ทำงานจัดการความรู้ ให้เป็นเรื่องสนุก : แลกเปลี่ยนเรียนพับ (๑)


        

 

ปีการศึกษา ๒๕๕๒ นี้ อนุบาลมีคู่หูคู่ใหม่เข้ามาทำงานจัดการความรู้ คือ คุณครูติ๊ก เยาวราช และ คุณครูแนต สาวิตรี

 

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว ในวงคุณอำนวย (หรือที่ชาวเพลินเรียกกันว่าวง KO-Knowledge Officer) ครูติ๊กก็มาถามหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้คุณครูรู้สึกกับการจัดการความรู้ว่าเป็นเรื่องน่าสนุก และดูไม่ไกลตัว รวมทั้งได้การถ่ายทอดความรู้จากการปฏิบัติไปด้วยในตัว

 

ดิฉันเกิดความคิดปิ๊งแว๊บในนาทีนั้น และได้แนะไปว่าก็กิจกรรมพับกระดาษไง... ให้คุณครูพับกระดาษเป็นรูปต่างๆ ที่ตัวเองชอบขึ้นมาคนละตัว แล้วก็ไปจับคู่กันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะทำให้ทั้งได้ความรู้ใหม่ และต้องเรียบเรียงความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ให้เป็นลำดับขั้นตอน เพื่อบอกให้เพื่อนเข้าใจ และทำได้เหมือนที่เราทำ ซึ่งในอนาคตอาจนำวิธีการที่ได้รับไปต่อยอดเป็นความรู้ที่มากขึ้นไปอีกก็ได้

 

ที่สำคัญคือคุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนจะรู้สึกได้ว่าการจัดการความรู้นั้นช่างง่ายดาย ขอแค่มีสายตาในการมองเห็นปัญญาปฏิบัติที่รายรอบเราอยู่เท่านั้น

 

 

----------------------------------------------

 

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒

 

ครูระดับ เตรียมอนุบาล และเด็กเล็ก

ที่ ห้องเตรียมอนุบาลห้อง ๓ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

 

ครูผู้นำกิจกรรม  ครูติ๊ก ครูแนต

 

กิจกรรมสร้างภาวะพร้อมเรียน  

ใช้เพลง“chippy chip” เชื้อเชิญให้ครูทุกคนกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะและพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป

 

ครูทำท่าตามท่าทางเพื่อนที่อยู่ด้านข้างโดยท่าทางที่ทำจะช้ากว่าเพื่อนไป ๑ จังหวะ

 

ขั้นตอนการทำกิจกรรมพับกระดาษ

 

    - ส่งกระดาษไปด้านข้างตามจังหวะ เพลง กลมและเหลี่ยม

    - เคลื่อนไหวร่างกายไปกับกระดาษ

    - จับคู่กับเพื่อนตรงข้างหน้าและหาบ้านของตนเอง

    - สร้างชิ้นงานด้วยการพับกระดาษคนละ ๑ ชิ้น

    - เคลื่อนไหวร่างกายเลียนแบบหรือสื่อความหมายให้รู้ว่าชิ้นงานที่พับเป็นอะไร

    - จับคู่เพื่อนคนข้างหน้าและหาบ้านของตนเอง

    - สลับกันเป็นผู้สอนพับกระดาษที่เป็นชิ้นงานของตนเองให้กับเพื่อน

   

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้

 

การสอนที่ดี 

         - จัดขั้นตอนการสอนให้เป็นลำดับ

         - ใช้ภาษาที่ชัดเจน และเข้าใจง่าย

         - มีการสังเกตปฏิกริยาของผู้เรียน

 

การเรียนรู้ที่ดี   

         - ตั้งใจ

         - เปิดใจ

         - ถ้าไม่เข้าใจให้ถาม

    - ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

    - มีช่วงเวลาให้ทุกคนได้ภาคภูมิใจกับผลงานความสำเร็จที่ตนสร้างขึ้น

 

ความรู้สึกในขณะที่เป็นผู้สอน

 

ครูนิด : อยากสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจมากที่สุด

ครูปุ้ย : เพื่อนทำได้ดีกว่าที่เราสอน

ครูดา : กลัวเพื่อนจะทำไม่ดีไม่เรียบร้อย

ครูอิน : กลัวสื่อสารไม่เข้าใจแต่ก็พยายาม

ครูแหม่ม (กัญญารัตน์) : คิดสูตรการสอนขึ้นมาเพราะเห็นว่าการพับจะเหมือนกันทุกด้าน

ครูกุ้ง : ตอนแรกกลัวเพื่อนจะทำไม่ได้

ครูตั๊ก : สอนเพื่อนพับแต่เพื่อนทำได้อยู่แล้ว

ครูรุ่ง :  คิดว่าง่ายสำหรับเราแต่เพื่อนทำไม่เป็น จึงใช้การบอกช้าๆ และให้กำลังใจเพื่อน

ครูจุ๋ม : ตอนแรกไม่รู้ว่าตัวเองพับอะไร แต่เมื่อต้องสอนเพื่อนเลยบอกว่าเป็นปลากระเบนและบอกเพื่อนว่าพับเหมือนการพับนก จนเพื่อนทำสำเร็จ

 

ความรู้สึกในขณะที่เป็นผู้เรียน

 

ครูวรรณ : เพื่อนจะทำให้แต่ขอทำเองเพราะชอบชิ้นงาน อยากพับได้เอง

ครูอุ๊ : สงสารเพื่อนเพราะตัวเองเป็นคนเข้าใจอะไรช้า แต่เพื่อนก็สอนให้พับจนสำเร็จ

ครูน้ำมนต์ : ไม่ค่อยชอบพับกระดาษอยู่แล้ว กังวลใจกลัวกระดาษขาด แต่เพื่อนให้กำลังใจจนพับสำเร็จ

ครูอิ๋ว : ตอนแรกคิดว่ายากแต่เพื่อนสอนชัดเจนก็เลยเอาวิธีการนี้ไปใช้เมื่อต้องสอนเพื่อน

การทำกิจกรรมพับกระดาษในครั้งนี้ นอกจากจะได้จุดประสงค์เรื่องการจัดการความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ครูผู้จัดกิจกรรมได้ตั้งใจไว้แต่แรกแล้ว ยังได้ทบทวนหลักปฏิบัติในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และการใคร่ครวญความรู้สึกของตนในขณะที่ต้องเป็นทั้งผู้สอนและผู้เรียนอีกด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 281175เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถือว่าเป็นสุดยอดของวิธีการทำการจัดการความรู้ที่เนียนอยู่กับเนื้องานที่ดีมากเลยครับ

ขอชื่นชมครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณบินหลาดง... จนทุกวันนี้ยังไม่ลืมรสชาติที่แสนอร่อยของน้ำปลาตรากระต่าย ที่ได้เคยลิ้มลองเลยค่ะ ถ้ามีโอกาสมาประชุมแถวมหิดล หรือพุทธมณฑลล่ะก็บอกกันล่วงหน้าด้วยนะคะ

:)

ครูใหม่

รู้สึกดีจังค่ะ ที่ได้มีอะไรมาแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆเค้าบ้าง

ความรู้สึกของตัวเองแล้ว ชื่นชอบจิตวิทยา อยู่ไม่น้อย

ซึ่งเกมนี้ก็เหมือน เกมของหลักจิตวิทยา อย่างหนึ่ง เพราะพอเล่นแล้ว ตัวเองที่เป็นผู้นั่งดูครูทำกิจกรรมก็จะเห็นพฤติกรรมของคุณครูหลายๆท่านซึ่งก็จะแตกต่างกันไป นั่นก็หมายถึงว่าจะได้มองเห็นบุคลิกบางอย่างในตัวของครูแต่ละคนด้วยค่ะ

อยากได้เนื้อเพลงกลมและเหลี่ยม รบกวนส่งให้ที่ E-mail : [email protected] พอดีลูกชายหาเพลงกลมและเหลี่ยมอยู่ค่ะ น้องเรียนอนุบาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท