นักส่งเสริมการเกษตรติดดิน(7):เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่บ้านโพธิ์ศรี


ลงไปเสริมหนุนการทำงานร่วมกับทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี

นักส่งเสริมการเกษตรติดดินในตอนที่7 นี้ เป็นการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ที่บ้านโพธิ์ศรี   เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ได้ลงไปเสริมหนุนการทำงาน ร่วมกับทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี นำทีมโดยท่านเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี( นายสถิต ภูทิพย์ )  ความจริงแล้วก่อนที่ทางทีมงานของเราจะไปถึงสถานที่จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ. ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ศรี  ตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ท่านเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี และทีมงาน ได้เริ่มจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปก่อนแล้ว โดยมีบุคคลเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน (GAP) และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าว ในปี 2552นี้

                                                                 คุณสถิต ภูทิพย์ เกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี

 

            สำหรับประเด็นหลักของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ คือสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารและ pH. ของดิน ซึ่งมีการตรวจวิเคราะห์ดิน ไปก่อนแล้ว วันนี้เรามาสร้างความเข้าใจกันอีกครั้งว่า ผลของการวิเคราะห์ดินที่สมาชิกแต่ละรายที่ได้เข้าร่วมโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าว(ครูติดแผ่นดินข้าว) ว่า เมื่อเจ้าของแปลงนาได้รับทราบผลของการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารไปในเบื้องต้นแล้ว ก็มีการฝึกทักษะในการอ่านค่าตามคู่มือคำแนะนำ จากนั้นก็นำผลของการอ่านค่าไปเทียบกับสูตรปุ๋ยที่เหมาะต่อแปลงนาของเกษตรกรแต่ละรายเอง พร้อมทั้งมีการให้คำแนะนำอัตราที่ใช้ ซึ่งจากข้อสรุปในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ เกษตรกรผู้เข้าร่วมทั้งหมด ได้เข้าใจและมีความพอใจซึ่งการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินทำให้ตัดสินใจใช้ปุ๋ยในอัตราที่ถูกต้อง ซึ่งดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเกษตรกรจะตัดสินใจโดยตามเพื่อนบ้าน พูดง่ายๆก็คือ เห็นเพื่อนบ้านซึ้อปุ๋ยสูตรอะไรมาใช้ก็จะใช้ตามเพื่อนบ้านกัน

 

                      คุณสุดารัตน์ สุรินทร์ (นวส.ปฏิบัติการ)เลขานุการศบกต.โค้งไผ่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร

            แต่ในชุมชนบ้านโพธิ์ศรีนี้โชคดี มีผู้นำชุมชนที่ชื่อ ผู้ใหญ่จำนง กิจการ อยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่6 บ้านโพธ์ศรี ตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ซึ่งเป็นอาสาสมัครเกษตร หมอดินอาสาประจำตำบลโงไผ่ ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านคนหนึ่ง ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าว โดยผลิตน้ำหมักจากสารสกัดชีวภาพ ที่หาได้ในชุมชน ทั้งประเภทที่เป็นฮอร์โมน(ปุ๋ยน้ำ) และสารขับไล่แมลง โดยสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ข้าวที่ปลูกกันในเขตชุมชนอื่นได้เกิดเพลี้ยกระโดดระบาดในแปลงนา สำหรับในชุมชนนี้  จากการเล่าของผู้ใหญ่จำนง กิจการ ได้เล่าให้ฟังว่า ในระยะเริ่มต้นที่ต้นข้าวในนาของเกษตรกรตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำชุมชน และเป็นอาสาสมัครเกษตร(เกษตรหมู่บ้านและหมอดินอาสา) ได้ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเกษตรกรในชุมชน ได้ผลิตสารสกัดชีวภาพโดยใช้พืชสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น ทำการฉีดพ่นต้นข้าวอย่างสม่ำเสมอ 

                            ผู้ใหญ่จำนงค์ กิจการ

 

               สำหรับในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ ทาง ผู้ใหญ่จำนง กิจการ ยังได้นำประสบการณ์ความรู้ของตนเองมานำแสนอและแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน(GAP)และโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าว คือการสาธิต โดยการนำขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว โดยทำการเจาะเปิดเป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมโดยเปิดก้วางประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วนำกากน้ำตาลใส่ลงไปในขวด ในปริมาณพอสมควร แล้วนำไปปักไว้ในแปลงนา  ในเวลากลางคืนจะมีผีเสื้อหรือตัวแมลงศัตรูพืชเมื่อได้กลิ่นกากน้ำตาลแล้วจะบินตกลงไปอยู่ในก้นขวดซึ่งปีกก็จะติดกับกากน้ำตาล  ในแปลงนาหากทำติดตั้งไว้หลายๆจุดก็จะเป็นการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน

 

 

                   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งนี้ ต้องขอชื่นชมทางทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี ได้ลงไปทำงานร่วมกับอาสาสมัครเกษตร เกษตรหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยฯและโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าว ซึ่งชุมชนบ้านโพธิ์ศรี เป็นกลุ่มตัวอย่างหนึ่งที่มีผลความก้าวหน้าในการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้จริงอีกกลุ่มหนึ่งครับ.....

บันทึก

สายัณห์ ปิกวงศ์

18 สค.52.

หมายเลขบันทึก: 288940เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับพี่ สบายดีนะครับ
  • ผมมาขออนุญาตพี่ นำบันทึกของพี่ที่เขียนถึง "ครูติดแผ่นดินข้าว" ไปรวบรวมไว้ในหนังสือ รวมบันทึกเรื่องเล่า "การลดต้นทุนการผลิตข้าว" ครับ
  • คาดว่ากว่าที่พี่จะเห็นความคิดเห็นนี้ ผมคงจะทำหนังสือเสร็จแล้ว หุหุ (ไม่ว่ากันนะครับ ที่ขออนุญาตช้าไปนิด "ฮา" )
  • ขอบคุณมากครับ ที่นำเรื่องราวดีดีมาฝากอย่างต่อเนื่องครับ

1. สมุดบันทึกงานส่งเสริมการเกษตรภาคสนาม เล่มนี้น่าสนใจ

2. มีโจทย์ของพื้นที่ออกมาเยอะเลยนะ น่าติดตามเพื่อหาคำตอบร่วมกับชุมชน

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ ที่นำมาบันทึกให้เข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
  • ขอบคุณค่ะ
  • หวัดดีค่ะพี่
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท