หน้าที่ของคุณครู:ภาษาอังกฤษกับอาชีพครู


นั่งดูฝนตก…ไปไหนไม่ได้หยิบหนังสือ Reflective Teaching in Second Language Classrooms มาอ่าน เห็นสรุปหน้าที่(The roles of the teacher )ของครูไว้เลยเอามาให้อ่าน

   Jack C. Richards เจ้าพ่อผู้ทำหนังสือเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษได้สรุปหน้าที่ของ  ครู(The roles of the teacher ) ไว้ดังนี้
  1.       ครูเป็นนักผู้วิเคราะห์( Needs analyst) ครูจะต้องทราบความต้องการของนักเรียนแต่ละคน( students’ individual  needs ) และสามามรถนำผลมาใช้ในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร(สงสารคุณครูบ้านเราเป็นนักวิเคราะห์จริง บางคนรู้รายละเอียดนักเรียนดีมาก โดยเฉพาะคุณครูในชนบท แต่ปัญหาคือ คุณครูถูกใช้ทำงานสารพัด สอนนักเรียนทั้งวัน งานธุรการ งานของอำเภอ งานของจังหวัด งานหน่วยเลือกตั้งฯลฯ   ทำให้ครูไม่มีเวลาวางแผนและพัฒนาหลักสูตร)
  2.       ครูเป็นนักพัฒนาหลักสูตร(Curriculum developer) ครูจะต้องพัฒนาหลักสูตรที่ตนเองสอนอยู่เสมอ(ไม่ใช่รุ่นพี่จบไป 10 ปี มาเยี่ยมรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย ทำไมน้องยังเรียนเอกสารอันเดียวกับรุ่นพี่)
  3.       นักพัฒนาสื่อการเรียนการสอน( Material developer)  ครูควรมีสื่อการเรียนการสอน( ไม่ใช่ย่างเอกสารในเครื่องฉายข้ามศีรษะตลอดทั้งเทอม)
  4.       ครูเป็นที่ปรึกษา( Counselor) ครูควรเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักเรียนทั้งเรื่องการเรียนและเรื่องส่วนตัว (อาจารย์หมอประเวศเล่าว่ามีอาจารย์ท่านหนึ่งรีบเข้ามาสอน หมดคาบก็รีบสะบัดก้นออกจากห้องไปสำนวนอาจารย์หมอครับ)
  5.       ครูเป็นพี่เลี้ยง(Mentor) ให้แก่คุณครูที่มีประสบการณ์ในการสอนน้อย(สมันก่อนมีคุณครูมาบรรจุที่โรงเรียนจะมีคำสั่งตั้งคุณครูพี่เลี้ยง ครูน้องเลี้ยงของผม จบปริญญาโท( Master degree)ไปหลายคนเหลือพี่เลี้ยงเฝ้าโรงเรียนเดี๋ยวนี้มีครูพี่เลี้ยงไหมครับ..ใครทราบช่วยบอกที)
  6.       ครูต้องทำงานเป็นทีม( Team member) คุณครูจะต้องช่วยเหลือกันทำงาน การทำงานเป็นทีมจะทำให้งานสำเร็จได้มากกว่าทำงานคนเดียว( สมัยผู้เขียนสอนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาเรามีทีมวิชาการที่เข้มแข็งมาก งานวิจัยของโรงเรียนติดระดับประเทศ เป็นโรงเรียนที่มีงานวิจัยมากที่สุดในจังหวัด เพราะคุณครูทุกคนตั้งใจทำงานช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี)
  7.       ครูเป็นนักวิจัย( Researcher) ครูควรทำงานวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง( ผู้เขียนคิดว่า งานวิจัยในชั้นเรียน(Action research) จะช่วยให้คุณครูเป็นนักวิจัยที่ดี เพราะครูอยู่กับนักเรียนตลอดเวลา ทราบปัญหาในชั้นเรียน)
  8.       ครูมืออาชีพ(Professional) ครูควรพัฒนาตนเอง  ควรเข้ารับการอบรม สัมมนา สิ่งสำคัญคือคุณครูควรอ่านหนังสือและติดตามเหตุการณ์ต่างๆอยู่เสมอ( ในหลวงของเราท่านตรัสว่าท่านทำอาชีพคือ ทำราชการ ลองเข้าไปอ่านที่อาจารย์พินิจที่   อาชีพของในหลวง ) คุณหมอประเวศ วะสีกล่าวว่า ครูเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม

   ผู้เขียนเห็นว่า อาชีพครู เป็นอาชีพที่ประเสริฐจึงเขียนเรื่องนี้มาบูชาคุณครูใครรักคุณครูบ้างยกมือขึ้น

      
 

 

หมายเลขบันทึก: 29627เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ขอเพิ่ม..เสริมเติมแต่งนิดนะคะ...

ครู..ควรทำหน้าที่ในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้..

ร่วมกับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

  • Dr.Ka-poom  ดึงเข้าเรื่อง จนได้เรื่องเลยนะ แต่อย่างไร เห็นด้วยอย่างยิ่งนะจ๊ะ
  • ดูท่า คุณขจิต จะช่ำชองภาษาอังกฤษ สมกับเป็นคุณครูภาษาอังกฤษเนาะ  ว่างๆ ก็เจียดเวลามาติวคนที่ขอนแก่นบ้างนะ เพราะภาษาอังกฤษแย่ ถึงแย่มาก

ยกมือคนแรกค่ะ...

เห็นด้วยที่ครูควรจะต้องรู้และเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ แต่ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูรุ่นเก่าและรุ่นใหม่บางท่านแทบจะไม่สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้เลย และยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร ควรเริ่มที่ไหน อย่างไร  เช่นเดียวกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

Dr.Kawao

รีบชิงตัวเลยนะคะ...ตอนนี้ Eng ของอาจารย์ Ka-wao คงคล่องนะคะ

  • ขอบคุณDr.Ka-poom ที่เข้ามาเพิ่มข้อมูลให้ การอบรมเป็นอย่างไรบ้างครับ
  • ขอบคุณคุณกัลยา มากครับอาจารย์ที่มข. เก่งมาก มาเรียนในรุ่นหลายคน ตามด้วยเพื่อนชาวจีน จากมหาวิทยาลัย Guizhou
  • ขอบคุณคุณครูวิจิตรามาก ปัญหาของครูคือขาดข้อมูล ขาดการสนับสนุนให้พัฒนาตนเองครับ ทำให้ไม่ทราบว่าการวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลไม่จริงใจจะแก้ปัญหาทางด้านการศึกษา

ในการสร้างสื่อการเรียนการสอน  สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร ใครตอบได้ ?? อยากรู้เหตุผลทำไมต้องสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมามากมาย  เห็นอาจารย์ที่เค้าทำวิจัยในชั้นเรียนกัน เช่น  CAI ประกอบ ก็เห็นกันเกร่อ !!   แต่ไม่เห็นนำมาใช้กันได้จริง ๆ เลยซักราย  (อันนี้รอบตัวนิวนะค่ะ  แต่สื่อต่าง ๆ ที่ดี  ๆ ใช้ได้ประโยชน์อาจจะมีแต่นิวไม่ค่อยเห็นค่ะ)  นิวเขียนแรงไปหรือเปล่าเนี่ย...ถ้าเขียนแรงไปต้องขอโทษด้วยค่ะ ///

จริง ๆ แล้วถ้าจะกล่าวกันถึงสื่อการเรียนการสอน  นิวขอพูดในประเด็นของสื่อทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งนิวจะเห็นได้บ่อยที่สุด ...สื่อการเรียนการสอนอาจมีหลายประเภท  แต่ที่พวกเรา (คุณครูทั้งหลาย) สร้างสื่อกันขึ้นมาเพื่ออะไร..คำตอบก็คือให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันที่อาจมีวิธีการรับรู้แตกต่างกัน  สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ครูกำลังสอน  เพราะนักเรียนบางคนสามารถรับรู้ได้ดีถ้าใช้รูปภาพ หรือบางคนใช้เพียงแค่ตัวอักษร  หรือบางคนต้องมีทั้งภาพและเสียงพร้อมตัวอักษร ตรงนี้มีสถิติงานวิจัยรับรองด้วย  เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ของผู้เรียนจะแตกต่างกันไปตามระดับสติปัญญา  และความใฝ่รู้ของแต่ละบุคคล  เพราะฉะนั้นหน้าที่ของครูคืออะไร  คงตอบกันได้แล้วนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ
  • ขอบใจน้องนิวมากที่แอบมาเมื่อไรก็ไม่รู้ ผมเห็นด้วยกับน้องนิว สื่อบางอันทำแล้วไม่ได้ใช้เก็บไว้บนหิ้ง เหมือนงานวิจัยบางเล่ม
  • สติปัญญาของนักเรียนควรได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ดีใจมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมที่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ไฟแรงของจอมบึง

สื่อบางอันทำแล้วไม่ได้ใช้เก็บไว้บนหิ้ง

เดี่ยวจะกลับมาตอบว่าทำไมต้องสร้างสื่อ

และเทคโนโลยีการศึกษาสำคัญอย่างไร

ตอนนี้ขอตัวไป Dinner ก่อนนะคะ

จะคอยฟังค่ะคุณ kawao ค่ะ../// นิวชอบคุยกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ หรือ น้อง ๆ  ในเชิงความรู้แบบนี้ค่ะ สนุกดี เอาแนวคิด+ความรู้ที่มีมาช่วยกันสร้างกระบวนการที่มีประสิทธิภาพของสื่อในปัจจุบันที่มีผลกับนิสิตของพวกเรา เพื่อที่จะหาวิธีจัดการอย่างไรเพื่อให้สื่อเหล่านั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามศักยภาพ+ความสามารถของตนเองให้มากที่สุดค่ะ   นี่เป็นอีก 1 วิธีในการทำหน้าที่เป็นครู  เหมือนกันนะ  ซิบอกให้ เหอ ๆ

จาก น้องนิว สุดสวยประจำศรีปทุม อิอิ...หรือNickname เซลล่ามูนสีชมพู

นิวชอบสีชมพูค่ะ 555  คงไม่ว่ากันนะค่ะ ที่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของเจ้าหญิงน้อยแห่งศรีปทุม  อิอิ..!! (คนที่ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ IT ..และเพื่อน ๆ ปวดหัวกับมันมากที่สุดในห้อง เหตุเพราะน่ารักที่สุด  นั่นเอง 555 !!)

แต่ถึงหนูจะเป็นแบบนี้ แต่หนูเรียนได้เป็นที่ 1 ของห้องเน้ออออ...55555..///..รอฟังคุณ Kawao ด้วยใจจดใจจ่ออยู่นะค่ะ....รอ รอ ร๊อ รอ ค่ะ...เมื่อไรคุณ Kawao จะมาซักที อิอิ...(ถ้าความคิดเห็นของนิวไปกระทบใครนิวต้องขอโทษด้วยนะค่ะ  นิวไม่ได้เจตนาจริง ๆ นิวอยากให้พี่ ๆ หรือเพื่อนๆ  มองว่ามันก็คือแนวคิดนึงที่ปุถุชนธรรมดาคนนึงอาจคิดด้วยกระบวนการวิธีแบบนี้ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ)

แต่อยากให้เป็นเชิงสร้างสรรค์   ติเพื่อก่อ  ไม่ใช่ทำลายซึ่งกันและกัน  นี่คืออุดมการณ์ของนิวในการเข้าชุมนุมนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

รออยู่เหมือนกันว่าคุณกัลยาจะมาเมื่อใด คงลืมเราแล้วมั๊ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ได้ความคิดดีๆหลายอย่าง ตอนนี้เพิ่งรู้ว่ามีเซลล่ามูนสีชมพู  ด้วย จำได้ว่าเขาดูกันสมัยเด็กๆนี่ครับ

โอ๊ะ โอ..นี่แสดงว่าเรา  แก่ แล้วเหรอเนี่ย..หนูยังไม่ 30 เลยยยย  ...หนูยังไม่ยอมรับว่าแก่หรอก  .5555 แต่ถึงจะแก่แต่ก็ยังมี ไฟ อยู้.....สู้ตายค่ะ อิอิ..

 

แง ๆ  เอาไว้ วันอังคารค่อยเข้ามาดูใหม่นะคะ  พอดีต้องไปแปล paper แล้วนะ (รอไม่ไหวแย้ววว !!) วันจันทร์นี้นัด adviser ที่จุฬา ด้วยง่ะ  คงต้องรีบไปอ่านก่อนเดี๋ยวโดนดุ  เหอ ๆ  กราบสวัสดีวันอาทิตย์ท่านอาจารย์ขจิต  ด้วยค๊า..บ๊าย-บาย

 

จาก เซลล่ามูนสีชมพู

ขอรอฟังด้วยคนได้มั๊ยค่ะ...

เอ!! แต่ที่เจออยู่ทุกวันคืองบไม่มีจัดซื้อสื่อ พออากาศร้อนเกินหลอดขาด ฝนตกก็ช๊อต พูดถึงเครื่องฉายข้ามศีรษะ นานเข้าก็อย่าใช้มันซ๊ะเลยอาศัยปากพูดอย่างเดียวให้ตายกันไปข้างนึง

มีวิทยากรมาอบรมเรื่องการใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยให้ครูก็ไม่สนใจเข้าอบรม จะมีก็เป็นหน้าเดิม ๆ เข้าอบรมแล้วอบรมอีก ที่เหลือก็นั่งยิ้มอยู่ตามใต้ต้นไม้ เวรกรรมทำไงดี 

  • อึ้งรูปภาพ... ที่มศว มีอาจารย์ที่ชำนาญเรื่อง เทคโนฯ ชื่อ ชัยยงศ์ พรหมวงศ์(พิมพ์ผิดไหมครับ) เขาเรียกว่าถึงอายุมากแค่ไหนก็ยังมีไฟอยู่ครับ ...ลืมบอกไปพี่ Handy เราก็เก่งทางด้านเทคโนฯ...มีความสุขกับการแปลงานนะครับ ...เซลล่ามูนสีชมพู
  • เท่าที่คุณครูวิจิตราเล่ามา อาจารย์ของเรายังสอนเหมือนเดิมๆอยู่นะครับ...คงเป็นเรื่องของจิตสำนึก...นะครับ

ขอโทษคุณน้องนิว และคุณขจิต นะคะที่ทำให้รอนานแสนนาน ขอโทษอย่างยิ่งยวด  ดิฉันหายไปแบบข้ามวันข้ามคืนเลยนะค่ะ พอดีเพื่อนๆ มาก็เลยไปดื่มกาแฟกัน ตามด้วย Dinner จบลงตอนห้าทุ่ม จากนั้นก็เตรียมตัวเรียนภาษาอังกฤษ (ช่วงนี้ปิดเทอม เค้าไห้ไปอบรมภาษาอังกฤษ แบบ intensive และแบบว่าจะต้อง present เป็นภาต่างชาติ ก็เลยค่อนข้างจะต้องให้เวลากันมากๆ หน่อย นี้แหละที่ทำให้ต้องหาคนมาติว อ่ะ .. เพื่อนๆ บอกว่า ให้หาสามีเป็นชาวต่างชาติ ภาษาจะได้ดีขึ้น ก็กำลังตัดสินใจ กลัวว่าสามีชาติที่ได้ มันจะเป็นชาติหน้า....ฮ่า ฮ่า)

เข้าเรื่องในสิ่งที่จะตอบคำถามดีกว่า และร่วมแลกเปลี่ยนนะคะ อันนี้ตอบในมุมมอง คนที่เรียนด้านเทคโนโลยีการศึกษา นะคะ หรือ ที่เมืองนอกในสมัยใหม่เค้านิยมเรียกกันว่า instructional design

เทคโนโลยี หรือที่เรา (ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู ทั่วๆไป ) เรียกว่า สื่อ นะคะ  คือศาสตร์แห่งวิธีการ (ชัยยงค์  พรหมวงศ์, 2521; Finn, 1960; Saetller, 1968) เป็นนิยามที่มีความหมายและใช้ได้ร่วมสมัยอยู่เสมอ แม้วันเวลาจะผ่านล่วงเลยไป   เป็นการเน้นให้เห็นว่าเทคโนโลยีมิได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องของเครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัยด้านเดียว  หากแต่รวมไปถึงระบบ วิธีการ หรือ กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงาน การเรียนการสอน  เมื่อผนวกกับคำว่า ศึกษา  เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือ ที่ทุกคนเหมารวมว่า สื่อ จึงหมายถึง ระบบในการประยุกต์ วัสดุ  เครื่องมือ และวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้น รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ 

อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปยังมักจะมองเทคโนโลยีการศึกษาในแง่เทคโนโลยีทางเครื่องมือ (Tool technology) มากกว่าเรื่องของระบบ (System technology) หรือวิธีการ ดังเช่นที่ เปรื่อง กุมุท อดีตรองศาสตราจารย์สาขาเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปรียบเทียบความนึกคิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ที่เห็นเพียงส่วนยอดที่น้อยนิด นั่นคือเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ แต่ยังมีฐานอันยิ่งใหญ่ที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำทะเล นั่นคือเรื่องของระบบ หรือเรื่องของวิธีการ (เปรื่อง กุมุท, 2527)  นักการศึกษาจึงต้องมีมโนมติทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ชัดเจน ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์กายภาพ ที่เน้นในเรื่องของเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือต่างๆ ที่วิวัฒนาการตามความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ และในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ที่เน้นในเรื่องของระบบและกระบวนการ

เทคโนโลยีเป็นกระบวนการพลวัตร (Dynamic process) ที่ปรับเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เศรษฐกิจและสังคม

เทคโนโลยีการศึกษาจึงควบคู่ไปกับนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นวิธีการ หรือเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้สูงขึ้น

คุณน้องนิวบอกว่า

 "สร้างสื่อกันขึ้นมาเพื่ออะไร..คำตอบก็คือให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันที่อาจมีวิธีการรับรู้แตกต่างกัน  สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ครูกำลังสอน"   ถูกต้องแล้วนะคะ

หรือที่เรารู้จักกันในคำพูดที่ว่า Learning style  มนุษย์เรามีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน รับรู้ได้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้แล้ว สภาพแวดล้อม สภาพพื้นฐานของผู้เรียน และที่สำคัญ ประสบการณ์ของผู้เรียน แตกต่างกัน ดังนั้น สื่อ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ นอกจากนี้ สิ่งที่ควรคำนึง ถึง ก็คือทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ นะคะ ถ้าเรารู้ว่า มนุษย์มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร เราก็จะสามารถหาวิธีการสอนให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็วขึ้น เข้าใจมากขึ้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตตนเอง

แต่ก่อนอื่น ทุกท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่า  สื่อ ในมุมมองเทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ได้หมายถึง เครื่องฉายแผ่นใส ,CAI  ชุดการสอน ฯลฯ เท่านั้น  หากแต่มีสิ่งอื่นๆ อีก  และการสร้างสื่อ ต้องมาจากฐานการคิดเอาทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ สื่อนั้นจึงจะมีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างแท้จริง

แล้วท่านจะเข้าใจว่าทำไม สื่อ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้

เพิ่มเติมคะ (รีบไปนิดนึง)

.....และการสร้างสื่อ ต้องมาจากฐานการคิดเอาทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ มาร่วมคิด ก่อนที่จะสร้างสื่อ สื่อนั้นจึงจะมีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม  สื่อ 1 ตัว หรือ 1 ชิ้น  ไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ครบทุกด้านหรอกนะคะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมมีข้อจำกัด

เพิ่มเติมอีก นะค่ะ

สมัยก่อน เรามักจะเข้าใจว่า สื่อ คือ เทคโนโลยีทางเครื่องมือ (Tool technology) ก็คือการสอนโดยใช้สื่อ ประกอบการสอน (learning by technology) แต่สมัยใหม่นะคะ ต้องเป็น Learning with Technology หรือ ที่ ทาง มข. มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยีทางปัญญา (Cognitive Tool)

การเรียนการสอนโดยไม่ใช้สื่ออะไรสักตัว แต่มีวิธีการ มีการจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความรู้ ก็เป็น เทคโนโลยีทางการศึกษา แล้วนะค่ะ

อ่านแล้วเครียดกันไม่หนอ

กัลยา เขียนซะยาวเชียว

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนนะ จะรอความคิดทุกท่านกลับมาคะ

เหนื่อยแล้ว จะรออ่านอย่างเดียวแล้ว

         จาก คนสวยกว่า.... (ฝากถึงคุณน้องนิวค่ะ)

ขออภัยอย่างยิ่งคะ อ้างอิงไม่ครบคะ (แบบว่า มีจรรยาบรรณ น่ะคะ)

ขอ้มูลบางส่วน อ่านมาจาก บทความของ...ท่านอาจารย์วสันต์คะ

วสันต์ อติศัพท์, Ph.D.

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา

 

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และสิ่งที่นิวกำลังจะทำก็คือ สร้างกระบวนการ Adaptive ผู้เรียน โดยใช้ "ระบบ"   เป็นตัวแจกจ่าย "วิธีการ"  การเรียนการสอนให้กับผู้เรียนโดยผู้เรียนแต่ละคนจะมีวิธีการเรียนแตกต่างกันไปตามลักษณะวิธีการเรียนของตนเอง 

อันนี้เป็นแนวคิดเฉย ๆ นะคะ กำลังศึกษาอยู่คะ ว่าจะสร้างระบบอย่างไร และต้องเขียนโปรแกรมอย่างไร+ใช้อัลกอริทึ่มอย่างไรคะ  ยากเหมือนกันเหอ ๆ ก็กะว่าจะใช้ความรู้ทางเทคโน+คอมพิวเตอร์เข้ามาผสมกันสร้างระบบฐานข้อมูลขึ้นมา..เพื่อส่งผลย้อนกลับไปยังผุ้เรียน  ซึ่งการส่งผลย้อนกลับไป (Feedback) จะต้องย้อนกลับไปตามลักษณะของผุ้เรียนแต่ละคน ซึ่งมันก็จะต้องมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นสื่อ,วิธีการเรียน,สี,หรือลักษณะการโต้ตอบ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ Interaction ของแต่ละบุคคลที่จะมีกับระบบ  คะ....แต่ตอนนี้เพิ่งเริ่มศึกษาข้อมูลคะ  แล้วก็กำลังจะสร้าง Framework ในการ adaptive ผุ้เรียนคะ  ถ้าอย่างไรก็จะมาขอคำแนะนำจากทุก  ๆท่านนะคะ

 

 

  • อาจารย์ชัยยงค์  พรหมวงศ์ที่มศว ประสานมิตรใช่ไหม
  • ขอบคุณคุณ Kawao และน้องนิวมากครับ
  • ได้ข้อมูลมากเลย ลืมไปว่าเอกเทคโนฯมีหลายคน การบูรณาการโดยใช้ คอมพิวเตอร์กับเทคโนฯที่ไม่ง่ายเลยนะครับ

รักครูมากอยากขอบคุณครูมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท