ทิฐิที่ลดลงมา คุ้มค่ามหาศาล


การลดทิฐิกับคนที่ไม่ถูกใจ

 

      

       ผมเองบางครั้งก็ค่อนข้างเป็นคนที่มีทิฐิสูงอยู่เหมือนกันครับ   ในกรณีที่คิดเอาเองว่าผมไม่ผิด

       แต่ในโลกของความเป็นจริง  ความถูกความผิด  เป็นเรื่องที่เราคิดเข้าข้างตัวเองทั้งนั้นแหละครับ

        ที่เราคิดว่าตัวเราเองถูก  เอาจริงเข้าแล้ว  ก็ไม่แน่เสมอไปนัก  ว่าเราถูกทุกแง่ทุกมุม    บางมุมบางแง่ เราอาจเป็นฝ่ายผิดก็ได้

         ขณะเดียวกัน  ที่เราคิดว่าคนอื่นผิด  บางมุมบางแง่  เขาก็อาจเป็นฝ่ายถูก

         ดังนั้น ถ้ามุ่งจะเอาชนะกันด้วย ทิฐิ ก็แทบไม่มีประโยชน์เลยครับ  ได้ไม่คุ้มเสีย

         เมื่อวาน ( 18 ส.ค. 2552) ผมลองลดทิฐิของตัวเองดู กับคนที่ไม่ถูกใจ   เข้าไปหา ไปพูดไปคุยกับเขาด้วยความรู้สึกที่ดี

          ผลที่ออกมา ดีมาก ครับ  เขาก็มีอารมณ์ดี  พูดคุยกับผมตามปกติ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

          ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของการลดทิฐิของผมครับ 

                  การลดทิฐิลงมา   พบว่าได้ผลคุ้มค่ามหาศาล

หมายเลขบันทึก: 288936เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 05:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

ความจริงแล้วคนเรามีทิฐิกันทุกคนใช่ไหมคะ เพียงแต่เราต้องเก็บกดทิฐิของเราไว้บ้าง ตามโอกาส แบบนี้ใช้ได้ไหมคะ ครู ป.1 ก็ได้รับบทเรียนมาหลายๆรูปแบบเหมือนกันค่ะ

Pครู ป 1 ครับ

     ครับ บางครั้ง เราต้องเก็บกดทิฐิของเราไว้บ้าง

                     ขอบคุณครับ

ลดมิจฉาทิฏฐิแล้วเพิ่มสัมมาทิฏฐิพูดง่ายๆมองแง่บวกไว้ก่อน..

ท่านรองคงเคยได้ยินว่า..ทิฏฐิพระ..มานะกษัตริย์..

เสียกับเสียอย่างเดียว..

ธรรมะยามเช้าขอรับท่านรอง..

Pท่านธรรมฐิตครับ

  - ลดมิจฉาทิฏฐิแล้วเพิ่มสัมมาทิฏฐิพูดง่ายๆมองแง่บวกไว้ก่อน

  -  ทิฏฐิพระ..มานะกษัตริย์..

      เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์กับผมมากครับ

                             ขอบคุณครับ

  • ลดทิฐิของตัวเอง เข้าไปหา ไปพูด ไปคุย กับคนที่ไม่ถูกใจ ด้วยความรู้สึกที่ดีๆ..เยี่ยมเลยครับ!
  • เคยคิดเหมือนกันครับว่า ถ้าเราให้กับคนที่ไม่อยากให้ได้ น่าจะยิ่งใหญ่กว่าการให้ธรรมดา
  • แม้จะรู้ว่าเป็นวิธีที่ดี เป็นวิธีที่ถูกต้อง ของการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่เวลาทำจริง..ยากๆๆเหลือเกินครับ
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆครับ

Pขอบคุณอาจารย์ธนิตย์ครับ

สวัสดีค่ะ อ.small man

เป็นวิธีที่ดีค่ะ

แล้วจะปฏิบัติตามบ้างนะคะ

โชคดีค่ะ

เป็นข้อคิดที่ดี แล้วทดลองแก้ด้วย ปรากฏว่าได้ผลดี เกินคาด

คนเราลดทิฐิลงแล้ว ให้โอกาสคนอื่น และโอกาสตนเอง จะชัดจนขึ้น

คิดถึงคะ ไม่ได้มาเยี่ยมเสียนาน ตอนนั้นท้อแท้อยู่คะ ตอนนี้หายแล้วคะกาแฟซักถ้วยแก้เหนื่อยคะ

  • มาเชียร์ท่านรอง
  • บางทีการทำงาน
  • ต้องใช้เทคนิคหลายๆๆอย่างนะครับ

กอยังลดทิฐิไม่ได้เลยค่ะท่านรอง

ทิฐิคืออะไรแล้วค่ะ แป่ววววววววววววววววววววววว

การที่เราถอยหลังมา 1ก้าวมิได้หมายความว่า แ.....เสียหน่อยแต่เรากลับมีแต่ได้ และได้........สติคืนมา คลุ้มจริงๆค่ะท่านรองฯ

ทิฐิ มานะ อัตตา

ค่อยๆตัดท่อน้ำเลี้ยง ท่ออาหาร

แล้วพวกมันจะค่อยๆอ่อนกำลัง

วันนึงพวกมันอาจจะตายได้ครับ

Pคุณสุดสายป่านครับ

    ผมเองก็ยังลดทิฐืไม่ค่อยได้เหมือนกันครับ

                           ขอบคุณครับ

Pคุณสุดสายป่านครับ

      ทิฐิ  คือ   .........นึกไม่ออกเหมือนกันครับ

Pครูจิ๋วครับ

          ตามสภาพนะครับ

                        ขอบคุณครับ

Pคุณสุครับ

  

คนเราลดทิฐิลงแล้ว ให้โอกาสคนอื่น และโอกาสตนเอง จะชัดเจนขึ้น

 

                  ขอบคุณมากครับ

Pขอบคุณอาจารย์ขจิตมากครับ

จริง ๆ ตัวเองก็เป็นคนมีทิฐิเยอะค่ะ...พยามลดอยู่แต่บางเรื่องบางครั้งก็ทำใจให้ลดลงไม่ได้

หรือเพราะเราเองที่ไม่ต้องการลดความทิฐิลง...เพราะคิดว่า "ฉันถูก...คุณผิด"

เลยยังคงเย่อหยิ่งอยู่เช่นเดิม...หรืออาจเกิดจากการเชื่อมั่นในตนเองมากไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบ...แต่จะพยายามลดลงค่ะ

----------------------

ขอบคุณมากค่ะ

Pขอบคุณอาจารย์รัชดาวัลย์มากครับ

PคุณPhornphonครับ

     ทิฐื มานะ  อัตตา   มันมีท่อน้ำเลี้ยงอัตโนมัติครับ

             ยิ่งตัด ยิ่งเพิ่ม  555....

                              ขอบคุณมากครับ                  

Pขอบคุณอาจารย์มากครับ

          ผมเองก็ลดไม่ค่อยได้หรอกครับ

สวัสดีครับ

การเรียนรู้จัก ยอม เปลี่ยน ลด หด กลับ ปิด เปิด เข้าใจ เรียนรู้ ใจเขา ใจเรา ช่วยลดความเครียด ลดขนาดความทุกข์ของเรา ขยายพื้นที่ในใจผู้อื่น แบบค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ถูกบ้าง ผิดบ้าง นี่แหละรสชาดของชีวิต ครับ

  • ดีจังค่ะ  เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ค่ะ แก้ที่ใจตัวเอง ยกจิตเราสูงขึ้น ไม่มีคำว่าแพ้หรือชนะสำหรับความมีเมตตาให้แก่กันเลยนะคะ
  • เวลาศิลาลปรรกับคนที่มีความเห็นขัดแย้งกับตัวเอง  จะตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดอย่างสนใจมากค่ะ  เพื่อมองให้ลึกยิ่งกว่าเนื้อหาที่เขากล่าวมา...ทำไมเขาจึงคิดเช่นนั้น วิธีคิด โลกทัศน์ของเขาคืออะไร...พอสัมผัสรู้ ก็ยิ้ม "อ๋อ" แล้วก็คิดวิธีพูดกับเขาอย่างนุ่มนวล แต่คงไว้ซึ่งความเห็นในแบบเรา
  • ไม่ว่าผลออกมาจะยึดความเห็นของใคร...แต่เราก็สุขใจมากค่ะที่ชนะมานะตนเองได้...ดังนั้นสิ่งที่ท่านอาจารย์ Small Man กล่าวมาในบันทึกนี้จึงงดงามมากค่ะ

 

ถ้าเราตั้งใจและมีสติเราก็ทำได้

แต่บางครั้งเราก็เผลอไปเหมือนกันนะคะ

Pอาจารย์เพชรากรครับ

     เป็นรสชาติของชีวิต  ที่หวานอมขมกลืน เหมือนกันครับ

                                ขอบคุณมากครับ

Pอาจารย์ศิลาครับ

  ความคิดของอาจาย์ศิลา  "เยี่ยม"  มากเลยครับ

                          ขอบคุณมากครับ

Pคุณมนีวรรณครับ

    งานนี้ ต้องค้งสติอย่างดีครับ

    แต่ส่วนใหญ่ จะเผลอ ครับ

                   ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะท่านP  small man

  • มาเยี่ยมค่ะ
  • มารับข้อคิดดี ๆ ในวันทำงานค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ  มีความสุขในทุกวันนะคะ

เมียวดี

 

ลึกซึ้ง คมคายครับ

ท่อน้ำเลี้ยงอัตโนมัติ

Pขอบคุณคุณเมียวดีมากครับ

PขอบคุณคุณPhornphonมากครับ สำหรับคำชม

อ้าว อุตส่าห์ตามมาดูคำตอบ

อิอิ ท่านรองก็นึกไม่ออกเหมือนกันเหรอค่ะ

อ้าว ทำไมล่ะค่ะ ทิฐิ คืออะไร

เดี๋ยวกอไปหาใน googleให้ค่ะ

มาแล้วค่ะ

ทิฐิมานะ หมายถึง ถือตัวจัด เข้าข่ายเป็นคนดื้อรั้น เพื่อให้เห็นว่าเรื่องนี้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงอย่างไร ขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องทิฐิไว้ ๒ ประเด็น คือ

            . ความหมาย ทิฐิ หมายถึง ความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

            . ประเภท ทิฐิมีอยู่ ๒ ประเภท คือ () สัมมาทิฐิ หมายถึง ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง เห็นตรงประเด็น ตรงหลักการ ตรงความจริง () มิจฉาทิฐิ หมายถึง ความเห็นผิด คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความจริง ตัวอย่างความเห็นของพระบวชใหม่ในเรื่องนี้จัดอยู่ในประเภทนี้ เพราะเป็นความคิดเห็นที่ผิดไปจากหลักการ ไม่ตรงกับความจริง

            ทิฐิ ๒ ประการนี้มิจฉาทิฐิเป็นตัวการสำคัญที่ปิดกั้นความดีงามในระดับต่าง ๆ ของมนุษย์        ดังตัวอย่างทิฐิของพระบวชใหม่ ทำให้พระบวชใหม่ไม่ได้ทำหน้าที่ของพระที่ควรจะทำ กลายเป็นความหยุดนิ่งด้านความดีของนักบวชที่พึงมี ซึ่งเราจะเห็นว่าในมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสัมมาทิฐิไว้เป็นข้อแรก ชี้ให้เห็นึงความสำคัญของความคิดเห็นที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดี ส่วนกระบวนการสร้างสัมมาทิฐินั้นขอให้ท่านผู้อ่านไปศึกษารายละเอียดในหนังสือพุทธธรรมของพระเทพเวที (ประยุทธ์   ปยุตฺโต) ที่ว่าด้วยเรื่องการสร้างสัมมาทิฐิตามหลักโยนิโสมนสิการซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๑๐ วิธี

ท่านรองค่ะ ในนี้เค้าบอกว่า ทิฐิ หมายถึง ความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

เค้าแยกออกมา 2 ประเภท

เฮ้ย กอก็เพิ่งรู้ว่ากอเข้าใจผิดน่ะค่ะ

แสดงว่า ที่เราพูดกันว่า คนนั้นมีทิฐิ ไม่ยอมพูดจากัน ต่างคนต่างคิด แบบนี้แสดงว่าเราใช้คำผิดสิค่ะ แสดงว่า เราต้องพูดว่า คนนั้นมีมิจฉาทิฐิ

หรือเปล่าค่ะท่านรอง แงแง งงเหมือนกันน่ะค่ะ

Pคุณสุดสายป่านครับ

        นึกไม่ออกครับ

Pขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล

Pคุณสุดสายป่านครับ

    ทิฐิ ที่เราใช้กัน  ส่วนใหญ่จะมองเป็นคำลบ ใช่ใหมครับ  ทั้งๆที่เป็นคำกลางๆ

                ขอบคุณมากครับ

อิอิ ท่านรอง

กอมาอีกแล้วค่ะ มาอ่านบันทึกท่านรองใหม่อีกครั้ง

แสดงว่าท่านรองก็เหมือนกับกอ ใช้คำว่าทิฐิ ผิดหรือเปล่าค่ะ

หากกอเข้าใจผิดว่าท่านรองใช้คำว่าทิฐิผิดเหมือนกับกอ

แต่จริง ๆ แล้วท่านรองใช้ถูกแล้ว ท่านรองอย่าหาว่ากออวดรู้แล้วเอามาบอกน่ะค่ะ

กอก็สงสัยเลยไปหาในgoogle

แล้วท่านรองอย่าโมโหด้วยน่ะค่ะ ห้ามโกรธด้วยน่ะค่ะ ให้ยิ้มอย่างเดียว

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อ้าว ท่านรองตอบเม้นแล้ว อิอิ

Pคุณสุดสายป่านครับ

    ไม่โมโห  ไม่โกรธ ครับ  ยิ้มแล้วครับ

              ขอบคุณครับ

Pตอบคุณสุดสายป่าน ที่เข้ามาตอบว่าผมตอบ  555..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท