แปลบทความ Dumb Money


ข้อแนะนำสำหรับเหล่าประเทศที่กำลังสูญเงินไปเปล่าๆ กับโรงเรียน

  ผมได้รับบทความภาษาอังกฤษจากอาจารย์วิจารณ์  เนื่องจากหาบทความนี้ที่ได้รับการแปลไว้ไม่ได้จึงต้องแปลเองและย่อเอง คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการบันทึกไว้ให้ได้อ่านกัน ถ้ามีผิดพลาดบ้างต้องขออภัยด้วย

ส่วนบทความภาษาอังกฤษหาอ่านได้ที่นี่ Dumb Money by Stefan Theil / Newsweek Web Exclusive Aug 1, 2009.

 


 

สามล้อถูกหวย (Dumb Money: การใช้เงินอย่างไม่ฉลาดนัก) โดย สเตฟาน ทริล

   "ถ้าเราต้องการให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งอีกครั้ง สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำได้คือ การมีแรงงานมีการศึกษา" เป็นสิ่งที่อธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน 1 แสนล้านเหรียญ US ไปกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ของเลขาธิการกระทรวงศึกษา Arne Duncan และแน่นอน หลายประเทศทั้ง อังกฤษ, เยอรมันนี, แคนนาดา, จีน และอีกหลายประเทศ กำลังใช้เงินอุดหนุนการสร้างการศึกษาใหม่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธในการต่อต้านวิกฤติ

  แต่สิ่งที่บอกได้ยากคือเงินไปอยู่ทีไหน ไปในที่ที่ต้องการมากที่สุดหรือแต่เป็นแค่การจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคม เช่น เยอรมันนีใช้เงินไปกับการสร้างโรงเรียนใหม่ ปรับปรุงโรงเรียน ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ได้สร้างผลทางการปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษา อังกฤษพยายามให้โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์และเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ในโรงเรียน (เป็นนโยบายที่นักการศึกษาตัดสินว่าไม่ถูกจุด)   รัฐบาลอเมริกาตรวจสอบพบว่าโรงเรียนหลายแห่งไม่ได้ใช้เงินเพื่ิอนักเรียน แต่กลับใช้เงินนี้เพื่ออุดหนุนโรงเรียนเอง  หลายประเทศใช้เงินสร้างมหาวิทยาลัยระดับโลกแ่ห่งใหม่ (ซึ่ง World Bank ศึกษาพบว่า โครงการเหล่านี้จะยิ่งดูดทรัพยากรและเงิน  ออกจากแหล่งที่ขาดแคลนทรัพยากรและิเงินทุนอยู่แล้ว) "ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขารู้ตัวไหมว่าเรื่องที่ตัดสินใจไปมันจะมีสิ่งที่สูญเสียแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น" Jamil Salmi

   จากการศึกษาตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ Andreas Schleicher พบว่า "ทุกประเทศมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการใช้เงินสูญเปล่าอย่างไร้ประสิทธิภาพไปกับการศึกษาอย่างเห็นได้ชัด สูญเสียมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากวิกฤติการทางการเงิน" ที่แย่กว่านั้นคือ หลายประเทศเสียเงินให้กับความผิดพลาดแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าปีต่อปี

   ความบกพร่องที่ใหญ่ที่สุดคือพยายามผลักดันอย่างมาก (อย่างคนตาบอด) ที่จะทำให้ทุกสิ่งในทุกระดับการศึกษาดีขึ้น เช่น ครูมากขึ้น สิ่งหรูหร่าอำนวยความสะดวก มีเทคโนโลยีในห้องเรียน และมหาวิทยาลัยชั้นนำ   ซาอุดิอารเบียเป็นตัวอย่างของการใช้เงินถึง 1.3 หมื่นล้านเหรียญ ไปกับโรงเรียนเพียงหนึ่งแห่ง  ผลการวิจัยที่ Munich's IFO Institute and Stanford พบว่าการใช้เงินมากไปกับการศึกษาไม่ได้ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของเด็กดีขึ้นตามไปด้วย  เด็กๆ ไม่ได้จำเป็นต้องเรียนให้มากขึ้นในโรงเรียนที่ทันสมัยกว่าและมีอุปกรณ์ดีกว่า เมื่อเทียบกับการเรียนในห้องเรียนเล็กๆ  หรือว่าจะเรียนได้มากกว่าถ้าครูของเขาได้รับเงินจ้างมากขึ้น  สรุปว่าแทบจะไม่มีผลลัพธ์อะไรดีขึ้นเลยในนักเรียนแต่ละคนเทียบกับค่าใช้จ่าย   อเมริกา, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี ใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาแต่ก็เพียงได้เห็นว่าไม่มีประสิทธิภาพอะไรเปลี่ยนแปลง (หยุดนิ่ง/stagnate)   ขณะที่หลายประเทศอย่าง ฟินแลนด์และสวีเดน มีการพัฒนาคุณภาพอย่างมากผ่านการปรับปรุงโครงสร้าง (โครงสร้างทางการศึกษา)

   แม้แต่การสร้างมหาวิทยาลัยที่ดีขึ้นก็ยังมีผลตอบสนองต่ำกว่าที่ใครจะคาดคิด  Peer Ederer กล่าวว่า "ปัญหาใหญ่ที่สุดในระบบมหาวิทยาลัยที่พบในปัจจุบันคือ อัตตราการเลิกเรียนกลางคัน (ถอนวิชาเรียน) เกิดขึ้นสูงมากและจำนวนทักษะเพียงเล็กน้อย (สองสามเรื่อง) ที่ถูกสอนแล้วใช้ได้ในการทำอาชีพในภายหลัง และปัญหาเหล่านี้ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวถึงน้อยมาก (ในวัตถุประสงค์หรือเพื่อระบุการใช้เงิน)  ความสนใจส่วนมาไปอยู่ที่ความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนนักเรียน หรือยกระดับสถานศึกษาให้ไปอยู่ในระดับนานาชาติ"  Salmi กล่าวว่า "จะดีกว่านี้ ถ้าทรัพยากรมากมายที่กำลังถูกใช้ไปในการสร้างโรงเรียนชั้นนำ ถูกใช้ในการขยายและปรับปรุงสิ่งอื่น  อย่างเช่น โปรแกรมการสอนวิศวะกรรมที่ล้าสมัยของโรงเรียนเทคนิค" (Polytechnics/โรงเรียนช่างกล, ช่างเทคนิค)  ดูเหมือนว่าที่ปรึกษาของประธานาธิปดี Obama จะได้รับฟังสิ่งนี้ จึงได้ออกค่าใช้จ่าย 1.2 หมื่นล้านเหรียญ ในโครงการ 2 ปี เพื่อปรับปรุงโรงเรียนในชุมชน แต่สุดท้ายเงินที่ใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็สูญไปกับการช่วยแค่เพียงเติมเม็ดเงินงบประมาณที่โรงเรียนทั้งหมดขาดแคลนอยู่

   McKinsey ศึกษาและเสนอแนะประเด็นสำคัญว่า นโยบายทางการศึกษาต้องถูกปรับจุดมุ่งหมายใหม่ (refocus)  ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ได้มาจากการทุ่มเงิน (funneling) มากขึ้น  ให้กับผู้ที่ทำงานได้ผลในระดับดีมากหรือระดับกลาง แต่เป็นการทุ่มให้กับผู้ที่ถูกลืมอยู่ข้างหลัง (สถานศึกษาที่ด้อยกว่า) ารสนับสนุนให้ผู้ที่ขาดทักษะและถูกกีดกัน ไม่เพียงนำไปสู่ผลตอบแทนเพียงรายบุคคล (เช่น รายได้สูงขึ้น ชีวิตมีความหมายมากขึ้น)  (เช่น สร้างผลผลิตได้มากขึ้น  มี GDP สูงขึ้น)  แต่จะช่วยสร้างผลประโยชน์อย่างมากกับเศรษฐกิจมันจะขยายไปสู่ผลที่สังคมจะได้รับมากขึ้น คือ ระดับอาชญากรรมน้อยลง ค่าใช้จ่ายทางสวัสดิการต่ำลง และความรู้สึกเท่าเทียมเป็นกลุ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น (สามัคคี/sense of cohesion)  Benjamin Friedman กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงการศึกษาในวิถีทางนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่หนทางที่ภาครัฐสามารถสนับสนุนทั้ง ความเท่าเทียมกันและความเจริญทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่การจ่ายสิ่งหนึ่งด้วยสิ่งหนึ่ง (จ่ายเงินเพื่อจะพัฒนาการศึกษาแต่ทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ)

   แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย (เมื่อดูจากตัวอย่างประวัติการพัฒนาของเมือง Washington, สหรัฐอเมริกา) สิ่งหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเห็นพ้องกันได้คือ การแทรกแซงระบบแต่เนิ่นๆ ให้ผลดีกว่า   เยอรมันนีเป็นประเทศที่ไม่ให้โอกาสกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมและผู้อพยพได้เข้าถึงการศึกษา  Katharina Spiess ศึกษาพบว่า ถ้าสามารถนำเด็กผู้ลี้ภัยมาเข้าโรงเรียนอนุบาลได้ กว่า 25% ของพวกเขาจะอยากเข้าเรียนในระดับที่สูงขี้น

   นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก James Heckman ประมาณว่าแผนการศึกษาระดับก่อนเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสมีค่าใช้จ่าย 1 หมื่้นเหรียญต่อคนต่อปี (ไม่ใช่ถูกแต่ก็ไม่ได้แพงอะไร) แต่จะสามารถสร้างผลลัพธ์คืน 16% ต่อปี  1ใน4 ของผลที่ได้ไปสู่เด็กๆ ที่ดูเหมือนว่าจะได้ผลการเรียนที่ดีขึ้น เข้าเรียนต่อจนได้รับอนุปริญญา และเข้าเรียนต่อวิทยาลัย  มีความสุขกับรายได้ที่สูงขึ้นในชีวิต  แต่ 3ใน4 ของผลที่ได้ไปอยู่กับสังคม  ในรูปแบบของอัตราเกิดอาชญากรรมต่ำลง ค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการน้อยลง และผลผลิตทางเศรษฐศาสตร์ที่มากขึ้น  เช่นเดียวกัน ผู้อพยพและชนกลุ่มน้อยดีขึ้น (อันนี้ไม่ทราบดีขึ้นด้านใด ปริมาณคนหรือการศึกษา)  "การพยายามเยียวยาจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่ามากและโดยมากไม่สำฤทธิ์ผล"    แต่หลายระบบโรงเรียนในโลกพยายามที่จะ "แก้ไข" ปัญหาของ (คน) ขาดทักษะและไร้การศึกษาเมื่อมันสายเกินแก้ ด้วยการจ่ายสวัสดิการสังคม การศึกษานอกโรงเรียนเทียบเท่า  หรือโรงเรียนระดับล่างสำหรับฝึกหัดงานคนรับใช้

   นโยบายทางสังคมที่ค่อนข้างแล้งน้ำใจแต่ทำให้สามารถแข่งขันได้ทางเศรษฐกิจ คือ การกีดกัน (เข้าใจว่าเป็นการกีดกันทางการศึกษาครับ ขออภัยหากผิดพลาด) ประเทศหนึ่งที่ผลักดันด้านนี้อย่างเป็นระบบคือ แคนนาดา ซึ่งมีคลื่นผู้อพยพขนาดใหญ่ในปี 1990    มา่กกว่า 40% ของเด็กนักเรียนในเมืองโตรอนโต้พูดภาษาของพ่อแม่มากว่าภาษาอังกฤษ และกว่า 1ใน3 มาจากสังคมที่ครอบครัวด้อยโอกาส  ระบบโรงเรียนทั้งหมดจึงมุ่งเน้นที่การให้การศึกษากับเด็กเหล่านี้ให้อยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด  แม้ว่าติดขัดที่อัตราการเลิกเรียนมีสูงมากในคนบางกลุ่ม  โตรอนโต้ก็ประสบความสำเร็จในการลดความแตกต่างระหว่างคนท้องถิ่นกับผู้อพยพได้  ซึ่งตรงข้ามกับ เยอรมันนีและฝรั่งเศส ที่ช่องว่างยิ่งเพิ่มมากขึ้น  นี่เป็นหนึ่งเหตุผลว่า  ทำไมนักเรียนแคนนาดามักจะได้คะแนนสอบข้อสอบนานาชาติในระดับสูง

   (เ้จ้าของบทความ) ดูเหมือนว่าสิ่งที่พูดถึงนี้จะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว คำถามคือ ประเทศต่างๆไม่ได้รู้เรื่องนี้อยู่แล้วหรือ  คำตอบหนึ่งคือการระบุว่าการใช้เงินไปกับศึกษาประเภทใดที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์อย่างระเอียดรอบคอบและใกล้ชิด ยกตัวอย่างการทดสอบ "value added" "มูลค่าเพิ่ม" คือ ทดสอบดูความก้าวหน้าว่าเด็กก่อนเข้าเรียนจนกระทั่งเมื่อออกจากโรงเรียนได้รับอะไรเพิ่มเติม  แต่ความเป็นจริงคือสถานศึกษาจะยอมรับผลของเด็กที่เก่งอยู่แล้ว รับเด็กเก่งเข้าเรียนเพื่อผลการเรียนที่ได้จะดี (อย่างไม่ต้องสงสัย)

   เมื่อเปลี่ยนไปเน้นการวัดผลจากสิ่งที่ทำได้จากเอกสาร (ผลการสอบ)  ไปสู่การวัดสิ่งที่ได้รับเพิ่มขึ้น (เทียบก่อนและหลัง)    ผลที่ได้น่าตกใจ  คือพบว่าจากตัวอย่างโรงเรียนที่จัดอยู่ในระดับดีที่สุดแห่งหนึ่ง  ทักษะของนักเรียนที่มีผลการเรียนต่างระดับกันจะแตกต่างกันอย่างมาก  ขณะที่โรงเรียนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าจะสามารถยกระดับความสามารถให้แก่เด็กได้ดีกว่า   (เปรียบเทียบความสามารถทำได้จากที่ไม่เคยทำได้ในตอนเริ่ม)  ผลการวิเคราะห์อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจ  แต่เป็นสิ่งที่สำคัญ  เมื่อครั้งหนึ่ง โรงเรียนและแผนการเรียนการสอน (เป็นสิ่ง) ที่เคยทำให้เห็นถึงความก้าวหน้า (ของการศึกษา) อาจถูกเพ่งเล็งเรื่องการใช้เงินไปกับวิธีการซ้ำเดิม

   ขั้นต่อไปคืออาจเป็นการระบุว่าครูแต่ละคนตั้งใจสอนนักเรียนที่สุด Eric Hanushek กล่าวว่า "ลืมเรื่องขนาดของห้องเรียน  หลักสูตร และงบประมาณไปก่อน  จะพบว่านโยบายที่ให้ผลมากที่สุดคือ ครูดี"  OECD ศึกษาพบว่า  มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก ในการใช้เงินกับผลการเรียนในเด็กก่อนวัยเรียน  คุณภาพของครูมีผลกระทบมากกว่าเงิน คุณภาพครูสร้างความแตกต่าง  นักเรียนที่ถูกสอนโดยอาจารย์ที่มีคุณภาพในระดับท้ายๆ 10% โดยเฉลี่ยจะมีเพียง 50%ของเด็กเท่านั้นที่พัฒนาขึ้น  ขณะที่ครูที่ดีทีสุด (ไม่ได้ระบุว่าดีอย่างไร นิสัยดี หรือสอนได้ดี) จะพัฒนาเด็กได้ 150% (แม้ว่าจะศึกษาเปรียบเทียบในโรงเรียนและนักเรียน ทั้งที่คุณภาพดีและไม่ดีแล้ว)  จากตัวอย่างของฟินแลนด์และเกาหลีใต้ที่มีนักเรียนในระดับมัธยมมีผลการสอบมากที่สุดในโลก  ส่วนมากคือการมุ่งเน้นครูอาจารย์ เช่น ปรับปรุงการเลือกเฟ้นคน เพิ่มการอบรม เน้นที่ทำอย่างไรที่ครูจะช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เรียนต่อ

   แล้วทำไมประเทศอื่นจึงไม่ทำตาม  คำตอบคือการเมือง  การใช้จ่ายเงินไปกับการสร้างโรงเรียนระดับกลางหรือชั้นยอดเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากกว่าการเอางบประมาณที่ไม่เพียงพอไปใช้กับผู้อพยพและคนชั้นล่าง  ผู้ปกครองและสหภาพครูก็ชื่นชอบนโยบายที่ไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นล่างและการจ้างครูเพิ่มขึ้น เหตุผลหนึ่งไปกว่านั้นคือผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ดึงดูดคนโดยสัญชาตญาณ อย่างเช่นห้องเรียนที่สวยงามขึ้นและความหนาแน่นน้อยลงบ่อยครั้งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนกว่าการมุ่งเน้นไปที่ระดับก่อนเข้าโรงเรียนซึ่งอาจไม่ให้ผลตอบแทน (ผลทางการเงิน/dividend) เลยตลอด 20 ปี

   บ่อยครั้งที่สหภาพครูเป็นตัวขัดขวางระบบ ตัวอย่างเช่น  กระทรวงศึกษาอังกฤษ พยายามริเริ่มที่จะใช้ value-added testing (การสอบความรู้่ที่ได้เพิ่มขึ้น) กลับไม่สามารถผ่านการกีดกันจากครูและโรงเรียน  จนกระทั่งมีกฏหมายออกมาให้ใช้เพื่อวัดผลการกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ     เช่นเดียวกันในเบลเยี่ยมและเยอรมันนี ที่การวัดผลประสิทธิภาพของโรงเรียนหรืออาจารย์แบบรายตัวเป็นเรื่องต้องห้าม    ปราศจากการทดสอบและประเมิน นโยบายการศึกษาจะคงความคลุมเครือและทำแบบคาดคะเนอนุมาน ซึ่งต้องฝากไว้กับความฉลาดของคนทำและความสะดวกของรัฐ  มากกว่าความเป็นจริงและหลักฐาน   นโยบายใหม่ เช่น แผนวิทยาลัยชุมชนของโอบาม่า ถือเป็นก้าวใหญ่ในทิศทางที่ถูกต้อง  แต่อะไรที่รัฐบาลรอบๆ โลกเรียกว่า "การลงทุนทางการศึกษา" (education investments) ยังพลาดเป้าในการทดสอบประสิทธิภาพ (การใช้เงิน)   โดยการไม่คำนึงถีงการเปลี่ยนทิศทางการใช้เงินมาสู่ผู้ด้อยโอกาสของสังคม เป็นการเปลี่ยนรูปแบบอย่างหนึ่งที่จะให้ผลตอบแทนสังคมเองได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า   แน่นอนว่าถ้ามองอีกแง่  ความจริงแล้วการวัดผลแบบนี้ไม่ค่อยยืดหยุ่นนัก  คือ  วิกฤติร้ายแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  รัฐบาลไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำให้เกิดขึ้นได้  ซึ่งมันเป็นตัวแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งได้เปลี่ยนไปแล้ว

 

 

หมายเลขบันทึก: 294109เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท