ปกาเกอญอเชียงใหม่ กับ คนไทยสนามหลวง


หลายสัปดาห์มาแล้วผมได้ไปถ่ายรายการที่ อ.แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ไปกับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)


เดินทางจาก กทม โดยรถไฟตู้นอนภูพิงค์ ทริปนี้มีทีมงานจาก TPBS ไปด้วย คุ้นเคยกันดี


การเดินทางโดยรถไฟตู้นอนนั้นดีใช้ได้ครับ สำหรับใครที่ติดหรูแล้วคาดว่า เดินทางโดยรถไฟจะลำบาก 

ผมยืนยันว่าตู้นอนภูพิงค์นั้นดีกว่าที่คุณคิด 

 

ผู้โดยสารคุยกันว่า ตู้ที่เราอยู่ กว้างกว่าตู้อื่น ๓ เซนติเมตร (จริงหรือไม่ ?)


 

P1010010_resize

 

ถึงเชียงใหม่เช้าครับ อากาศดีทีเดียว มีรถตู้ของทีมงานมารับ เดินทางขึ้นเขากันต่อ ผ่านกลุ่ม นปช.เป็นระยะๆ 

(ไม่ทราบทำอะไรกัน)

</span>


ผมเคยดูสารคดีของมูลนิธิกระจกเงา "ปกาเกอญอกับช้าง" มาครั้งนี้ผมหวังเห็นช้าง


เราไปถึงที่หมายเที่ยงครับ เข้าที่พักในลักษณะ Home stay รับประทานอาหาร และเริ่มกิจกรรม


บ่ายวันนี้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม จะมาทำสื่อการศึกษาให้กับเด็กๆ กิจกรรมวันนี้เริ่มต้นที่วัดครับ


วัดนี้มี "พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา"ซึ่งเป็นโครงการของ "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"

วันหลังผมอยากจะนำเรื่องนี้มานำเสนอ

 


P1010033_resize

กิจกรรมดำเนินไปด้วยดีครับ อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการก็มีความตั้งใจ พบแววตาแห่งความสุขจากเด็กๆ ในพื้นที่


กิจกรรมนี้มีอาสาสมัครชาวต่างชาติเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย


ผมลองพิจารณาสภาพสังคมของพี่น้องปกาเกอญอ พบสิ่งที่น่าสนใจ


เมื่อพิจารณาตามหลักลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Maslow)


๑. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

เศรษฐกิจที่นี่ค่อนข้างดี บ้านเรือนสะอาดโอ่โถง มีบ้านเลขที่ชัดเจน ไม่มีปัญหาเรื่องสัญชาติ มีโรงเรียน สถานีอนามัย

(ผมไปใช้บริการมาแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐบริการดีเยี่ยม)

ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ อากาศดี มีการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาหารการกินพร้อม 

ผมคิดว่าที่นี่เศรษฐกิจดีกว่าพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ หรือแม้แต่คนไทยบางพื้นที่

ผมเคยไปถ่ายรายการที่เกาะเหลา จ.ระนอง พี่น้องมอแกนที่นั่นแย่กว่าที่นี่หลายสิบเท่า  หรือแม้แต่ปกาเกอญอที่สวนฝึ้ง ราชบุรีก็ไม่ดีเท่านี้ (ทั้งสองที่ยังมีปัญหาเรื่องสัญชาติ)

.....

๒. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)

 

สังคมที่นี่บ้านมีรั้วแค่เอาไว้แสดงเขต บางบ้านไม่มีรั้ว ผมไม่เห็นตำรวจ หากไม่นับสุนัขดุ คาดว่าน่าจะปลอดภัยในระดับที่วางใจได้

มีสถานีอนามัยที่สะอาด มีรอยยิ้ม น่าใช้บริการ แต่พบว่ามีปัญหาครอบครัวบ้าง(คิดว่าเรื่องปกติ)ถนนหนทางราดยางเป็นถนนปลอดฝุ่น ฮ่าๆ


.....

๓. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs)

สังคมที่นี่เอื้อต่อความต้องการในด้านนี้ครับ เมื่อร่างกายสมบูรณ์ สังคมปลอดภัย ความเป็นสังคมก็เกิดขึ้นอย่างสะดวก 

แม้เด็กโตจะต้องไปเรียนในเมืองที่ใหญ่กว่า

แต่พบว่าประชากรวัยกลางคนมีเยอะพอสมควร นั่นแสดงว่า เด็กๆ ที่ไปเรียนในพื้นที่อื่นไม่ได้ทิ้งถิ่นไปอย่างสิ้นเชิง มีหลายคนที่กลับมา 

แต่ผมไม่สามารถแจกแจงอย่างละเอียดในสถิติได้

ผมพบเด็กกำพร้าคนหนึ่งอายุ สี่หรือห้าขวบ พ่อและแม่เสียชีวิต เด็กคนนี้ค่ำไหนนอนนั่น แต่การนอนในที่นี้ไม่ได้นอนริมถนน 

แต่หมายถึงค่ำบ้านไหนนอนบ้านนั้น

เด็กคนนี้ยังโชคดี เพราะถ้าเหตุการณ์นี้เกิดในสังคมอื่นเช่น กทม. เค้าอาจได้นอนฟุตบาท


.....

๔. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)

ผมพิจารณาเห็นความต้องการด้านนี้ไม่มาก คิดว่าน่าจะแค่ไม่ต้องการให้คนอื่นมาดูถูกหรือรักษาตนเองให้อยู่ในมาตรฐานทางสังคม 

ผมอาจฝังตัวอยู่ไม่นานและไม่ลึก

......

๕. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)

ข้อนี้ผมมั่นใจว่าพื้นที่นี้มีสมบุรณ์ ที่นี่ทุกคนกล้าจะบอกว่าเค้าคือ ปกาเกอญอ มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของตนอย่างมีระบบ 

การแต่งกายนั้นชัดเจน ไม่ได้เปลี่ยนไปตามกระแสสังคมเมืองจนเสียอัตลักษณ์ มีวัยรุ่นคนหนึ่งที่เรียนคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 

ตอนนี้ปริญญาโทแล้ว 

ผมคุยกับน้องคนนี้ (ไม่รู้พี่หรือน้อง) เค้าตั้งใจจะกลับมาทำเกษตรที่บ้านและดูแลเรื่องกฏหมายให้กับคนในชุมชน 

มองดูคล้ายผู้ใหญ่ลี(กับนางมา)



P1010022_resize

ผมว่าชุมชนนี้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ มองตามมาสโลว์ก็น่าจะมองเห็นเหตุ แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงเหตุของเหตุ ก็ต้องพูดถึงสภาพแวดล้อม


ชุมชนนี้เป็นชุมชนที่แยกเฉพาะ มีป่าเขาล้อม ไม่ไกลเมือง แต่อิทธิพลของชุมชนเมืองไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงที่นี่มากนัก 

ชาวชุมชนส่วนใหญ่ไม่นิยมดูโทรทัศน์(นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จิตวิทยาการตลาดไม่ได้เข้ามาปลุกกิเลส)

มีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูง (ปกาเกอญอ) ผมไม่ทราบว่าพื้นฐานความคิดของชาวปกาเกอญอต่างจากฐานของคนชุมชนอื่นอย่างไร 

แต่นี่อาจเป็นจุดสำคัญในการเป็นชุมชนอบอุ่น


........

วันรุ่งขึ้น เวลาบ่ายๆ ผมเดินอยู่ใน อ.เมืองเชียงใหม่ ชุมชนชาวเชียงใหม่เป็นชุมชนเมืองใหญ่ที่พยายามรักษาความเป็นล้านนา 

แต่ด้วยความเป็นสังคมเมือง ความเป็นล้านนาที่ชัดเจนที่สุดที่คนแปลกหน้าสัมผัสได้อาจเป็นภาษาและสถาปัตยกรรมบางแห่ง 

ส่วนคนในพื้นที่อาจรับรู้ได้มากกว่านั้น


ผมย้อนคิดไปถึงชุมชนของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อื่นรวมถึงพี่น้องเชื้อชาติไทย หลายๆ ชุมชนไม่ได้สมบูรณ์พร้อม 

เหมือนปกาเกอญอที่แม่วาง  

ถามว่าทำไม ทำไมระบบวัฒนธรรมถึงสูญหาย เด็กๆ วัยรุ่นในชุมชนหายไปไหนหมด 

ทำไมจบการศึกษาแล้วไม่สามารถหางานทำในภูมิลำเนาได้

เด็กเรียนอะไร หรือ ระบบการศึกษาให้เด็กเรียนอะไร ผมเคยตั้งข้อสงสัยว่า หากผมกลับบ้าน ผมจะทำงานอะไร วันนี้ยังไม่ได้คำตอบ


เด็กๆ ไม่ได้อยู่บ้าน แต่มารวมตัวกันอยู่รอบๆ สถานศึกษา การอบรมบ่มนิสัยจากบุพการีเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเต็มที่คือพฤติกรรมของเด็กๆ ในลักษณะเสรีนิยม

ชุมชนชนบทไม่มีวัยรุ่น พลังในการขับเคลื่อนระบบวัฒนธรรมไม่มี ประเพณีสูญหาย คำว่าชุมชนอบอุ่นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

ชุมชนเมืองมีแต่คนที่มีพลังเข้ามาแข่งขัน แข่งกับเวลา คนที่ชนะก็ก้าวไป คนที่พ่ายแพ้ก็สิ้นสุด เงินหมดก็หลังกระแทกพื้น 

ไม่มีสายใยทางสังคมใดใดมารองรับ แล้วต่อไปก็ไม่รู้จะเป็นยังไง


เมื่อวันแม่แห่งชาติ ผมไปถ่ายข่าว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ที่นั่นมีการเปิดโรงทาน ผมตกใจมากกับปริมาณคนไร้บ้าน เยอะจนตะลึง 

แน่นอนคนเหล่านี้พื้นแพไม่ใช่คนกรุงเทพ อะไรทำให้เค้าเป็นแบบนี้ ระบบอะไรส่งเค้ามาอยู่ตรงนี้


........

คืนนั้นที่แม่วางมีอาสาสมัครคนหนึ่งร้องไห้ น้องสาวคนนี้ไม่สบาย น้องสาวสะอื้นบอกผมว่าอยากกลับบ้าน อากาศที่นี่เย็น
ความเจ็บปวดคงทำให้เค้าอยากลับบ้าน
อากาศยามค่ำคืนที่ไหนก็เย็น ความเจ็บปวดทำให้ทุกคนอยากกลับบ้าน
ทำไมเด็กวัยรุ่นเรียนจบแล้วไม่กลับบ้าน ทำไมคนที่สนามหลวงถึงไร้บ้าน บ้านเค้าหายไปไหน
แล้วระบบอะไรทำให้สังคมเป็นแบบนี้ 


 

หมายเลขบันทึก: 290733เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

บ้านที่ไม่มีความอบอุ่น สังคมที่มีแต่การแก่งแย่ง

ทุนนิยมปลูกฝังสังคมทำให้บ้าน ไม่เป็นบ้าน เพื่อน ไม่เป็นเพื่อน นับถือเคารพกันจากจำนวนเงิน ไม่ใช่คุณค่าของคนๆนั้นอย่างแท้จริงๆ

คนที่ต้องไหลไปกับกระแสทุนอย่างเรา เมื่อไรจะได้ชนความงามของชีวิตริมสองข้างทางซักทีเนอะ

การไหลไปกับกระแสทุนไม่ใช่เรื่องแปลกครับ

การไม่ไหลนั่นอาจแปลก

แต่ที่แปลกมากคือ ไหลแบบไม่ลืมหูลืมตา บางทีก็หลายๆ อย่าง ทำให้เป็นอย่างนั้น

  • สวัสดีจ๊ะ น้องปืน
  • พอเห็นภาพแว๊บๆ รีบเข้ามาทักทายก่อน
  • มาบอกคิดถึงจ้า

คิดถึงเหมือนกันครับพี่ อิอิ

หนูบีเวอร์

การศึกษาช่วยได้ แต่การศึกษาไทยเมื่อไรจะไปถึงจุดนี้/ ป้าวิไล

หวัดดีจ้ะน้องปืน ... น่าสนใจจัง

เข้าใจเปรียบเทียบดีนะ.... คนสนามหลวงไม่อยากกลับบ้าน มากกว่า มั้ง ทั้งๆที่บ้านอาจจะอบอุ่นกว่า แท้ๆๆ

ไม่เอาดีกว่า เดี๋ยวยาว

สบายดีนะจ้ะ

มันก็หลายเหตุหลายปัจจัยอย่างที่น้องเขียนวิเคราะห์ไว้

การศึกษาในโรงเรียนสอนให้เราแปลกแยกจากบ้านและงานที่บ้าน

บ้านก็ไม่ใช่ที่ที่น่าอยู่สำหรับคนไร้บ้านที่สนามหลวง บางคนมีบ้านแต่กลับไม่อยากกลับบ้าน

แต่การไม่กลับบ้านของคนไร้บ้านกับของเด็กวัยรุ่นที่เรียนจบอาจจะไม่เหมือนกัน

ตรงที่คนที่บ้านอยากหรือไม่อยากให้พวกเขากลับบ้าน ?

ตอบ อาจารย์วิไล วัชรพิชัย

ดีใจครับ ไม่ได้ทักทายกันตั้งนาน อิอิ

การศึกษาคือปัจจัยส่วนใหญ่ในทุกผลลัพท์นะครับ ต้องพิจารณาดีดี การกระดิกพลิกตัวในประเด็นนี้ เป็นได้ทั้งคุณและโทษ มีผลทั้งปัจจุบัน และอนาคต

น่ากลัวครับ

..................

ตอบ พี่แก่นจัง

ต้องจำกัดความคำว่าคนสนามหลวงนะครับ ว่าหมายถึงใคร

ก้จริงนะครับ บางคนก้เลือกที่จะไม่กลับ บางคนก็กลับไม่ได้ หรือ ไม่มีให้กลับ

เหตุของผลพวกนี้แหละครับ น่าสนใจ

....................

ตอบ อาจารย์ Ninko

หลายๆ กรณีบ้านก็ไม่อยากให้กลับนะครับอาจารย์ ผมคิดว่านะครับ

แต่ที่คิดไม่ออกครับอาจารย์ คำตอบหรือคำถามเดียวกันทุกคอมเมนต์

หรือ อาจเรียกได้ว่า เมนไอเดียของบทความ คือ

ระบบอะไร หรือ อะไร สร้างระบบสังคมไทยให้ไหลมาอยู่ในสถานะการณ์นี้

ประเด็นในบทความนะครับ ไม่เกี่ยวกับสีทางการเมือง

และระบบอะไรที่ทำให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงที่แม่วาง ยังคงอบอุ่น

และมีแนวโน้มในการพัฒนาความเป็นตัวตน สร้างบทบาททางสังคม

หรือฐานะทางสังคมในลักษณะกรเป็นพลเมืองเจ้าของพื้นที่

มากกว่าจะถูกมองว่า เป็นพลเมืองชั้นสอง

ต่างกันกับคนไร้บ้านที่สนามหลวงครับ เค้าเป็นพลเมืองชั้นที่เท่าไหร่

สวัสดีครับ

อ่านแล้วคิดถึงวันวานเลยครับ

เมื่อเกือบสิบปีที่แล้วชีวิตผมวนเวียนอยู่แถวนั้น

เคยไปนอนที่บ้านหนองเต่า (บ้านพ่อหลวงจอนิ) คร้ังละหลายวัน

มีมิตรสหายที่ห้วยอีค่าง ห้วยข้าวลีบ หนองมณฑา ฯลฯ

ว่าแต่ว่าหมู่บ้านที่ไปนี่คือที่ไหนครับ

...

ที่ถามว่า "ทำไมจบการศึกษาแล้วไม่สามารถหางานทำในภูมิลำเนาได้ เด็กเรียนอะไร หรือ ระบบการศึกษาให้เด็กเรียนอะไร..."

ผมคิดอย่างนี้ครับ

(๑) การศึกษาเป็นปัจจัยหลักที่ผลักเด็กออกจากชุมชนท้องถิ่น ระบบการศึกษามีเนื้อหาซ่อนเร้นที่ปลูกฝังเจ้าไปในสำนึกได้จั๋งหนึบหลายเรื่อง เช่น ชอบความสบาย รังเกียจงานหนัก ความร่ำรวยเงินทองเป็นเป้าหมายชีวิต ฯลฯ

(๒) เด็กลูกหลานชาวไร่ชาวนา/เกษตรกร เมื่ออยู่ในระบบการศึกษานาน ๆ ย่อมถูกทำลายโอกาส/ศักยภาพ /การเรียนรู้ ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ยิ่งเรียนสูงยิ่งกลับบ้านไปสืบทอดอาชีพครอบครัวไม่ได้ นอกจากนั้นการติดความสบาย ก็ยิ่งทำให้เขาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวไม่มีความสุข เพราะความสุข=ความสะดวกสบาย

(๓) ลูกหลานชาวไร่ชาวนา ลูกหลานคนจนอยู่ในเมืองก็ใช่จะประสบความสำเร็จ โอกาส/ความสามารถในการแข่งขัน สู้ลูกคนชั้นกลางในเมืองไม่ได้ ดังเช่นผมเป็นต้น

(๔) โดยสรุปแล้ว พวกนี้เข้าข่าย "กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง"

(๕) เคยฟังเพลงดาวมหาลัย ไหมครับ นั่นแหละสะท้อนการศึกษาไทยเลย

  • หายไปนานมากๆๆน้องปืน
  • ดีใจที่ได้ข่าว
  • ไม่อยากให้คนในชุมชนลืมรากเหง้าตนเองครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ งานบ้าง เรียนบ้าง ต่อไปจะพยายามเขียนอย่างสม่ำเสมอ ครับ

กว้างกว่า 3 cm จิงหรอ? (ช่วยไรได้มั้ยเนี่ย 3 เซน)

อยากบอกว่าอากาศหนาวมากๆ ตอนกลางคืน (แทบกระอัก)

คนเขียนคิดได้ไง เกี่ยวกะมาสโลว์ (สุดยอดๆ)

เท่าที่เคยเจอมา เห็นด้วยว่าที่นี่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ค่อนข้างสมบูรณ์มาก

สุขภาพก็ดีมาก กินแต่ผัก ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องโรคคนเมือง อย่างเบาหวาน

แต่บางที การที่เรียนจบแล้วไม่กลับบ้านก็เป็นผลดีนะ เช่น อาชีพสายแพทย์ ส่วนมากเป็น

คนเมือง พอเรียนจบก้อกลับไปทำงานที่บ้าน เลยเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก เพราะว่าแถว

ชนบทจะไม่มีหมอเลย หรือมีน้อยมากๆ จนถึงปัจจุบันก้อยังแก้ไม่ได้ซักที อิ อิ

งืมมค่ะ เรียนจบแล้วอยากกลับบ้าน แต่เหมือนแถวบ้านจะไม่มีอะไรให้ทำ

(หรือว่าเรามองข้ามไปเองก็ไม่รู้เนอะ)

ไม่ชอบสังคมเมืองเลย แก่งแย่ง แข่งขัน วุ่นวาย เหนื่อยเนอะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท