" การศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ "


กลุ่มบุคคลที่สังคมอาจมองข้าม อาจถูกละเลย อีกทั้งรังเกียจ ..แล้วคุณคิดเช่นไร...

   คงเป็นเรื่องที่น่าน้อยใจสำหรับเด็กที่เป็นเช่นนั้น  แต่เป็นสิ่งที่น่าท้าทายสำหรับครูที่จะให้การศึกษาหรือจัดการเรียนรู้กับเด็กที่มีความบกพร่อง และจะทำอย่างไรให้คนทั่วๆ ไปรู้สึกเห็นใจ อีกทั้งหันมาช่วยเหลือต่อเด็กที่มีความบกพร่องเหล่านั้น


            ใน พระราชบัญญัติการศึกษา พศ. 2542 ในเรื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้  กล่าวถึงการให้การศึกษาโดยทั่วถึงกัน มีความเท่าเทียมกันในการศึกษา  แต่สำหรับเด็กพิเศษแล้วเป็นเรื่องที่อาจเป็นไปได้ยากและก็ไม่ทั้งหมดที่เขานั้นจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง


    จากการที่ผมไปศึกษาดูงาน การศึกษาพิเศษ ได้ไปสัมผัสกับเด็กที่มีความบกพร่องเหล่านี้แล้ว ทำให้ผมคิดและเห็นในอีกมุมหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้พบเห็นได้มากนัก เด็กเหล่านี้น่ารักมาก และน่าสงสาร มีความบกพร่องต่าง ๆ กันไป เราจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไร และ


    คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าทุกครั้งที่คุณต้องการอ่านหนังสือ อ่านบทความ แต่วิธีการมองเห็นสิ่งที่อ่านจะไม่เหมือนกับคนอื่นๆ หรืออาจกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่เหมือนคนปกติ


            เมื่อเรามองย้อนถึงตัวเราเอง เรายังคงดีกว่าเด็กพวกนี้อีกหลายเท่า และต้องขอบคุณใครคนหนึ่งที่ทำให้เราเกิดมาปกติ


    เนื่องจากในอนาคตข้างหน้า ผมจะต้องเป็นคุณครูผมก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับเด็กพวกนี้ จากการเรียนและไปดูงานมาและต้องใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ ในการให้ความดูแลช่วยเหลือเด็กเหล่านี้อย่างถูกวิธี ให้การดูแล เอาใจใส่  เหมือนเด็กปกติทั่วไป


    การศึกษาพิเศษ หมายถึง การสอนพิเศษสำหรับเด็กที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กปกติทั่วไป แต่ไม่ใช่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทั่วๆ ไปของการศึกษาการศึกษาพิเศษอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนปกติเพียงเล็กน้อย สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและสิ่งที่โรงเรียนแต่ละแห่งจะต้องทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้จะต้องได้เรียนกับเด็กปกติและเรียนในชั้นเรียนพิเศษ การเรียนในชั้นเรียนพิเศษอาจใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสถานการศึกษาต่าง ๆ และควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือเด็กด้วย จะเป็นประโยชน์มาก

     การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กพวกนี้ควรจะ  การสอนให้เด็กคิด กระตุ้นให้เด็กคิด เพื่อให้เกิดทักษะและเกิดกระบวนการในการพัฒนาการของสมองต่อไป รวมถึงฝึกการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม


      แม้มีปัญหาหรือคำถามตามมามากมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษารูปแบบนี้ แต่ในความคิดของผมก็ยังยืนยันว่าเป็นวิธีที่สุดในการจัดการศึกษาต่อเด็กบกพร่องในขณะนี้ และยังต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

<div align="center"><hr width="100%" size="2"></div>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2819เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2005 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผศ.ประไพ สิทธิเลิศ

ยินดีที่สามารถสร้างบลอกได้  ให้อัพโหลดรูปของตัวเองที่เหมาะสมกว่า รายงานที่มีความยาวมากควรอัพโหลดไฟล์แล้วใช้การลิงค์จะดีกว่า  

หน้าจอภาพ ควรปรับแต่งใหม่ใด้ดูเป็นระเบียบสาวงามหน้าอ่าน

ขณะนี้อาจารย์กำลังตรวจงานที่ส่งมา  นักศึกษาสามารถปรับแต่งหรือเพิ่มเติมข้อมูลได้

อ.วิรัตน์ชัย ยงวณิชย์

การศึกษาพิเศษ น่าจะเป็นการจัดการศึกษา นะครับไม่น่าจะเป็นการสอนพิเศษ หรือจะใช้คำว่าการสอนในลักษณะพิเศษ

"ในอนาคตข้างหน้า ผมจะต้องเป็นคุณครูผมก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับเด็กพวกนี้ จากการเรียนและไปดูงานมาและต้องใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ ในการให้ความดูแลช่วยเหลือเด็กเหล่านี้อย่างถูกวิธี ให้การดูแล เอาใจใส่  เหมือนเด็กปกติทั่วไป"

เป็นความตระหนักคิดที่ดีหากใช้การพิจารณาและการสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่เราสอนทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติ ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอะไร แล้วหาทางส่งเสริมก็จะเป็นคุณครูที่ดีได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท