สาเหตุของปัญหาการเข้าระบบ Gotoknow.org ในช่วงนี้


ดิฉันคงต้องอธิบายใน 5 ประเด็นในเรื่องที่ว่า ทำไม Gotoknow.org (Gotoknow) จึงเข้าใช้ไม่ค่อยได้ในช่วงนี้:

1) ความนิยมใน Gotoknow ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มี search engines หน้าตาแปลกๆ เข้ามาเก็บข้อมูล (Crawl) อยู่เรื่อยๆ ทางผู้ดูแลระบบได้ set ไฟล์ robots เพื่อบอกไว้แล้วว่า ไม่ให้เจ้า search engines เหล่านี้เข้ามาเก็บข้อมูล แต่พวกนี้ก็ไม่ค่อยยอมฟัง ก็เลยทำให้ traffic ใน gotoknow ช่วงนี้ค่อนข้างจะ busy

2) ทางทีมงานมั่วคร่ำเคร่งทำ gotoknow เวอร์ชัน 2 เพื่อจะทันภายในเดือนนี้ ก็เลยยังไม่ได้มีโอกาสเข้ามาสืบเสาะหาเหตุผลอย่างใกล้ชิดว่าทำไม robots เหล่านี้จึงไม่ค่อยย่อมฟังไฟล์ที่เรา set กันเอาไว้

3) gotoknow version 1.0 ที่ใช้อยู่ ค่อนข้างช้า code ทั้งหมด และ framework ทั้งหมด เราพัฒนาขึ้นมาเองด้วยอยากลองทำเอง แต่ใน version 2.0 ที่กำลังพัฒนาใกล้จะเสร็จแล้วนี่ เราใช้ framework ของ Ruby on Rails ซึ่งเป็น framework ในการพัฒาเว็บที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงน่าจะเหมาะต่อการพัฒนาต่อยอด เหมาะต่อการเป็น open-source เหมาะต่อการนำไปใช้ในองค์กร และ เหมาะต่อการรองรับ users ปริมาณเยอะๆ ได้ดี

4) เครื่องแม่ข่ายที่วาง gotoknow ไว้นี้ ยังวาง web applications อื่นอีกด้วย เพื่อการรวบรวมความรู้จากทั่วโลก ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับคนไทยและคนทั่วโลก ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน เช่น http://PlanetKM.org, http://PlanetHCI.org และ http://ThaiMatter.org เป็นต้น

5) gotoknow เป็นการให้บริการฟรีของ สคส. ซึ่งไม่ได้หวังผลกำไรใดๆ เราจึงต่างกับ พันธ์ทิพย์ หรือ กับทีอื่นๆ ที่เป็น commercialize ซึ่งเค้าสามารถจ่าย ซื้อ หรือ เช่า เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ได้ เค้าสามารถจ้างทีมงานคอยดูระบบแบบใกล้ชิดได้ตลอด 24 ชม. อีกต่างหาก

ส่วน gotoknow เราก็ได้เปลี่ยนไปเช่าเครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเครื่องเดิมมาหลายเดือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่เครื่องที่เยี่ยมที่สุดแน่นอน ส่วนเรื่องการดูแลระบบนั้น ก็มีเพียงแค่ดิฉันและดร.ธวัชชัยเท่านั้นคะ ส่วนการหาคนมาดูแลระบบเพิ่มเติมนั้น ก็ได้พยายามเสาะหาแล้ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่หากันได้ง่ายๆ คะ

อดทนรอ version 2 กันอีกนิดนะคะ จะเอาขึ้นให้ทดลองใช้กันในไม่เกินอาทิตย์หน้าคะ

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาระบบ
หมายเลขบันทึก: 28145เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
>> ทำไม robots เหล่านี้จึงไม่ค่อยย่อมฟังไฟล์ที่เรา set กันเอาไว้ อย่าไปคิดเลยครับว่า search engines ทุกตัว จะทำตามกฏกติกา เหมือนกันซะทุกตัว.... จุดประสงค์ของ search engine บางตัว ก็ไม่ได้มาทำ web index เสมอไป

ขอบคุณครับ crawler บางตัวก็เข้ามาหาจุดอ่อนของระบบ crawler บางตัวก็มาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ กันไป โดยปกติเราก็คอยตรวจสอบอยู่ตลอดครับ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ   ที่บำราศก็ใช้มากขึ้นด้วยค่ะ
  • ขอบพระคุณมาก
  • ขอให้กำลังใจท่านอาจารย์นะครับ

 

ขอบคุณสำหรับทั้งแรงกายแรงใจที่ทั้งอ.จันทวรรณและ อ.ธวัชชัยทุ่มเทให้กับงานนี้เป็นอย่างมากค่ะ ขอให้ทำสำเร็จได้ดังใจหมายในทุกๆเรื่องนะคะ โดยเฉพาะเรื่องหาคนมาช่วยแบ่งเบาภาระงาน ชื่นชมและเอาใจช่วยอยู่เสมอค่ะ
เอาใจช่วยค่ะ เอาใจช่วย  ^o^9 เย้ สู้ๆ

อาจารย์ค่ะ หนูขอสอบถามอาจารย์เรื่องการนำเอา Blog มาใช้เป็น Intrablog ค่ะ ได้ยินมานาน จึงอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ 

ขอขอบพระคุฯอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

เมื่อเป็น open-source แล้ว คุณก็ download เอา source-code ไปลงใน server ที่ใช้เฉพาะในองค์กร และต้องจัดการลง MySQL ส่วน OS จะเป็น FreeBSD หรือ ตระกูล Linux ก็ได้คะ เดี๋ยวจะมี Instructions ไว้ให้คะ

เป็นกำลังใจให้นะครับ..รอคอย version 2 อยากใช้ไวๆ
    มาร่วมส่งกำลังใจให้ทั้งสองท่านครับ .. ขอบคุณแทนสมาชิกทั้งมวล .. gotoknow คือสื่อสร้างสรรค์ที่ทรงพลัง และนับวันจะยิ่งพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่าความเหนื่อยยากของท่านนั้น มีคุณูปการต่อโลกแห่งการเรียนรู้ของคนไทยอย่างยิ่ง  สุขที่ได้เหนื่อยยาก มีอยู่จริง ทั้งสองท่านน่าจะกำลังพิสูจน์อยู่
ขอบคุณอาจารย์ที่บอกสาเหตุที่เกิดขึ้น..ให้เพื่อนๆได้รับทราบ

ผมขอแลกเปลี่ยน ดังนี้
ที่ ม.สงขลานครินทร์ น่าจะใช้ kotoknow เป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาที่เรียนด้านนี้ (วิศวะ, วิทยาการ/คอมพ์ สารสนเทศ ฯลฯ ) มาศึกษาเป็นวิชา Lab ในลักษณะจำลองว่าตนเองเป็นผู้ให้บริการ ISP, WebHosting ต้องมีกระบวนการในการจัดการเพื่อจะได้ผลิตบุลคลากรที่มีประสบการณ์ และคุณภาพ และน่าจะได้นักศึกษามาเป็นอาสาสมัครช่วยเป็นผู้ดูแลระบบให้ด้วย..

หรือว่าทำอยู่แล้วครับ..555
  • กำลังจะพูดอยู่พอดีเลยครับว่า
  • ถ้าไม่มีอาจารย์ภาคคอมพิวเตอร์ (จะคณะอะไรก็ช่าง) ก็ลองเปรยๆ กับนักศึกษาดูครับ
  • นักศึกษาเก่งๆ เราก็คงพอมีอยู่บ้าง เคยได้ข่าวว่าสมัยหนึ่งบริษัทที่กรุงเทพฯ มาจ้างนศ.วิศวคอมฯ ปี 3 คนนึงให้ไปทำงานที่กรุงเทพฯ คือบินไปทำงานแล้วก็บินกลับมาเรียนอย่างนี้เลยครับ ในสมัยที่ยังไม่มี Low cost แอร์ด้วยซ้ำ
  • มีวีรกรรมทางคอมพิวเตอร์เยอะแยะที่นักศึกษาวิศวฯ (ทุกภาควิชา) รุ่นเก่าๆ ได้เคยสร้างไว้ กับ server ของม.อ. และ server ของบริษัทต่างๆ ที่มี security เป็นอย่างดี(แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในที่นี้ได้) และผมเชื่อว่ารุ่นน้องๆ คงทำได้ไม่แพ้รุ่นพี่ครับ อย่างเช่นน้องคนข้างบนได้งานเพราะไปสร้างวีรกรรมบางอย่างเอาไว้จนเจ้าของ server เขา track มาเจอ แทนที่จะเล่นงานเขากลับชวนไปทำงานซะเลย (ซึ่งเป็นความคิดที่ฉลาดเพราะเล่นงานไปก็เท่านั้น แต่การหาคนเก่งมาทำงานยากว่ามาก) เพราะไม่คิดว่าจะมีใครทำอะไรอย่างนี้ได้กับ server ของเขาที่ secure เป็นอย่างดี
  • ลองทำ Poster หาคนช่วยงานไปติดที่ตึกคณะวิศวฯ สิครับ
  • E-mail แรกของประเทศไทย ก็ส่งจาก ม.อ.เรานี่เองครับ ราวๆ ปี 2529 หรือ 2530 ถ้าจำไม่ผิด คงส่งไป ออสเตรเลีย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท