การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และองค์กรคุณภาพ


การจัดการความรู้

การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และองค์กรคุณภาพ
ครั้งที่ 7  วันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2549
ณ โรงแรมแก่งสะพือริเวอร์ไซด์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

*********************************************

รองศาสตราจารย์อรชร   พรประเสริฐ      ผู้บันทึก
                 เป็นเช้าที่อากาศสดใส เพราะฝนตกเมื่อเย็นวาน ทำให้เช้านี้อากาศไม่ร้อนเกินไป คณาจารย์ส่วนใหญ่ของคณะวิทยาศาสตร์มารับประทานอาหารเช้าตามเวลานัดหมาย และเดินทางโดยรสบัสของมหาวิทยาลัยมายังโรงแรมแก่งสะพือริเวอร์ไซด์

                อธิการบดีได้กล่าวกับคณาจารย์ คือ ความจำเป็นที่ต้องจัดการประชุมปฏิบัติการ KM เพราะเหตุผลที่โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ และการแข่งขัน  การขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิธีเดิมๆ    คงไม่สามารถสู้กับคู่แข่งขันได้  จำเป็นต้องคัดประดิษฐ์นวัตกรรม โดยอาจใช้ความรู้เดิมที่ทุกคนมีอยู่แล้วมาสร้างเป็นความรู้ใหม่  ช่วงนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ กำลังรับนักศึกษาใหม่  มีตัวเลขที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง (มากกว่าราชภัฏอื่นๆ เช่น อยุธยา  กาญจนบุรี ฯลฯ)  แต่ก็ประมาทไม่ได้ นักศึกษาอาจเปลี่ยนใจเมื่อไหร่ก็ได้  ครู-อาจารย์ และพนักงานทุกคนต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่  จำเป็นต้องสร้างคุณภาพให้กับบัณฑิต ดูแลนักศึกษาทุกคน  โดยได้แบ่งแยกวิชาเอก  อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องอยู่ภายใต้การประเมินของ สมศ. และ ก.พ.ร.  ซึ่งมีตัวชี้วัดหลายตัวที่คณาจารย์    ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดนั้น

                หลังจากอธิการบดีกล่าวเปิดการประชุมแล้ว ผศ.ดร.เสทื้อน  ประธานกรรมการการประชุมปฏิบัติการฯ ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักการจัดการความรู้  จากนั้นเข้าสู่ Work shop แรก คือ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่อง (Story telling) สิ่งที่ตนได้เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ และมีความภาคภูมิใจ ให้กับเพื่อนๆในกลุ่มได้ฟัง แล้วมี “คุณลิขิต” ของกลุ่ม             เก็บประเด็นปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อเป็น “ขุมความรู้” หัวปลาที่กลุ่มพูดคุยกัน คือ “การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม

                ขณะที่ ผศ.ดร.เสทื้อน   เทพรงทอง   อธิบายชี้แจงการสกัดเก็บประเด็นเรื่องเล่า  ท่านอธิการบดีได้ร่วมเข้าวงการเล่าเรื่องด้วย  โดยเล่าประสบการณ์การสอนของการบริหารการศึกษา  วิธีการของท่าน คือ ให้นักศึกษาเขียนเล่าย้อนหลัง 1 – 3 วัน ว่านักศึกษาที่เป็นผู้บริหารนั้น ได้ทำอะไรบ้าง จากนั้นเอามาแยกแยะว่าอะไรเป็นงานของผู้บริหาร อะไรไม่ใช่   อีกครั้งหนึ่งสอนบริหาร การตัดสินใจ ท่านให้นักศึกษาเขียนเรื่องที่ตนเห็นว่าวิกฤตที่สุด และ ประสบความสำเร็จที่สุด แล้วให้นักศึกษาออกมาเล่าเรื่อง จากนั้นสรุปว่ากระบวนการตัดสินใจของแต่ละคนนั้น ตรงกับแนวคิดของนักร้องคนใด  บางคนอาจไม่ตรงกับทฤษฎีแต่ก็ถือว่าเป็นสุดยอดของการปฏิบัติการตัดสินใจ

                เมื่อแต่ละกลุ่มต่างเล่าเรื่องภายในกลุ่มแล้ว ได้ออกไปนำเสนอให้กลุ่มได้ฟัง ในการเล่าเรื่องได้ขุมความรู้มากมาย เพื่อทุกกลุ่มเล่าเรื่องจบแล้ว ขุมความรู้ที่เขียนไว้ถูกเรียงไว้เพื่อรอการ shopping และ สกัดเป็นแก่นความรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างตารางแห่งอิสรภาพ

                เพื่อรับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อย ผู้เข้าร่วมประชุมต่างมาเลือกขุมความรู้ และสกัดเป็นแก่นความรู้อย่างขมักขะเม้น แต่ก็ยิ้มแย้มแจ่มใส แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นอย่างดี ในที่สุดก็ได้ตารางแห่งอิสรภาพออกมา ซึ่งนำไปสู่ workshop ต่อไป คือ ธารปัญญา (River Diagram) และบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Stair Diagram) ที่แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมออกเป็นโปรแกรมวิชา รวม 10 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประเมินตนเองเพื่อเอาผลการประเมินเข้าโปรแกรมสำเร็จรูป จะทำให้ทราบว่า แต่ละแก่นความรู้นั้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจัดตนเองไว้ตรงจุดใด เป็นกลุ่ม “พร้อมให้” หรือกลุ่ม “ไม่รู้” กำหนดจะไม่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับใครบ้าง

                ถัดจากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง “การเตรียมการรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. และ ก.พ.ร.” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน   เทพรงทอง โดยเน้นการประเมินของ ก.พ.ร. เป็นหลัก

                เช้าวันรุ่งขึ้น (9 พฤษภาคม 2549) เวลา 08.45 น. คณาจารย์เข้าห้องประชุมเกือบพร้อมเพรียงกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวัฒน์  บันลือ และ อาจารย์ธีระ  สาธุพันธ์ แนะนำการใช้ Blog go to know ฟังดูเหมือนง่าย สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ แต่สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ก็คงต้องขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากวิทยากร การใช้ Blog go to know มีประโยชน์มากสำหรับเป็นการนัดความรู้สำหรับบุคคล และ องค์กร

                จบการแนะนำเรื่อง การใช้ Blog go to know แล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชุม  ผงผ่าน  บรรยายเรื่อง “การเตรียมรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.” เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีพฤติกรรมการทำงานให้งานที่ทำมีคุณภาพ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย ฯลฯ  ให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรเรียนรู้และองค์กรคุณภาพแท้จริง แม้อาจต้องใช้เวลามากบ้างก็ตาม

                กิจกรรมสุดท้ายของการประชุม คือ การล้อมวงให้แต่ละท่านพูด (AAR)

 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28818เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ตึก 3  มีปัญหาเรื่องเน็ตมาก

การนำความรู้เรื่องการความรู้ ไปปฏิบัติ ได้นั้น จะต้องมีการอบรมและให้อาจารย์ได้ลงมือปฏิบัติด้วย มิใช่สาธิตอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ให้อาจารย์ดูและนึกภาพพจน์ตามไป คนที่จะพอเข้าใจและทำได้ก็คืออาจารย์ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ส่วนท่านอื่น ผมคิดว่ายังมองไม่เห็นทาง

ผมก็ได้รับการอบรมโดยการฟังและดูสาธิต อย่างเดียวประมาณ 2 ชั่วโมง เมื่อกลับบ้านก็ต้องมานั่งคิดนอนคิดและทำอีก ครึ่งวัน ก็พอทำได้นิดหน่อย หลังจากนั้นก็มาทบทวนอีกจนพอเข้าใจและขยายผล นำไปสอนนักศึกษาปริญญาโทสาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ประมาณ 50 คน ฝึกปฏิบัติประมาณ 12 ชั่วโมง ครับผม

บัดนี้ท่านสามารถไปชมบล็อกของกระผมและของนักศึกษาได้ที่

http://gotoknow.org/ymanit  และ

http://spaces.msn.com ครับผม

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องตระหนักคือระบบอินเทอร์เน็ตต้องมีความคล่องตัวไม่ใช้เกินไป และไม่ติด ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นกับผมเมื่อ สัปดาห์ที่แล้ว กรุณาไปอ่านบล็อกของกระผมได้ ก็จะรู้ถึงปัญหาครับ

มานิต

ผมสอบถามอาจารย์และเจ้าหน้าที่หลายคนแล้วว่ามาอบรม เรื่องการจัดการความรู้ ที่แก่งสะพือ ระยะเวลา 1 วันครึ่งนี่ได้ไปสร้างบล็อกกันบ้างหรือยัง ได้คำตอบว่ายังไม่ได้ทำและทำไม่ได้ เพราะวิทยากรมาแนะนำบนจอ แค่ 1 ชั่วโมงเศษ ๆ เท่านั้นเอง  มีจุดประสงค์เพื่อให้รับรู้ อย่างเดียวหรือเปล่า ถ้าต้องการให้เรียนรู้และทำอย่างจริงจังก็ควรจะต้องเข้าฝึกปฏิบัติ ใช้เครื่องสมัครเข้าร่วมวงการ gotoknow เขา บางคนยังจับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เป็นเลยก็มี  ถ้าจะให้ได้ผลจริง ๆ ผมว่าหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมทุกรุ่นแล้ว ก็ควรมาจัดโปรแกรมให้แต่ละคณะหรือแต่ละกลุ่ม ฝึกปฏิบัติกันจริง ๆ จึงจะเกิดผล และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปตั้งเจ็ดแสนบาทครับ

มานิต... ปล.ขอแก้ไขที่อยู่ของ spaces ใหม่ตามข้างล่างนี้นะครับ  ขอบคุณครับ

http://spaces.msn.com/ymanit

เมื่อวันศุกร์ท่ผ่านมาได้เรียนรู้เรื่อง KM  แล้ว  อาจารญย์ให้ความรู้แล้วเข้าใจเป็นอย่างดี ขอขอบคุณอาจารย์มาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท