้โลกน่าอยู่ แท้จริง

เจริญธรรม

พี่หนานเกียรติ คะ

น้องอาร์มส่งอีเมล์แจ้งให้ทราบแล้วนะคะ รบกวนตรวจสอบด่วนค่า

สวัสดีครับ พี่ หนานเกียรติ

เข้ามาอ่านเรื่องราวดีๆครับ

ขอบคุณครับ  

นมัสการ พระอาจารย์ครับ

ขอบพระคุณที่แวะมาอ่ายและชมให้กำลังใจครับ

แท้ที่จริงเรื่องราวดีอยู่แล้ว ผมทำหน้าที่เพียงเล่าเรื่องราวเหล่านั้น จริง ๆ ยังทำได้ไม่ดีด้วยซ้ำไปครับ

ท่านอาจารย์ให้กำลังใจอย่างนี้ต้องพยายามขึ้นอีก

ขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นที่แลกเปลี่ยนมานะครับ

คุณ มะปรางเปรี้ยว ครับ

ผมเชคเมล์แล้ว ไม่มีเมล์จากน้องอาร์มเข้ามาเลยครับ

 

did ครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

มีกำลังใจจะเขียนขึ้นเยอะเลย...

ผมจะแวะมาอีกรอบนะครับ...
จะเข้าไปอ่านทุกบันทึก  เพราะที่ ม.มหาสารคาม ก็ขับเคลื่อนเรื่องนี้จนติดชาร์ด สกอ.ไปแล้ว  และผมก็เคยได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมหลักเมื่อหลายปีที่แล้ว

...ตอนนี้ ขออนุญาตไปต่างจังหวัดก่อน นะครับ..

 

P สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

เป็นกำลังใจกับการทำกิจกรรมกับนักศึกษานะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท