อธิบายเศรษฐกิจกับการจ้างงานต่างกันอย่างไร ศึกษาธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา


แนวโน้มการบริโภคในครึ่งหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่า การอุปโภคบริโภคจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในครึ่งปีแรก เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและเห็นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำกว่านี้มีน้อยลง

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

3. อธิบายเศรษฐกิจกับการจ้างงานต่างกันอย่างไร ศึกษาธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา

 

                คำว่า เศรษฐกิจ หรือ Economy มีที่มาดั้งเดิมจากคำในภาษากรีกสองคำคือคำว่า Oikos แปลว่า บ้านเรือน กับคำว่า Nomos ที่แปลว่า กฎ

                คำว่า Economy จึงหมายถึง การจัดการปกครองเคหะสถานอย่างชาญฉลาดและเป็นธรรมให้เกิดผลดีแก่คนทั้งครอบครัว

                ต่อมาความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ (Economy) ครอบคุมถึงการจัดการปกครองของรัฐ ซึ่งโดยนับก็เหมือนกับครอบครัวขนาดมหึมานั้นเอง

                พระพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ คือการกระทำที่ดีที่สุด ผลออกมาก็ดีที่สุด ทำให้มนุษย์มีสันติภาพได้ไม่มีอันตรายและแก้ปัญหาได้ด้วย และเศรษฐกิจจะต้องมีศิลธรรมรวมอยู่ด้วย

                ฉนั้นคำว่า เศรษฐกิจ ของประเทศจึงหมายถึง องค์กรรวมที่จะดูแลความเป็นไปความเป็นอยู่และความอยู่รอดของประเทศชาติในทุกแง่มุมเช่น การบริโภคภาคเอกชน, การลงทุนภาคเอกชน, การส่งออก, การจ้างงาน, ตลาดทุน,การเงินการธนาคารและสินเชื่อ          

                การจ้างงาน หมายถึง การจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงานในการเข้าไปบริการและทำงานในแต่ละธุรกิจและองค์กร

 

ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและธุรกจิในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 และแนวโน้มครึ่งปีหลังของ 2552

                สถาบันและสมาคมธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 242 ราย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 รวมถึงผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ (Business Sentiment Survey) 1 และการสำรวจพิเศษเรื่องการลงทุนปี 25522 พบว่าภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงชะลอตัว แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวบางธุรกิจส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคำสั่งซื้อปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่ได้ปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเป็นผลต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ผู้ประกอบการปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การบริหารระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการเพิ่มความระดับระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น

                สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมทั้งด้านการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ยกเว้นการลงทุนจากภาคเอกชนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ตามอุปสงค์ที่ยังอ่อนตัวและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ประกอบการยังคงกังวลต่อปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเบิกจ่ายงบประมาณที่เร่งตัวขึ้นมากในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 น่าจะมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจให้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

 

การบริโภคภาคเอกชน

                การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน (Durable Goods) อาทิ อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 ปี 2552 การชะลอตัวเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ด้านการอุปโภคบริโภค เช่นนโยบายเช็คช่วยชาติ มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ในด้านบริการการท่องเที่ยวหดตัวต่อเนื่อง จากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เป็นผลจากการถดถ่อยต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลัก อาทิ เอเชีย ยุโรป และอเมริกา จากความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลทางจิตวิทยาอย่างมากต่อตลาดนักท่องเที่ยวเอเชียซึ่งเป็นตลาดหลักในช่วง Low Season และจากการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในตอนใต้ของประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ผ่านมายังไม่ส่งผลชัดเจนมากนัก

                แนวโน้มการบริโภคในครึ่งหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่า  การอุปโภคบริโภคจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในครึ่งปีแรก เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและเห็นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำกว่านี้มีน้อยลง

 

การลงทุนภาคเอกชน

                ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการเพิ่มความระดับระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ทำให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังค้างสต๊อกอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลงให้สอดคล้องกับยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรักษาสภาพคล่องของธุรกิจไว้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ จึงชะลอการลงทุนทั้งในด้านการก่อสร้าง และเครื่องจักรและเครื่องมือ

 

 

 

การจ้างงาน

                แม้ว่าบางอุตสาหกรรมจะเริ่มมีการรับแรงงานบางส่วนกลับเข้ามาทำงาน แต่ภาวะการจ้างงานโดยรวมยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิต สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามการจ้างงานในภาคการค้าและการบริการโดยรวมยังขยายตัว สะท้อนถึงความสามารถของตลาดแรงงานในการรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง

                ทางด้านจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา พบว่า ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาส โดยในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจพยายามไม่ปลดคนงาน แต่จะลดชั่วโมงการทำงานลงและไม่ปรับขึ้นเงินเดือน (Salary Freeze) หรือปรับขึ้นในอัตราที่ลดลงแทน เพื่อรักษาแรงงานที่มีฝีมือและความเชี่ยวชาญเอาไว้รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและในไตรมาสนี้ บางอุตสาหกรรมได้มีการรับคนงานบางส่วนกลับเข้ามามากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ

 

 

                จากผลการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและไม่สามารถขยายธุรกิจ การปรับราคาสินค้าทำได้ยากในภาวะการหดตัวของอุปสงค์ทั้งจากตลาดในและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูงระหว่างคู่แข่ง นอกจากนี้ แรงกดดันทางด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น ตลอดจนความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง  ยังคงเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในไตรมาสนี้

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile:

                        แนวโน้มการลงทุนในครึ่งหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่มีแผนการลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทยยังเปราะบาง จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาภาคการส่งออกในระดับสูง จากผลการสำรวจพิเศษ พบว่าร้อยละ 60.10 ของผู้ประกอบการไม่มีแผนการลงทุนใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนผู้ประกอบการที่มีแผนการลงทุนร้อยละ 70 เป็นการลงทุนเพื่อบำรุงรักษาหรือทดแทน (Replacement) (ดูรายละเอียดในบทวิเคราะห์เรื่อง วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนจากผลการสำรวจผู้ประกอบการและนัยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ)

 

การส่งออก

            การส่งออกหดตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากอุปสงค์ต่างประเทศที่หดตัวลงมาก โดยเฉพาะจากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากคำสั่งซื้อล่วงหน้าของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าในเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีคำสั่งซื้อในต่างประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้าจากผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการ Re-stock สินค้าคงคลังของผู้ซื้อในต่างประเทศ หลังจากที่สินค้าคงคลังลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสก่อน

                การส่งออกในครึ่งหลังของปี 2552 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องตามการอ่อนตัวของอุปสงค์ต่างประเทศแต่เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่ำลง  อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นสะท้อนจากดัชนีการส่งออกในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นบ้าง

                     ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการด้านภาษีที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุน เช่น มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในต้นปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่มากนัก  สอดคล้องกับผลการสำรวจพิเศษเรื่อง การลงทุนปี 2552 พบว่า ร้อยละ 53.90 ของผู้ประกอบการมีแผนการลงทุนในปี 2552 ต่ำกว่าการลงทุนจริงในปี 2551 และมีเพียงร้อยละ 29.20 ที่มีแผนการลงทุนในระดับเดิม และการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อบำรุงรักษาและทดแทน

หมายเลขบันทึก: 286504เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพื่อนผมเขียนสรุปได้ดีมากเลยนำมาฝากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท