วันละศีลอด (รายอ)


ไม่ได้เขียนบันทึกหลายวัน และตั้งใจว่าจะเริ่มเขียนใหม่ก็หลังอีด(รายอ) แต่เนื่องจากว่าทุกๆปีจะมีคนถามผมว่าเมื่อไรจะรายอ(อีด)หรือวันละศีลอด จริงๆแล้วคำตอบที่ถูกต้องจริงๆไม่มีใครรู้ ปีนี้ก็เช่นกันไม่มีใครรู้แต่ก็พอบอกเคร่าๆได้ โดยการพยากรณ์ใช้หลักดาราศาสตร์

คิดว่าน่าจะบอกข่าวหรือสิ่งที่ผมพยากรณ์ทางนี้บ้างอาจจะทำให้บางคนได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ก็ทำให้บันทึกนี้เกิดขึ้นมา

วันอีดฟิฏรฺปี ค.ศ.1430

"صُومُوا  لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَإِنْ غُمِّيَ عَلَيْكُمْ فَعُدُّوا ثَلاَثِينَ يَوْمًا"

“พวกเจ้าจงถือศีลอดเมื่อเห็นมัน(ฮิลาล)และละศีลอดเมื่อเห็นมัน แต่ถ้าว่าถูกบัง(ด้วยเมฆหมอก) ก็จงนับให้ครบ 30 วัน” (อัลบุคอรีและมุสลิม)

 

ปี ค.ศ.1430 นี้ วันที่ 19 กันยายน 52 เป็นวันถือศีลอดของเดือนเราะมะฎอนวันที่ 29 จึงเป็นวันที่จะต้องสังเกตดู ฮิลาล ของจันทร์ใหม่ในเย็นวันนั้น

ตามการคำนวณตามหลักดาราศาสตร์ ลักษณะดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ของเย็นวันนั้นจะเป็นดังตอไปนี้

New Moon หรือจันทร์ดับ الإجتماع   จะเกิดขึ้นเวลา 1:45:26 ตามเวลาในประเทศไทย ของวันที่ 19 กันยายน 52

ในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ( 6:34 N, 101.18 E) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะเป็นดังนี้

ดวงอาทิตย์ตกดินเวลา        18 : 13 นาฬิกา

ดวงจันทร์ตกเดินเวลา         18 : 32  นาฬิกา

ดวงจันทร์จะตกดินหลังดวงอาทิตย์ 19 นาที กับ 08 วินาที

ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตกดิน ดวงจันทร์อยู่บนฟ้าและสูงจากขอบฟ้าโดยทำมุมเงย 3.75 องศา และอยู่เยื้องจากดวงอาทิตย์ตกทางซ้ายมือที่มุม 263 องศา

ดวงอาทิตย์จะตกดินเยื้องไปจากทิศตะวันตกเล็กน้อย ที่มุม 271 องศา

อายุของดวงจันทร์ 16 ชั่วโมง 29 นาที

           ลักษณะเช่นนี้ ทำให้โอกาสที่จะทำให้เห็นจันทร์เสี้ยว(ฮิลาล)ในประเทศไทยค่อนข้างยาก และประเทศที่พอจะมีโอกาสได้เห็นบ้าง คือ ประเทศในทวีปอัฟริกาตอนใต้และทวีปอเมริกาใต้

วันอีดฟิฏรฺ عيد الفطر ของปีนี้ น่าจะเป็น  วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 52

 

(ซาอุดิอาราเบีย ดวงอาทิตย์ตกดินก่อนดวงจัน 16 นาที 37 วินาที มุมเงย 3.12 องศา) 

หมายเลขบันทึก: 295690เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สรุปง่ายๆ ว่า น่าจะไม่เห็นใช่มัยครับ ฮิฮิ จะได้ทำใจ

  • ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งครับอาจารย์
  • ความคิด ความรู้สึก คำปรึกษา และคำว่า "อุมมะฮฺที่รออยู่" จะจดจำมันตลอดไปครับ
  • และจะพยายามกลับมาให้เร็วที่สุดครับ อินชาอัลลอฮฺ
  • ดูแลสุขภาพด้วยครับ
  • มีอะไรยินดีเสมอนะครับ
  • ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนคุณความดีครับ

อาจารย์ครับ ทำไมออกอีดวันอาทิตย์ละครับ เพราะทุกสำนักดาราศาสตร์

ต่างฟันธงว่าไม่มีโอกาสเห็นเดือนในวันเสาร์ ที่ 19 กันยายนอะครับ

ช่วยให้ความรู้เป็นวิทยาทานหน่อยครับ ว่าสำนักจุฬาฯ ใช้ฐานอะไรในการประกาศออกอีด

1. โดยการดูเดือนในท้องถิ่น (ประเทศไทย)

2. โดยการดูเดือนในประเทศอื่น (เห็นที่ใหนในโลกก็ออกอีดได้)

3. ออกอีดตามการคำนวณ (วันที่ 19 กันยา นักดาราศาสตร์คำนวณรู้ว่ามีเดือน แต่ไม่มีโอกาสเห็น)

4. ออกอีดตามซาอุดิอาราเบีย (พี่น้องเราบางกลุ่มก็ออกตามนี้ ผมเองก็ว่าคงได้แหละ

เพราะพี่น้องเรากลุ่มนี้ก็เป็นผู้มีความรู้ด้วยกันทั้งสิ้น)

แต่ตัวผมเอง ยอมรับทรรศนะที่ว่าต้องเห็นเดือนในท้องถิ่น (ประเทศ) ของตนเองด้วยตาเปล่า

โดยอาศัยผลการคำนวณมาประกอบเพื่อการดูดวงจันทร์ ครับ

ถ้าสำนักจุฬาฯ ใช้ฐานตามข้อ 1 โดยการดูเดือนในท้องถิ่น (ประเทศไทย)

สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือ

1. พิสูจน์ว่าเห็นจริงหรือเปล่า โดยใคร ที่ใหน น่าเชื่อถือได้หรือไม่

ถ้า ข้อ 1 เป็นจริง เราต้อง ทำ ข้อ 2 ต่อครับ

2. ทบทวนเงื่อนไข (Criteria) โอกาสในการเห็นเดือนใหม่ และต้องบันทึกไว้เป็นสถิติว่า

ปีนี้ประเทศไทย ได้ทำลายสถิติการเห็นเดือน ภายใต้เงื่อนไขที่มีโอกาสเห็นเดือนที่น้อยที่สุดได้

ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการควานหาด้วยกล้องก่อน แล้วค่อยพยายามสังเกตด้วย

ตาเปล่าตามหลักการศาสนา และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงยิ่ง ถึงจะมีโอกาสเห็น

จันทร์เสี้ยวภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวได้

ผมไม่อยากให้เรื่องนี้ทำกันเล่นๆ อยากออกอีดกันแล้ว พอมีใครออกมารับรองว่า

ออกอีดได้ เราจะไม่ตรวจสอบกันเลยหรือว่าถูกต้องหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่อง

อีบาดัตนะครับ ถ้าไม่แน่ใจว่าเห็นจริง เราก็ต้องถือศีลอดอีกวันให้ครบ 30 วัน

แล้วค่อยออกกัน

แต่ถ้าสำนักจุฬาฯ จะใช้เงือนไขอื่น (ข้อ 2-4) ก็ต้องประกาศให้ชัดเพราะ

พี่น้องเราหลายคนอาจยังไม่เข้าใจและไม่ยอมรับเงื่อนไข 2-4

เพราะเท่าที่ทราบพี่น้องเราส่วนใหญ่ยอมรับทรรศนะที่ 1 กัน

(ไม่ได้แปลว่าผมจะเห็นว่าทรรศนะที่ 2-4 ไม่ถูกนะครับ ผมแค่บอกตามความ

เข้าใจของผมเองว่าคนส่วนใหญ่ตามทรรศนะที่ 1)

สลามัตฮารีรายอ เช่นกันครับ และกับทุกคนที่ทักทายมา

ส่วนเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยว การกำหนดวันถือศีลอดและการละศีลอด ไม่เป็นไปตามการคำนวณของนักดาราศาสตร์ ผมก็ได้ตอบไปบ้างแล้วในบันทึกที่เขียนหลังจากบันทึกนี้

http://gotoknow.org/blog/raya/299189

สรุป คือ ทำใจ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท