พระพุทธเจ้า..........นักวิทยาศาสตร์


พระพุทธเจ้า ทรงเป็นเช่นนักวิทยาศาสตร์ เพราะคำสอนจะเป็นเหตุและผลไม่สอนให้คนงมงาย เช่นทำดีก็ต้องได้รับผลดี

 แลกเปลี่ยน...............เรียนรู้ธรรมะ
             พระพุทธเจ้า ทรงเป็นเช่นนักวิทยาศาสตร์ เพราะคำสอนจะเป็นเหตุและผลไม่สอนให้คนงมงาย  เช่นทำดีก็ต้องได้รับผลดี เพียงแต่ผู้ทำดีตั้งจิตหวังมากเกินความเป็นจริงซึ่งไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ เช่นทำ 10 แต่ต้องการ 100  ก็จะเกิดทุกข์แล้วก็จะบ่นกล่าวว่าทำดีไม่ได้ดี     หลักธรรมคำสอนที่ใช้ในการสั่งสอนผู้คนมีมากมายตัวอย่างเช่น อริยสัจ  4  ความจริง 4 ประการที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ  ทุกข์   สมุทัย  นิโรธ  มรรค
1. ทุกข์  คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนต้องประสบพบเจอในช่วงชีวิตจนกว่าจะดับสูญ
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์    แต่ถ้าเราสามารถคิดพิจารณาให้เห็นถึงที่มาที่ไปของต้นเหตุของทุกข์ได้โดยการตั้งมั่นและมีสติ   ก็จะไม่ตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์  เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุและทุกข์ก็นำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค  คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้า
              คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เห็นชัดเจนอยู่แต่ว่าใครจะเข้าใจในหลักธรรมของพระองค์มากน้อยแค่ไหนถ้าเราเป็นชาวพุทธทั้งกายใจควรจะศึกษาธรรมะให้เข้าใจและจะไม่เกิดความโลภจากการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
   
เรียนธรรมะ
เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ
จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกินคาดหวัง
อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง
เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย

เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ
เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย
เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย
ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง

ต้องตั้งต้น การเรียน ที่หู,ตา ฯลฯ
สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง
ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง
"เรียนรู้ยิง ตัณหาดับ นับว่าพอ" ฯ

พุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 294119เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท