รายงานการศึกษาดูงาน การจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ


" เขาไม่ได้ต้องการความสงสาร เขาต้องการเพียงแค่โอกาส "

     

รายงานการศึกษาดูงาน

การจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ

จากการศึกษาดูงานที่เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ณ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในว่าที่ 8 สิงหาคม 2548 ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในสภาพการณ์จริง

       ชั้นเรียนที่ข้าพเจ้าเข้าไปสังเกตนั้น มีเด็กชายหนึ่งคนที่เป็นเด็กพิเศษ น้องเป็นบุคคลออทิสติก ซึ่งทราบจากอาจารย์ที่ดูแลว่า เมื่อเริ่มแรกที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียนที่โรงเรียนนั้น น้องไม่เชื่อฟังใครเลย วิ่งรอบห้องอยู่ตอลดเวลา และไม่คลุกคลีกับใคร ในช่วงแรกจึงให้น้องเข้ารับการบำบัดไปด้วยและเรียนไปด้วย แต่ในวันที่เข้าไปสังเกตนั้น น้องดูไม่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ดูเรียบร้อย แต่จากการสังเกตในระยะเวลานานขึ้น จึงพบอาการคือน้องมักจะนั่งเงียบอยู่ในโลกส่วนตัวของตัวเอง หากมีคนถามก็จะตอบ สังเกตว่าหากน้องต้องการที่จะทำอะไรก็จะต้องทำให้ได้ เช่น ในขณะที่ทำงานที่อาจารย์สั่งอยู่น้องอยากไปอ่านการ์ตูนก็จะลุกไปเลย อาจารย์ที่ดูแลอยู่ต้องมาอธิบายน้องจึงจะยอม ทราบจากอาจารย์อีกว่าน้องมีความสามารถทางด้านศิลปะเป็นพิเศษ ที่สำคัญน้องมีความจำที่ดีมาก สามารถจำได้เร็วและจำได้นาน สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้นจัดให้เป็นเหมือนเด็กปกติคนหนึ่งเพียงแต่ต้องมีอาจารย์อีกท่านหนึ่งคอยดูแล เมื่อมีกิจกรรมกลุ่มเพื่อนก็จะมาดึงให้น้องเข้ากลุ่มด้วย น้องจะเข้าร่วมงานกลุ่มด้วยแต่ต้องคอยกระตุ้นให้ทำกิจกรรม สำหรับการประเมินนั้นทราบจากอาจารย์ว่าใช้ขอสอบชุดเดียวกับเด็กปกติเพียงเกณฑ์อาจจะต่ำกว่าเด็กปกติเล็กน้อย แต่จากการที่สังเกตคิดว่าน้องมีความสามาารถในการเรียนรู้ไม่ต่างจากเด็กปกติมากนัก

       จากการศึกษาดูงานที่โรงเรียนโสตศึกษา นนทบุรี ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหลายอย่าง เช่น เด็กเหล่านี้มีความยกพร่องกลายระดับ ตั้งแต่ระดับที่ได้ยินบ้าง ไปจนถึงไม่ได้ยินเลย และได้ทราบว่าอันที่จริงแล้วเราสามารถสอนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเหล่านี้สามารถออกเสียงพูดได้ถึงแม้จะไม่ชัดเจนแต่ก็รู้ว่าพูดอะไร ได้ไปดูห้องฝึกพูด ห้องฝึกฟัง ห้องฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กอนุบาล จากการสอบถามอาจารย์ผู้ให้ข้อมูลทราบว่ามีนักเรียนที่จบจากโรงเรียนโสตศึกษา นนทบุรีแล้วได้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ทำให้ทราบว่าอันที่จริงแล้วเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินก็สามารถพัฒนาศักยภาพให้เท่าเทียมกับเด็กปกติได้หากได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาที่ถูกต้อง ที่โรงเรียนโสตศึกษา นนทบุรี ยังเป็นที่ทำการของศูนย์การศึกษาพิเศษนนทบุรีด้วย จากการเข้าไปศึกษา และสังเกตภายในศูนย์พบว่ามีเด็กหลายคนที่มีลักษณะเหมือนเด็กปกติ เช่น เด็กผู้หญิงคนหนึ่งทราบจากเจ้าหน้าที่ว่า เมื่อน้องเรียนจบ ป.6 ก็ไม่ได้เรียนต่อเพราะโรงเรียนไม่รับ เนื่องจากน้องมีปัญหาทางด้านการพูด โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะจากเท่าที่สังเกตอาการน้องดูปกติมาก เข้าร่วมกิจกรรมทุกอย่างตามปกติ น้องน่าจะมีมีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนปกติควบคู่ไปกับการบำบัด

       การไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรีทราบว่า เป็นศูนย์ที่ให้การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ทางสติปัญญาหรือร่างกาย ที่ศูนย์แห่งนี้แบ่งการให้บริการเด็กออกเป็นสองกลุ่มคือแบบหมุนเวียนประจำ และแบบไปกลับ ศูนย์ฯ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม บำบัดฟื้นฟูและเก็บตกเด็กพิการที่ขาดโอกาส เพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ภายในศูนย์ฯ มีห้องสำหรับฝึกพัฒนาการเด็กหลายห้อง เช่น ห้องฝึกพัฒนาการทางร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ห้องฝึกการมองเห็น สนามฝึกประสาทสัมผัส ห้องดนตรีสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์รวมทั้งบุคคลออทิสติก นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีการร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการ

       การไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล ทราบว่าเป็นโรงเรียนสำหรับผู้เด็กพิเศษหลายประเภท ได้มีโอกาสเข้าไปดูการทำกิจกรรมในห้องเรียนของเด็ก ๆ ทำให้สังเกตได้ว่ามีเด็กหลายคนที่มีลักษณะอาการเหมือนเด็กปกติทั่วไป ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะให้เขาหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติเพราะการที่ให้เขาเรียนร่วมกับเด็กพิเศษด้วยกันทำให้เขาไม่เห็นพฤติกรรมที่ปกติทั่วไป หากเขาได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติเขาจะได้เห็นตัวอย่างที่เป็นปกติเขาก็จะมีพัฒนาการที่ดี และเร็วกว่าการที่ให้เขาเรียนกับเด็กพิเศษด้วยกัน

      

       เด็กพิเศษในประเทศของเราแม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน ทั้งด้านงบประมาณ และอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ที่ขาดอยู่คือ บุคคลสากรที่มีความรู้ความสามารถเพราะจากการสังเกตพบในแต่ละศูนย์หรือโรงเรียนแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเรียนร่วมหรือโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษยังขาดบุคคลากรอยู่มาก ดังนั้นภาระแรกที่รัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันคือสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้เฉพาะเพื่อให้ความช่วยเหลือเต็มประสิทธภาพมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2813เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2005 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 good! พยายามต่อไปนะ

ยินดีมากที่นักศึกษาเข้ามาใช้บลอกเพื่อเสนอสี่งที่เรียนรู้ อาจารย์เห็นด้วยว่านักเรียนเรียนร่วมนั้นต้องการมากกว่าความสงสาร ทำอย่างไรเข้าจึงจะมีโอกาสไม่ต้องเท่าเทียมหรอก แค่มากกว่าที่เป็นอยู่ก็พอ

อ.วิรัตน์ชัย ผอ.สถานศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรี
บุคลากรที่อยู่ในโรงเรียนหากเติมเต็มความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการก็จะมีส่วนช่วยให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสศึกษาใกล้บ้านและเป็นโอกาสที่สำคัญมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท