Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

อ.แหววคิดอะไรกับ Monday Meeting : หาที่ออกกำลังสมองกันไงคะ ?


อ.แหววคิดว่า ลูกศิษย์รุ่นหลังที่ไม่แสดงอาการ "เอ๊ะ" เพราะไม่คิด มิใช่คิดไม่เป็น หรือคิดไม่ออก  หรืออีกประการหนึ่ง ก็เพราะ ไม่คิดโดยเอาเป้าหมายของชีวิตตัวเองเป็นตัวตั้ง แต่ดันไปเอาชีวิตคนอื่นเป็นตัวตั้ง เมื่อคนอื่นนั้นก็ยังไม่มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน เจ้าคนแรกก็เลยเพี้ยนตามเจ้าของคนที่สอง ก็เลยเพี้ยนตามๆ กันอีกหลายคน

          ยกตัวอย่าง "ตั้มปรากรณ์" ที่ลุกขึ้นมาทำอะไรง่ายๆ

 

 

          ตั้มทำอะไร ? ง่ายๆ ก็คิดและเขียนในส่วนที่เป็นเรื่อง "บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องให้บริการสาธารณะในเรื่องการธนาณัติ แต่มีวิธีปฏิบัติที่อาจจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ อันนี้เป็น Monday Meeting ครั้งที่ ๓   ไงล่ะ

 

         

           อยากดูบรรยากาศการเสวนาทั้งหมด คลิกตรงนี้ค่ะ

           อ.แหววต้องยืนยันว่า เป็นการดีค่ะ เริ่มลุกมาบริหารสมองและนำไปสู่การสร้างเอกสารอ้างอิงให้ทีมวิจัยและบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด

            ตั้มส่งงานมาให้นานพอสมควร อ.แหววจะอ่านงานทั้งหมด ขอย้ำว่า ทั้งหมดในสองสามวันนี้ จะพยายามเคลียร์งานให้ถึงตั้ม ปัญหาของตั้มนั้น ก็คือ การต้องคิดโจทย์วิจัยให้ได้อย่างหนักแน่นและกินได้ คงต้องคุยกันนะ อ.แหววเองก็ต้องคิด แต่ตั้มต้องคิดมากกว่า อ.แหวว ถ้างานน้ำหนักเบา วิทยานิพนธ์ก็จะออกมาไม่ดี การสลับกันทำงาน คนที่ช่วยกันคิด ก็จะไม่มีเพียงแต่ อ.กับตั้ม จะมีประชาคมวิจัยที่มีคนหลากหลายที่เสียสละเพื่อกันนะคะ

           อ.แหววหวังจะเห็นภาพของการร่วมคิด กล่าวคือ ระหว่าง (๑) ลูกศิษย์ที่กำลังเตรียมงานวิจัยเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์อื่นๆ (๒) มวลมิตรที่ร่วมงานกับเราอย่างสม่ำเสมอ อาทิ อาจารย์ไชยวัฒน์ บุนนาค อาจารย์เสรี นนทสูตร อาจารย์พรชัย วิวัฒน์ภัทรกุล อาจารย์วีรวัฒน์ ตันปิชาติ ครูแดง เตือนใจดีเทศน์ อาจารย์วีนัส สีสุข อาจารย์จิรานุวัฒน์ ธัญญะเจริญ ต้องมาช่วยกันคิดล่ะนะ  (๓)  มวลมิตรอื่น อาทิ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Standford และ Austin ที่มาทักทอความคิดกับเรา

            หวังว่า ทีมวิจัย Europe Watch ที่จะมาเยี่ยมก็น่าสนใจ แต่ไม่ทราบว่า เวลาจะลงตัวไหมนะ

           อ.แหววเชื่อว่า ความรู้คืออำนาจ พลังของงานมันอยู่ตรงนั้น ตรงที่มนุษย์มีความรู้ ดังนั้น เมื่อมนุษย์ไม่อ่าน ไม่คิด ไม่เขียน ไม่พูด ...คือจุดจบของชีวิตวิชาการของมนุษย์ล่ะ

             อยากเห็นลูกศิษย์ที่กำลังเตรียมตัวสร้างชีวิตเพื่อออกสู่โลกภายนอก จงมีความอยากที่จะรู้ มากกว่า จะปล่อยชีวิตให้ถูกนำทางด้วยกระแสอารมณ์ที่หมุนระหว่างรัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ยั่งยืน หมดไปได้ กลับมาใหม่ได้ แต่องค์ความรู้เป็นเรื่องของเหตุผลที่มีลักษณะถาวรและชัดเจน

             Monday Meeting จึงเป็นเรื่องของการเปิดพื้นที่เพื่อฝึกเหตุผลของมนุษย์แต่ละคนที่จะเข้า เข้าใจ และพัฒนา องค์ความรู้เพื่อสังคมด้านต่างๆ

             แม้จะลุ่มๆ ดอนๆ สำหรับ Monday Meeting สำหรับคนที่สนใจวิจัยองค์ความรู้เพื่อคนที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล แต่ก็เป็นไปได้มา ๓ รอบแล้ว กล่าวคือ (๑) ครั้งที่ ๑ ว่าด้วยสิทธิในการรับส่งธนาณัติของชาวไทยภูเขาเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ณ ห้อง ๒๒๑ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒) ครั้งที่ ๒ ว่าด้วยความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะศึกษาและพัฒนาเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๕๒ ณ ห้อง ๒๒๑ (๓) ครั้งที่ ๓ ว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติและการใช้บริการธนาณัติของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒

 

             ครั้งต่อไป ก็ยังเป็นงานของคนที่สนใจด้านสิทธิในสถานะบุคคลอยู่ดี เพราะจะเสวนากันเรื่องการจดทะเบียนการเกิด (Birth Registration)          

              อยากเห็นความชัดเจนของคนที่สนใจกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ อย่างตั้มปรากรณ์ หรือติ้ง วรรษวรรณ หรือกฎหมายเทคโนโลยีอย่าง อ.โก๋ อิทธิพล ปรีติประสงค์

หมายเลขบันทึก: 286502เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์แหววค่ะ

อ่านบันทึกแล้วเห็นถึงพลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของการเรียนรู้ในการทำงานวิจัย ถ้ามีโอกาสน่าจะได้แลกเปลี่ยนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกันบ้างนะคะ ^_^

ชาว มอ. มาทำ Monday Meeting กับพวกเราไหมคะ ??

เอาเรื่องอะไรดี ??

อาจารย์แหววคะ

หนูแว้บมาตอบ comment อาจารย์ช้าไปหน่อยค่ะ พอดีวันนี้ยุ่งทั้งวัน จะเข้ามาดูความเคลื่อนไหว comment ที่แลกเปลี่ยนได้ก็ดีกแล้วค่ะ

เรามาแลกเปลี่ยนกันเรื่องอะไรดี หนูก็ยัง งง อยู่ว่าเราจะเริ่มต้นกันอย่างไรดีค่ะ เริ่มต้นถึงการทำวิจัยกันก่อน ดีไหมคะ หรือว่าจะยกประเด็นอะไรดีคะ.....อาจารย์

อยากแลกเปลี่ยนแต่ยังนึกไม่ออก จริงๆ ช่วงนี้หนูก็ทำวิจัยอยู่เหมือนกันค่ะ แต่ยังเป็นขั้นเริ่มต้นค่ะ ^_^

ตอบน้องมะปรางเปรี้ยวนะคะ

การเสวนาวิชาการเป็นไปได้เสมอค่ะ

อาจวิจัยก่อนพัฒนา

หรืออาจพัฒนาก่อนวิจัยก็ได้ค่ะ

สัมพันธภาพระหว่างคนทำงานด้านเทคโนโลยีและด้านกฎหมายก็เป็นอะไรที่น่าหาเวลามาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

ถ้ายังนึกไม่ออก ก็อาจมีข้อเสนอของ อ.โก๋ อิทธิพล ปรีติประสงค์เร็วๆ นี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท