การตลาดผลไม้ไทยที่ยั่งยืนและบูรณาการกรณีกล้วยหอมทองละแม 2


กล้วยปลอดสารเคมี แลกเปลี่ยนเรียนรู้

การตลาดผลไม้ไทย ที่ยั่งยืนกรณีกล้วยหอมทองละแม สำหรับตอนที่2  ก็คงเป็นการเล่าเรื่องราวย้อนหลัง ตามหลักสูตรการจัดการความรู้ของจังหวัดชุมพร  ในกลุ่มภาคธุรกิจ หากมีข้อผิดพลาดหรือมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมกรุณาให้ข้อคิดเห็นกันบ้างครับ

               คณะกรรมการชุดแรกที่สมาชิกกลุ่มได้เลือกตั้ง  ประกอบไปด้วย

                 คุณ นิพนธ์ รักเจริญ    ประธานคณะกรรมการ   ครูไพบูลย์ ขวัญราช  รองประธาน

                 คุณประหยัด เพ็งจันทร์     เหรัญญิก          คุณโกศล โกมินทร์  กรรมการ

                 คุณสุขพัฒน์ สุวรรณภักดี   เลขานุการ    ครูอิสรา เขมากรณ์  กรรมการ

                 ครูคะนอง  พรหมสุวรรณ   กรรมการ      ครูอดุลย์ หนูนวล  กรรมการ

                 คุณ ธงชัย หีตแก้ว    กรรมการ (หมออนามัย)

                 คุณโกศล โกมินทร์ กรรมการ    

          คณะกรรมการชุดแรก   ก็คือกรรมการสภาตำบล และข้าราชการในพื้นที่เป็นเสาหลัก

  การเตรียมพื้นที่ปลูก  คุณนิพนธ์ รักเจริญประธานกลุ่มเป็นเจ้าของรถไถ ในหมู่บ้าน รับหน้าที่บุกเบิกประเภทไถก่อน ผ่อนทีหลัง  สมาชิกผู้ปลูกท่านใดมีความพร้อม ก็ไปแจ้งประธาน เพื่อจัดคิวไถพรวน  ผู้ที่พอจะมีทุนรอน อย่างอาจารย์ ไพบูลย์ ขวัญราช  ก็จัดหาวิธีทำระบบน้ำ สำหรับกล้วย  แต่ที่สำคัญที่สุดคุณเสน่ห์ โสดาวิจิตร จะเข้านอกออกในบ้านสมาชิก สร้างความสนิทสนมกับเด็กๆ  อาศัยความเป็นเลือดอิสานที่สนุกแบบถึงใหนถึงกัน ไม่กี่วัน คนในพื้นที่ตำบลทุ่งคาวัด  ก็ต้อนรับเสน่ห์ไว้เหมือนลูกหลาน   เพื่อนคนใหนที่รุ่นราวคราวเดียวกัน เมื่อรู้จักสนิทสนมกันแล้ว พ่อแม่ของเพื่อน ปู่ย่าตายายของเพื่อน เขาก็เรียกขานให้ความเคารพนบนอบเหมือนว่าเป็นลูกหลานคนหนึ่ง  

          ผู้ประสานงานสนาม   เป็นตัวเชื่อมสำคัญยิ่ง ข้อมูลทุกอย่างเมื่อรายงานไปถึงยามาโมโต้ หากยังไม่เป็นที่พอใจ  ต้องค้นหาคำตอบให้ได้ 

          ปลูกกล้วยไปเพียง  4-5 เดือน ก็ได้รับบทเรียนแรก คือ ที่คาดหวังว่ากล้วยจะเจริญเติบโตพร้อมกันนั้น เป็นไปไม่ได้  มีข้อแตกต่างจากท่ายาง เพชรบุรีมาก เพราะว่า ที่ท่ายางจะมีคลองส่งน้ำ อย่างทั่งถึง สามาถใช้น้ำจากคลองส่งน้ำได้ทั้งปี   การให้น้ำที่พอเพียง จะทำให้ความสมบูรณ์ของต้นกล้วยเติบโตอย่างได้ขนาด และเท่าเทียมกัน     ประการที่สอง ความสมบูรณ์ของหน่อที่ปลูกก็มีส่วนสำคัญ 

          แต่การเริ่มต้นที่ดีของการผลิต ก็คือการเกิดการจุดประกายของการตลาดแห่งความหวัง เช่นนี้  ภาพของกิจกรรมในชุมชน ที่เสน่ห์ โสดาวิจิตรเก็บไว้  ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณีวัฒนธรรม งานบวช งานแต่งงาน งานวันตรุษสาร์ท หรือกิจกรรมอื่นๆ  ถูกจุล โคยาม่า นำไปเรียบเรียงผสมผสานกับภาพการปลูกกล้วย การช่วยเหลือกัน  ระหว่างสมาชิก  แล้วแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น  ส่งไปให้ยามาโมโต้ที่สำนักงานใหญ่  ซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงโตเกียว  ยามาโมโต้ตรวจดูแล้วก็ส่ง ให้ สหกรณ์ผู้บริโภคโยโดงาว่า ซึ่งมีท่าน ฟูจิโอะคาโต้  ข้าราชการเกษียณ อายุ  ผู้ได้รับเชิญให้ช่วยทำหน้าที่  เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการของสหกรณ์   และข้อมูลเหล่านั้นได้ถูกนำเสนอออกสู่สายตามวลสมาชิก  ท่านทราบใหมว่ากล้วยที่ปลูกไว้ ยังไม่ทันตัดปลี  แต่ความต้องการที่จะกินกล้วยของสมาชิกสหกรณ์ได้เกิดขึ้นมากมาย  อยากจะชิมลิ้มรสชาดกล้วยที่ละแม  กล้วยที่มีอยู่ในละแม ในขณะนั้นที่ความแก่พอดีรวบรวมได้ในครั้งแรก  300 กิโลกรัม ได้ถูกตกแต่งทำความสะอาด  ใส่กล่องส่งไปยังกรุงโยโดงาว่าโดยทางเครื่องบิน    ประมาณ 2 สัปดาห์ให้หลัง  ทุกคนที่เฝ้ารอคอยผลการบริโภค  ก็ได้รับการตอบกลับมาว่า กล้วยที่ส่งไป อร่อย หอมหวาน ให้จัดหาส่งไปอีก  จะหาที่ใหนละเพราะในพื้นที่ละแมไม่ได้ปลูกกล้วยไว้เยอะแยะ  ทางออกของกลุ่มก็คือการเดินทางไปหากล้วยที่บ้านถ้ำสิงห์  ซึ่งได้รับการนำเสนอจากคุณโกศล โกมินทร์ ว่าที่บ้านถ้ำสิงห์มีการปลูกกล้วยกันมาก เพราะได้รับการส่งเสริมหลังจากโดนภัยพายุเกย์   ไม่ผิดหวัง คุณโกศล โกมินทร์ สามารถนำกล้วยจากบ้านถ้ำสิงห์มาดำเนินการ ส่งออกในรอบสองทางเครื่องบินอีก 500  กิโลกรัม  จากการได้ลิ้มชิมรสชาด

ทำให้การวางแผนการส่งออกอย่างจริงจังโดยทางเรือเริ่มขึ้นทันที    และ ณ วันนั้น ตำนานกล้วยบ้านถ้ำสิงห์ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับกล้วยที่ละแม   ความจริงใจต่อกัน คืดไม่มีการปกปิด  ว่ากล้วยที่ได้ไม่ใช่กล้วยที่เกิดจากการปลูกของสมาชิก  แต่เป็นกล้วยจากบ้านถ้ำสิงห์  ก็ไม่เป็นไร  ขอให้ส่งไปก่อน  ข้อมูลของแหล่งผลิตสินค้า ก็มีความสำคัญ  จะเห็นได้ว่า ต้องเขียนป้ายติดไปให้ชัดเจนว่า กล้วยกล่องใดเป็นของบ้านถ้ำสิงห์ กล้วยกล่องใดเป็นกล้วยที่ละแม   ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบรสชาดที่สมาชิกผู้บริโภค สะท้อนมาให้ได้รับทราบ

             

          การเตรียมงานส่งออกครั้งแรก เป็นภาระหนักพอสมควร ตั้งแต่การหาพนักงาน มาประจำ  และการฝึกฝนให้พนักงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้   การประชุมคณะกรรมการกลุ่ม จึงเรียกประชุมใหญ่นัดพิเศษ  กำหนดตัวผู้ปฏิบัติงาน และกำหนดสถานที่ ปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับการสงเคราะห์จากอาจารย์ ชนินทร์หนูเสน ผู้อำนวยการโรงเรียนสหกรณ์พัฒนา ให้ใช้อาคารเรียนหลังที่ 2  บริเวณประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นสถานที่ทำงาน 

               1.  ตำแหน่งผู้จัดการกลุ่ม    ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของกลุ่ม    ครูไพบูลย์ ขวัญราช รับหน้าที่          

                2.  ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายจัดหาผลผลิต  คุณ โกศล โกมินทร์ รับหน้าที่ 

 พร้อมกับรับสมัครพนักงานบรรจุกล่อง   เมื่อได้จำนวนพนักงานตามที่ต้องการคือประมาณ  24  คน  ก็เดินทางไปศึกษาดูงานด้วยการอบรมเข้ม ฝึกปฎิบัติกันตัวต่อตัวตามแต่ละหน้าที่   ใช้เวลา 2 วัน  ก็เดินทางกลับ

 

            การบริโภคอาหารในแต่ละวันของสมาชิกสหกรณ์ผู้บริโภค ที่ญี่ปุ่น จะมีการวางแผนล่วงหน้าไว้  ทั้ง 7 วัน แต่ละวันมีอะไรเป็นเมนูหลัก  และจะมีใบสั่งจองติดไปกับรถส่งของที่ออกไปส่งยังกลุ่มบ้านของสมาชิก ทุกวันในช่วงเช้า  โดยรถนำของที่สมาชิกสั่งไว้ไปส่งที่หัวหน้ากลุ่ม  หัวหน้ากลุ่มก็จะเอารายการสั่งจองจากสมาชิก มอบให้   โดยที่หัวหน้ากลุ่ม รับผิดชอบบ้านในละแวกรอบๆบ้านตนเอง คนละ ไม่เกิน 10 หลังคาเรือน      

           พนักงานส่งของซึ่งทำหน้าที่ ให้ข้อมูล เก็บข้อมูล ก็จะรวบรวมมาส่งที่คลังสินค้า คลังสินค้าก็จะทำการแยกแยะรายละเอียดของที่สมาชิกสั่งจองมา     ปริมาณกล้วยหอมทองเที่ยวแรก  เป็นจำนวน 7 ตันที่จะต้องทำการทดลองส่งออกทางเรือ

 

          วันแรกของการส่งออก ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะเคร่งเครียดเพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมาก่อน  แถมมีคนมาดูกันมาก  นักเรียนในโรงเรียนก็สนใจมาดู  แต่ก็ผ่านไปด้วยดี 

 

 ถ้าเราเปรียบยามาโมโต้  คือพ่อสือแม่ชัก ยามาโมโต้ได้ใช้อะไรเป็นการสร้างอุปาทาน  จนเกิด อุปสงค์ ขึ้นมาจนเกิดความต้องการกินกล้วย เกินคาด(ครับหัวข้อเรื่องการตลาดก็ขอใช้  ดีมาน กับ ซัพพลาย )  ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกผูกพันในเบื้องต้น และมีการสั่งซื้อกล้วย โดยที่กล้วยที่สมาชิกปลูกยังไม่มีผลผลิต  ทั้งที่การนำเสนอในวันแรกจะมีการเน้นเรื่องการงดการใช้สารเคมี   ถ้าจะพูดแทงใจกันละก็ คิดว่าขณะนั้น ในญี่ปุ่นมีกล้วยจาก เอกวาดอร์ กล้วยจากฟิลิปปินส์  และกล้วยจากไต้หวัน  วางขายอยู่เกร่อ  แถมราคาไม่แพง ลูกก็สวยและลูกโต      การหยั่งเชิงผู้บริโภค เพื่อประเมินความพึงพอใจในหลายๆ เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นรสชาต  และราคา

      

      การเน้นสารเคมีเริ่มจริงจังเมื่อผลผลิตกล้วยของสมาชิกกลุ่ม ได้รับผลเต็มที่  และหลังจากที่ประธาน  และผู้จัดการกลุ่ม เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อดูกล้วยที่ไปจากละแม โดยไปเปิดดูจาก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ  ตามกล้วยไปที่โรงบ่ม  ไปดูการคัดแยกกล้วยที่คลังสินค้า   เยี่ยมตามบ้านสมาชิกผู้บริโภค  และร่วมกิจกรรมประชุมสามัญประจำปี    หมายความว่า ต้องไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับทุกกิจกรรม ที่อยู่บนเส้นทางเดินของกล้วย  ตามขั้นตอนของ เคเอ็ม   และ สุดท้ายก็ไปให้ข้อคิดกับที่ประชุมใหญ่ผู้บริโภค

                     ซึ่งเมื่อประธานกลับมาไม่นาน ในวันที่ 14 ตุลาคม พศ2537  ตัวแทนสหกรณ์ผู้บริโภค ทั้งกรรมการ และสมาชิก ก็เดินทางมาที่ละแม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจนเป็นที่พอใจ  ในตอนเย็นหลังเสร็จประชุม ก็มีงานเลี้ยง  มีข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น นายอำเภอ  เกษตรจังหวัด  ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นผู้อาวุโสของพื้นที่  เข้าไปร่วมงาน มีการลงนามร่วมกันบนเวที  และมอบเอกสารที่ลงนามแล้วให้แก่กัน  โดยมีผู้ลงนาม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย บริษัทผู้ประสานงาน  สหกรณ์ผู้บริโภค  และประธานกลุ่มกล้วยหอมทอง

                      สาระสำคัญของแถลงการณ์ร่วมมีดังนี้

            เพื่อตอบสนองความต้องการกล้วยปลอดสารเคมีของสมาชิกสหกรณ์              

1.     ตามโครงการนี้ทั้งสามฝ่ายจะร่วมกันคุ้มครองชีวิต  ผู้บริโภค และช่วยสร้างศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของสมาชิกกลุ่ม

2.     ทั้งสามฝ่ายจะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน เพื่อความสำเร็จในระยะยาว

3.     ราคาของกล้วยหอมทอง จะตั้งอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ โดยมีความตั้งใจของสมาชิกกลุ่มในการผลิตกล้วยหอมทองผนวกเข้าด้วยกัน   โดยทั้งสามฝ่ายจะร่วมกันพิจารณากำหนดราคาให้เหมาะสม

4.     วิธีการผลิต และวิธีการส่งออก จะเจรจาลงนามกันอีกครั้ง  เมื่อถึงระยะเวลาที่สามารถสรุปข้อมูลร่วมกันได้

5.     ผู้ผลิตและผู้บริโภค (หมายถึงกลุ่มกล้วยหอมทอง กับสหกรณ์ผู้บริโภค) จะพยายามสร้างมิตรสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน   มีการพัฒนาตามหลักการทางวิชาการ  แสวงหาหนทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคปลอดสารเคมี  เพื่อให้โครงการมีความก้าวหน้าต่อไป

6.     ทั้งสามฝ่ายจะต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อขยายปริมาณและคุณภาพของการดำเนินการ

7.     แถลงการณ์ร่วมจัดทำเป็น 3 ภาษา คือภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ เก็บไว้คนละ หนึ่งฉบับ

                                ลงชื่อ นิพนธ์  รักเจริญ ประธานกลุ่ม  ซูมิโกะ ฮายาชิ ประธานสหกรณ์ผู้บริโภค โตกูชิ

                                          ฮิโรยูกิยามาโมโต้  ประธานบริษัท เอเชีย คาล์จุรัล เอ็นเตอร์ไพรส์

 

    ลปรร.  คุณ อำนวยคือยามาโมโต้   และคุณลิขิต คือ จุลโคยาม่า เพราะบทสรุปต่างๆดูเหมือนถูกเตรียมไว้พร้อม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถูกต้อนเข้าสู่ประตูที่เปิดไว้  ทันที    

 

         อาจารย์ไอศูรย์ ช่วยให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ อีกครับ ก่อนที่จะเสนอตอนต่อไป

     

หมายเลขบันทึก: 289523เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ พี่โอภาส

  • ผมเข้ามาทักทายหลังกลับจากเดินทางไปดูงานที่ ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก
  • บทความตอนนี้ให้ภาพที่ชัดเจนมาก อ่านแล้วรู้เลยว่า ใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-อย่างไร ได้อารมณ์/ความรู้สึกผสมผสานไปด้วยแบบพอดี ๆ
  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ พัฒนาการของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด และผลผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพที่ส่งไปญี่ปุ่น
  • ผมจะนำทั้งหมดนี้ไปวิเคราะห์ด้วย Mind Map อย่างต่อเนื่อง รอนิดหนึ่งนะครับจะส่งมา Update ที่ Blog ตรงนี้ ขอทำงานเร่งด่วนก่อนครับ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท