เพื่อคนที่คุณรัก


ถ้าหากพ่อแม่พยายามเปลี่ยนแปลงอย่างอดทน ทุ่มเทและเต็มใจ กำแพงที่เคยกางกั้นความสัมพันธ์ในครอบครัวเอาไว้ก็มีวันพังทลายได้เช่นกัน

เมื่อลูกยังเล็ก หลายครอบครัวอาจมีเสียงบ่นแกมเอ็นดูว่าเด็ก ๆ นั้นช่างพูดเป็นต่อยหอย แต่ละวันมีเสียงเด็กตัวเล็ก ๆ เจื้อยแจ้วเรียกรอยยิ้มจากผู้ใหญ่ทั้งหลายไม่หยุด แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นเรื่อย ๆ เสียงที่เคยพูดจ้อกับพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ก็เริ่มขาดหาย กลายเป็นความเงียบเข้ามาแทนที่ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ อาจมีพ่อแม่พี่ป้าน้าอาหลายคน เริ่มรู้สึกได้ถึงบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไป
       เป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วจะมีโลกของตัวเอง และอาจเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ด้วยซ้ำที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในโลกของลูกวัยรุ่นเหล่านั้น แต่การพยายาม "ต่อให้ติด" หรือสร้างลิงค์เชื่อมโยงพ่อแม่ลูกเข้าด้วยกัน ให้เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
เรามีข้อมูลดี ๆ จากเว็บไซต์
more4kids.info ที่ให้คำแนะนำในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ลูก ให้สามารถเปิดใจถึงกันได้ ไม่ว่าจะเข้าสู่วัยใดก็ตามมาฝากกันค่ะ
       
       
เป็นตู้เอทีเอ็ม"เวลา"
       
       เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อใครต้องการเงินสดก็สามารถกดได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ตู้เอทีเอ็ม พ่อแม่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้ลูก ๆ เข้าหา ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการ "เบิก" เวลาอยู่เสมอ เมื่อใดก็ตามที่ลูกเห็นว่าพ่อแม่กำลังเครียด หรือมีภาระงานมากเกินกว่าที่จะเปิดโอกาสให้เขาได้พูดคุย เขาก็จะถอยห่างออกจากคุณไป แต่เมื่อใดที่พ่อแม่อยู่ในอารมณ์สบาย ๆ และมีบรรยากาศเปิดใจพร้อมจะรับฟัง เด็กก็จะหาโอกาสเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เพื่อพูดคุยกับพ่อแม่ของพวกเขาเช่นกัน
ไม่ซีเรียสมากเกินไป
       
       พ่อแม่บางคนใช้ความพยายามผิดวิธีที่จะให้ลูก ๆ เปิดปากพูดคุยกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามที่กดดันเด็กจนเกินไป จนทำให้บรรยากาศดูอึมครึม ซึ่งเด็ก (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เอง) ไม่ชอบบรรยากาศแบบนั้นแน่นอน และจะดีกว่าหากพยายามทำให้ทุกอย่างผ่อนคลายลง หรือถ้าทำไม่ได้ ก็ถอยห่างออกมาก่อน

ทำกิจกรรมร่วมกัน
       
       การทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว โดยเฉพาะกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชื่นชอบเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยให้ลูก ๆ เปิดใจพูดคุยกับพ่อแม่มากขึ้น

ถามคำถามปลายเปิด
       
       ลักษณะการถามคำถามปลายเปิด เช่น ทำไม, อย่างไร, เพราะเหตุใด จะช่วยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา และหากพ่อแม่ถามต่อ ก็จะกลายเป็นการสนทนาที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคงดีกว่าสำหรับพ่อแม่ที่ลูกจะตอบคำถามแค่ "ใช่ครับ-ไม่ใช่ครับ" จริงไหมคะ

ชวนคุยในรถ
       
       การชวนลูกคุยขณะนั่งรถก็เป็นอีกหนทางที่ดี โดยใช้ร่วมกับข้ออื่น ๆ เพราะเด็กจะไม่สามารถหนีออกจากรถเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยครั้งนี้ได้ และไม่ควรให้เด็กจดจ่ออยู่กับเกม หรือโทรศัพท์มือถือจนไม่สนใจการชวนคุยของพ่อแม่ในครั้งนี้ไปเสีย

อย่าด่วนสรุป
       
       การด่วนตัดสินในสิ่งที่ลูกทำ หรือจัดอบรมชุดใหญ่เมื่อทราบว่าลูกทำสิ่งที่คุณคิดว่า "ไม่เหมาะสม" จะทำให้เด็กรู้สึกว่าการคุยกับพ่อแม่เป็นช่วงเวลาที่น่าเบื่อหน่าย ตรงกันข้าม หากพ่อแม่พยายามฟังในสิ่งที่ลูกอยากบอก สังเกตในสิ่งที่ลูกอยากเป็น จะทำให้เด็กรู้สึกว่า พ่อแม่สนใจในตัวเขาจริง ๆ

       สร้างสัมพันธภาพแบบเพื่อน
       
       สำหรับเด็กวัยพรีทีน หรือวัยที่เตรียมพร้อมจะก้าวสู่การเป็นวัยรุ่น การทำตัวเป็นเพื่อน หรือสัมพันธภาพแบบเพื่อนเป็นสิ่งที่พ่อแม่จำเป็นต้องเข้าใจไม่แพ้การบทบาทการเป็นพ่อแม่ เด็ก ๆ อยากได้พ่อแม่ที่คุยได้เหมือนคุยกับเพื่อน แต่แน่นอนว่า การเล่นบทเพื่อนในครั้งนี้ไม่ใช่การปล่อยตัวเองให้กลายเป็นเพื่อนลูกไปจริง ๆ เพราะพ่อแม่ยังต้องคงไว้ซึ่งหน้าที่ในการให้คำแนะนำกับลูก ๆ ต่อไป แต่สำหรับลูก ๆ วัยนี้แล้ว ช่วงเวลาแห่งการอบรม น้อยได้เท่าไรยิ่งดี

ทวนสิ่งที่ลูกพูดอีกครั้งหนึ่ง
       
       การกล่าวทวนสิ่งที่ลูกพูดไปแล้วอีกครั้ง ทำให้เด็กรู้สึกว่าพ่อแม่สนใจฟังสิ่งที่เขาพูดจริง ๆ และทำให้เด็กรู้สึกว่าพ่อแม่สนใจในสิ่งที่เขากำลังบอกเล่าให้ฟัง
       
       สำหรับพ่อแม่ที่ประสบปัญหาด้านการสื่อสารกับลูก ๆ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เด็ก ๆ เกิดความไว้วางใจ เชื่อใจ หรืออยากจะกลับมาพูดคุยกับพ่อแม่เหมือนเดิม แต่ถ้าหากพ่อแม่พยายามเปลี่ยนแปลงอย่างอดทน ทุ่มเทและเต็มใจ กำแพงที่เคยกางกั้นความสัมพันธ์ในครอบครัวเอาไว้ก็มีวันพังทลายได้เช่นกัน



หมายเลขบันทึก: 281615เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชวนคุยในรถ ข้อนี้แหละใช้ประจำ

ดีค่ะ...เพื่อความสุขและความอบอุ่นของครอบครัว..padee ใช้วิธีนี้บ่อยเหมือนกันค่ะ..ลูกโตรึยังคะ?

มาชม

เพราะมีคนรักจึงเข้ามาอ่านนะครับ

ขอบคุณนะคะumi

มีความสุขกะคนที่รักทุกวันนะคะ

จะเข้าไปติดตามบทความของumiเพื่อประเทืองปัญญาบ่อยๆค่ะ

เข้ามาอ่านครับ ดีมากครับ

หวัดดีค่ะ kookkaija ขอบคุณนะคะที่เข้ามาอ่าน แสดงว่ามีคนที่รักใช่มั๊ยคะ? ยังไงซะก็อย่าลืมไปใช้แล้วกันนะ อยากเห็นทุกครอบครัวมีความสุขค่ะ

สวัสดียามดึกๆครับ คุณkrupadee

  • ผมแวะมาเยี่ยม  มาขอบคุณ  ที่คุณให้เกียรติแวะไปเยี่ยม
  • ผมมารับรู้เรื่องราวดีๆ มีประโยชน์มากมาย
  • ปกติผมจะตื่นมาทำงานตอนหลังเที่ยงคืน...นะครับ
  • และจะเข้านอนตอนหัวค่ำ
  • ยามค่ำคืนว่างๆแวะไปได้เลย  ยินดีต้อนรับเสมอ
  • โชคดีมีสุขนะครับ

P หวัดดีค่ะ

ตื่นมาทำงานหลังเที่ยงคืน แล้วหลับอีกทีตอนไหนคะ

นอนมากหน่อยเพื่อสุขภาพนะคะ

โชคดีมีสุขเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท