ครูกับภาระงานที่ไมใช่การสอน..เป็นตัวฉุดการศึกษาไทย..ครู ๆ ทั้งหลายเห็นด้วยหรือเปล่าครับแสดงความคิดเห็นได้ครับ


การศึกษาน่าเบื่อ

วิพากษ์การศึกษาไทย:"ความชั่วร้ายที่จำเป็น" ในแวดวงการศึกษาไทย

การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่จึง จำเป็นต้องตั้งโจทย์สำคัญเพิ่มเติมว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถขจัดวัฒนธรรมทางความคิดที่สนับสนุนให้ "ความชั่วร้ายที่จำเป็น" ดำรงอยู่ในแวดวงการศึกษาของบ้านเรา ให้หมดไปได้

วันนี้เปิดอ่านบทความที่น่าสนใจ......

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์หัวหิน



คำ ว่า "ความชั่วร้ายที่จำเป็น" มีนิยามเฉพาะในบทความนี้ว่า หมายถึง "สิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่คนทำกันจนเป็นเรื่องปกติ และผู้กระทำเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ" ในแวดวงการศึกษาของบ้านเราความชั่วร้ายในความหมายดังกล่าวนี้มีอยู่มาก เช่น.-

ธุรกิจการศึกษาที่แข่งขันกันเปิดหลักสูตรต่างๆ ในระดับปริญญาตรี โท เอก ที่เน้นการเรียนง่าย จบง่าย ถ้าจ่ายคล่อง ค่านิยมที่เรียนเพื่อเอาใบปริญญาไว้แขวนคอ ไม่สนใจความรู้จริง รู้กว้าง รู้ลึก ผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่ง เรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก แต่จ้างคนอื่นหรือจ้างลูกน้อง (ด้วยเงินบ้าง ด้วยการให้ 2 ขั้นบ้าง) ทำงานส่งอาจารย์ทำวิจัย หรือทำวิทยานิพนธ์แทน

อาจารย์มหาวิทยาลัยหา กินกับการรับจ้างทำวิจัยกับหน่วยงานราชการและเอกชน โดยมีการวางเครือข่ายเส้นสายจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน นั้นๆ เพื่อให้ได้งบฯวิจัยก้อนโต นักวิชาการและผู้บริหารในมหาวิทยาลัยที่มี "นิสัย" เปลี่ยนสีเปลี่ยนจุดยืนไปตามการเปลี่ยนขั้วอำนาจรัฐ

การจ้างคนอื่นทำ ผลงานทางวิชาการ เช่น ทำครู ค.ศ.3, ครู ค.ศ.4 ทำ ผศ. รศ. การวิ่งเต้นจ่ายเงินแก่กรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ การซื้อตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา การเมืองในมหาวิทยาลัยที่มีการเล่นพรรคเล่นพวก ผูกขาดอำนาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น ตั้งแต่โกงตำราเรียน นมโรงเรียน งบฯก่อสร้าง ฯลฯ

คน ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะสนใจสอดส่ายสายตาหาความผิดเหล่านั้นหรือไม่ จะเป็นนักตรวจสอบหรือไม่ก็ตาม ทุกคนย่อมรู้ว่าความชั่วร้ายต่างๆ เป็นต้นที่ยกมานั้น มีอยู่จริงในแวดวงการศึกษาทั้งกรณีที่เราเห็นๆ กันตำตา เล่าปากต่อปาก หรือที่ตกเป็นข่าวทางสื่อมวลชน

ยิ่งไปกว่านั้น เราที่อยู่ในแวดวงการศึกษาต่างเคยได้ยินได้ฟังตรรกะที่สนับสนุนว่า ความชั่วร้ายเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติหรือเป็นสิ่งที่ควรทำหรือจำเป็นต้องทำ เช่น เรื่องแบบนี้ใครๆ เขาก็ทำกัน ถ้าไม่ทำก็ไม่ทันกิน เรียนจบไปแล้วสิ่งที่คนรับรู้คือคุณจบปริญญาอะไร ไม่มีใครสนใจหรอกว่าคุณเรียนจบอย่างมีคุณภาพแค่ไหน คุณภาพ อุดมการณ์ กินได้ที่ไหนเล่า แต่ถ้ามีตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ผศ., รศ., ศ. (หรือ ดร.) นำหน้าชื่อ หรือมีตำแหน่งผู้บริหาร มันกินไม่ได้ มันมีเกียรติที่จับต้องได้ ฯลฯ

ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือ ให้ได้อะไรที่มันกินได้ เกียรติที่จับต้องได้ จะใช้วิธีการอย่างไรก็ได้

จะ เห็นได้ว่า วัฒนธรรมทางความคิดที่ว่า "เป้าหมายที่ต้องการเป็นสิ่งตัดสินความถูกต้องของวิธีการ" และวิธีอ้างเหตุผลที่ว่า "เรื่องแบบนี้ใครๆ เขาก็ทำกัน" ทำให้เกิดมาตรฐานการตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงถูก/ผิด มีความคิดกันว่าถูก/ผิดไม่มีอยู่จริง มีแต่สิ่งที่เราทำและไม่ได้ทำ หรือมีแต่สิ่งที่ทำแล้วได้ประโยชน์กับสิ่งที่ทำแล้วไม่ได้หรือเสียประโยชน์ เท่านั้น

วัฒนธรรมทางความคิดหรือวิธีคิดดังกล่าว ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความชั่วร้ายที่จำเป็น" ในแวดวงการศึกษาของบ้านเรา และการที่ความชั่วร้ายที่จำเป็นมันหยั่งรากลึก แผ่กิ่งก้านสาขามากขึ้นเรื่อยๆ จึงส่งผลให้เกิดความเสียหายทางการศึกษาของชาติ อย่างน้อย 3 ประการ คือ

1. ธุรกิจการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว แข่งขันกันแย่งลูกค้าอย่างเข้มข้น แต่คุณภาพการศึกษาแย่ลง ทำให้ "ปริญญาชน" เฟ้อ แต่ขาดแคลน "ปัญญาชน" ที่มีจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ (academic spirit) คงแก่เรียน มีอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม เป็นมันสมองของชุมชน สังคม ประเทศชาติ

2. สถาบันการศึกษาขาดการสร้างพลังท้าทายทางปัญญา เช่น สร้างความโดดเด่นเป็นแรงจูงใจทำให้คนอยากมาเรียนในสถาบันแห่งนี้ เพราะเป็นสถาบันที่เข้มงวดเรื่องคุณภาพ เข้ายาก เรียนหนัก จบยาก เพราะต้องมีคุณภาพจริงๆ จึงจบได้ มีแต่ว่าทุกสถาบันต่างแข่งกันสร้างจุดขาย "เรียนง่าย จบง่าย ถ้าจ่ายคล่อง"

3. สถาบันการศึกษาล้มเหลวในการสร้างพลังความกล้าหาญทางจริยธรรมและการส่งเสริม วัฒนธรรมประชาธิปไตย เพราะมากไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น การซื้อตำแหน่ง จ้างทำผลงานวิชาการ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมอำนาจนิยม อุปถัมภ์นิยม พรรคพวกนิยม การสืบทอดอำนาจแบบ "ทายาทอสูร" เอาไว้อย่างมั่นคง

ถ้า เป็นความจริงว่า สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพคนทั้งในด้านความรู้ความ สามารถ ทักษะอาชีพ จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ฯลฯ แต่ทว่าสถาบันการศึกษากลับเป็นสถาบันซึ่งดำรง "ความชั่วร้ายที่จำเป็น" ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและมีแนวโน้มจะแผ่ขยายมากขึ้นเช่นนี้ สังคมไทยจะหวังพึ่งสถาบันใดได้อีกเล่า

การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่จึง จำเป็นต้องตั้งโจทย์สำคัญเพิ่มเติมว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถขจัดวัฒนธรรมทางความคิดที่สนับสนุนให้ "ความชั่วร้ายที่จำเป็น" ดำรงอยู่ในแวดวงการศึกษาของบ้านเรา ให้หมดไปได้


ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 5 - วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432

อ้างอิงจาก http://www.kruthai.info/board02_/show.php?Category=vipak&No=147

ทุกท่านคิดอย่างไรครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #วิพากษ์บทความ
หมายเลขบันทึก: 295240เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมรวบรวมการแสดงความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาระงานนอกจากการสอน คงสะท้อนอะไรให้กับผู้ที่รับผิดชอบได้คิดหน่อยนะครับ......เพราะเป็นข้อมูลจากผู้ปฏิบัติจริงๆ

ความคิดเห็นที่ 1

ที่โรงเรียนมีครู 7 คน งานวันนี้จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 10 วันทำไม่เสร็จแน่วิ่งหาข้อมูลยุ่ง ทำอาหารกลางวัน ทำข้อมูล smis ข้อมูล obec ข้อมูล mis ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตอนบ่ายซ้อมกีฬา ฯลฯ ไม่ต้องสอน กลับถึงบ้านกรอกข้อมูล smis กรอกถึง 01.30 น.ได้แค่ 3 คนกรอกหาย กรอกหาย ชวิตครู พรุ่งนี้ ผอ.บอกต้องทำหลักสูตรใหม่อีก 3 เดือนไม่รู้เสร็จเปล่า บอก ผอ. ไม่ต้องทำหลักสูตร สอนตามหนังสือที่เขาให้มา ที่ทำรอบก่อนก็ยังใหม่เอี่ยมอีก .... อุเบกขา... เสียเถอะ

ความเห็นที่ 2

ท่านกษมาเจ้าขา ครูน่าที่จะมีหน้าที่แค่ให้ความรู้เด็ก ชี้แนะการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็ก เก่ง ดี มีสุข อยู่รอดในสังคมปัจจุบัน และอนาคต พอแล้ว งานอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับเด็กก็ให้ผู้บริหาร ศน.เขตพื้นที่ ท่านรองผอ.เขต ทำสิคะ รับรองเด็ก เก่ง ดี มีความสุขแน่นอน สอน มา 30 กว่าปี วิเคราะห์ดีที่สุดแล้วขอแนะนำบ้าง ลองเชื่อครูผู้มีประสบการณ์ ดูสังครั้ง รับรองไม่เสียใจแน่ ครูมีเฮ เด็กร้องโห่ ท่านกษมาสุขใจ ชัวร์

ความคิดเห็นที่ 3

เห็นด้วยกับครูการเงิน ดิฉันสิทั้งการเงินทั้งพัสดุ ทั้ง Obec Smis P- obec M - obec อะไรที่เกี่ยวกับการใช้คอมฯลงที่เราหมด มิหนำซ้ำ ของบซื้อ Note BooK กลับไม่อนุมัติ (ผอ.บ้า ๆ คิดสั้น ๆ ) เราก็ต้องซื้อเอง ดีนะที่ไม่ต้องผ่อน ซื้อแม่ง มันเงินสดเลยอีกเดือนหน้าก็จะจำหน่ายพัสดุแล้ว มันน่าจะมีโครงการจำหน่าย ผอ. บ้าง สอนเด็กก็สอนสองห้องควบ ป.1 ป.2 นี่ถ้าอายุสัก 55 จะขอเออรี่ซะเลย (อยากอายุมากก็ตอนนี้แหละ เหลืออีตั้งหลายปี) คุณภาพการศึกษารัฐบาลก็ต้องการ จะเอาไรมาได้ งานครูเยอะอย่างนี้ อยากขอเชิญพวกที่อยู่ในห้องแอร์ไอ้ที่เดินเหยียบเล็บกันอยู่หนะ มันลงมาสอนดูบ้าง หรือไม่งั้นก็มีนโยบายใหม่ลงมาบ้าง ให้ครูทำการสอนอย่างเดียวซะ ไอ้ครูธุรการ จ้างมันมาทำหอกอะไร งานพัสดุการเงินก็ช่วยเราไม่ได้ ทำไมไม่จ้างให้ตายตัวไปเลย บรรจุให้เขาเลย โรงเรียนละ 1 คน ให้ทำงานตรงนี้แบ่งภาระครูไปบ้าง ไม่ต้องลงมาสอนหรอก

ความคิดเห็นที่ 4

เออ..แล้วระบบ smis และ obec อยากรู้จริงๆใครมันคิดขึ้นมาว่ะไม่เห็นจะได้เรื่องเลย ระบบห่วยมากๆขอบอกน่าจะปรับปรุงให้มันกระทัดรัดกว่านี้

ความคิดเห็นของเพื่อน ๆ เป็นอย่าไรบ้างครับ

โรงเรียนผมได้รับรางวัลมาหมดแล้วในโลกของการประกวด หรือการประเมินเกี่ยวกับโรงเรียน(ตามที่สพฐ.กำหนดขึ้น)โดยท่านคิดว่าถ้าได้รับรางวัลเหล่านี้แล้วจะทำให้โรงเรียนเกิดการยอมรับและมีชื่อเสียง...

*รางวัลโรงเรียนพระราชทาน

*รางวัลโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง

*รางวัลโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ ระดับประเทศ

*รางวัลนักเรียนพระราชทาน

*โรงเรียนส่งเสริมคุณภาพ 3 ปีซ้อน(ระดับเหรียญทอง)

*ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาจาก สมศ.(ที่คิดว่าเมื่อมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกแล้วจะเป็นหลักประกันว่าการศึกษาจะพัฒนาหรือทำให้ระบบการศึกษาไทยก้าวหน้า..โถคิดผิด..เพราะท่านกำลังประเมินกับระบบการศึกษาไทยที่ครูทุกคนร่วมทั้งผู้บริหารเป็นคนไทย..ที่เด่นมากเรื่องการเตรียมเอกสาร สำหรับการประเมิน..การใช้ผักชีในการโรยหน้าหรือแม้แต่ผู้ที่มาประเมินก็มีมาตร๋ฐานการประเมินที่ไม่เหมือนกันเลย

ถามว่าวันนี้โรงเรียนผมได้อะไรได้รางวัลที่โรงเรียนไม่ได้..หน้าที่หลักของครูคืออะไรสอน.นักเรียนให้เป็นคนที่ดีเอาตัวรอดในสังคม สอนให้เด็กมีคุณธรรมและจริยธรรมแต่วันนี้เวลาที่ท่านจะประเมินเพื่อรับเงินวิทยฐานะ(ท่านคิดขึ้นมาเองอีกแล้วโดยผ่านทางกฏหมาย)บอกว่าการประเมินจะยึดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระประกอบในการพิจารณาการส่งผลงานเข้าพิจารณาแต่อยากถามว่ารางวัลที่ได้ขนาดนี้..เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก..ทุกวันทำแต่เอกสารการประเมิน.เตรียมประเมินนั้นประเมินนี้ เอกสารทุกอย่างมันงอกขึ้นมาเองก็คงจะดี..แต่มันเอาเวลาสอนของครูไปทำงานแบบนี้ผมไม่ได้โทษผอ.หรือรอง หรือโคร ๆ ทีเกี่ยวข้องกับการประกวด แต่ผมอย่างถามผู้ที่เกี่ยวข้องว่างานการประกวดแบบนี้เป้นตัวที่ทำลายวงการศึกษาไทยอย่างยิ่งทุกวันนี้เด็กอ่านหนังสือไม่ออกมีแนวโน้มที่เพิ่มทุกปี....ผมเรียนมาจากหลักสูตร 21 ปรับปรุง 33ทำไม่ผมยังอ่านออกและเขียนได้คล่องกว่าเด็กในปัจจุบันเมื่อเทียบกับระดับชั้นเดียวกันทั้ง ๆ ที่สื่อหรือเทคโนฯทางการศึกษาเทียบไม่ได้เลยในปัจจุบัน...ผมอยากให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาช่วยทำโครงการคืนครูให้กับนักเรียนเป็นโครงการที่อย่าหาเสียงหรือแก้ปัญหาการตกงานของนักศึกษาและตั้งโครงการซะหรู....ช่วยเอารางวัลที่ท่านตั้งขึ้นมากลับไปที่กระทรวงที่เถอะผมเบื่อเต็มที่แล้ว....เบื่อที่จะทำเอกสารผมอยากสอน...อยากสอนครับเพราะผมเป็นครู ครูมีหน้าที่ต้องสอน..

การศึกษาของไทยเราเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อไหร่ครูจะมีหน้าที่สอน สอน และก็สอนอย่างเดียว

สงสารเจ้านายใหญ่ เบื้องบนนะคะ ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด นั่งให้เขาหลอกอยู่ได้....ซ้ำแล้วซ้ำอีก

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยน

code.... อาจารย์มหาวิทยาลัยหา กินกับการรับจ้างทำวิจัยกับหน่วยงานราชการและเอกชน โดยมีการวางเครือข่ายเส้นสายจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน นั้นๆ เพื่อให้ได้งบฯวิจัยก้อนโต นักวิชาการและผู้บริหารในมหาวิทยาลัยที่มี "นิสัย" เปลี่ยนสีเปลี่ยนจุดยืนไปตามการเปลี่ยนขั้วอำนาจรัฐ

ครูอ้อย เคยอ่าน บทความ ที่เสียดสี ว่ากล่าว ครูว่าจ้างการทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับ  มามากแล้ว  วันนี้  ได้อ่าน บทความที่ว่ากล่าว ครูระดับมหาวิทยาลัย บ้าง ....แลกเปลี่ยนกัน 

เท่ากันแล้วนะ  ครูอ้อยคิด 

แต่ ไม่เท่ากันหรอก  คิดดูว่า  ฝ่ายไหน ทำแล้ว มีผลเสียมากกว่า กัน

ทำอย่างไรเราจึงจะเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้สอน มาเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท