มิติใหม่ของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล



          การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค. ๕๒ ถือเป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับสภาคณาจารย์   เพราะสภามหาวิทยาลัยได้มีมติเชิงหลักการ เปลี่ยนแปลงสภาคณาจารย์ จากสภาที่ทำหน้าที่ประชุม   เป็นสภาที่ทำหน้าที่ทำงานด้วย   โดยได้มอบหลักการให้สภาคณาจารย์ทำหน้าที่

๑.  ดูแลให้คณาจารย์มีสุขภาวะ ในทุกด้าน
๒.  ดูแลให้คณาจารย์มีคุณธรรม ความดี หรือจรรยาบรรณ
๓.  ดูแลให้คณาจารย์มีความสามารถ มีส่วนร่วมในการจัดการ การกำหนดนโยบาย การขับเคลื่อนงานวิชาการ    โดยมองจากสังคมเข้ามา  ไม่ใช่จากวิชาการออกไป   และโดยการสังเคราะห์ประเด็นเชิงนโยบายจากการทำงาน โดยผู้ทำงาน   เน้นงานวิชาการในประเด็นที่ต้องทำงานข้ามศาสตร์ ข้ามพรมแดนหน่วยงาน  

          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำวิธีทำงานเพื่อตอบโจทย์สังคม ๖ ขั้นตอน คือ (๑) สำรวจข้อมูล  (๒) ส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ  (๓) ใช้ KM  รู้คุณค่าความรู้ในตัวคน  (๔) สร้างความรู้ใหม่โดยทำวิจัยแบบ action research  (๕) สังเคราะห์ประเด็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ  (๖) สื่อสารประเด็นเชิงนโยบายทั้งภายในและภายนอกองค์กร 

          จะมีการยกร่างข้อบังคับ ว่าด้วยสภาคณาจารย์ เพื่อให้สภาคณาจารย์ทำหน้าที่นี้ได้

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ก.ค. ๕๒
        
         

หมายเลขบันทึก: 283295เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชื่นชมมหาลัยมหิดลครับ เชื่อว่า อาจารย์มีสุขภาวะที่ดี ก็จะส่งผลต่อ นักศึกษา รวมไปถึง บรรยากาศของการเรียนรู้ไปด้วย

คณาจารย์ทำงานเหนื่อยและหนัก นักศึกษาเป็นกำลังใจให้ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท