ครม.อนุมัติแก้กฎอี-ออคชั่น จัดซื้อจัดจ้างเหลือ 28 วัน มูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป


ครม. อนุมัติแก้ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับโครงการไทยเข้มแข็ง คาดช่วยร่นระยะเวลาจัดซื้อจัดจ้างเหลือแค่ 28 วัน จากเดิม 85 วัน

ครม.อนุมัติแก้กฎอี-ออคชั่น จัดซื้อจัดจ้างเหลือ 28 วัน มูลค่า 2 ล้านบาทขึ้นไป

ครม. อนุมัติแก้ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับโครงการไทยเข้มแข็ง คาดช่วยร่นระยะเวลาจัดซื้อจัดจ้างเหลือแค่ 28 วัน จากเดิม 85 วันกำหนดมูลค่าโครงการ 2 ล้านบาทขึ้นไป ต้องทำอี-ออคชั่นไม่มียกเว้น โยนที่ประชุมร่วมกรอ.ตัดสิน พร้อมริบอำนาจ ส.ป.ก.โอนให้กรมธนารักษ์จัดสรรที่ดินให้เกษตรกร ตั้ง "พฤฒิชัย" กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดสรร

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วานนี้ ครม.มีมติให้ปรับแก้กฎระเบียบ
การ
จัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชั่น) เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการนำมาใช้
ในโครงการไทยเข้มแข็งและโครงการลงทุนอื่น ๆ ในอนาคต ทั้งนี้ในระเบียบใหม่ จะช่วยร่นเวลาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างลงเหลือ
28 วัน จาก 85 วัน ซึ่งแนวทางนี้จะเริ่มใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการลงทุนต่าง ๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง โดยให้ยกเว้นข้อบังคับในการนำเสนอ ทีโออาร์ ของผู้ประมูลโครงการบนเว็บไซต์ที่ใช้เวลามากเกินไปและไม่เกิดประโยชน์ ช่วยลดขั้นตอนการอุทธรณ์ให้กับหน่วยงานราชการที่ทำโครงการเพื่อให้สามารถเดินหน้าโครงการต่อเนื่องได้ในช่วงเวลาที่มีการอุทธรณ์ จากเดิมที่ให้หยุดทันทีเมื่อมีการอุทธรณ์ทำให้เสียเวลาในการดำเนินการ

อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการไทยเข้มแข็ง ยังคงการอี-ออคชั่นเหมือนเดิมสำหรับโครงการที่มีมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านบาทไว้ ทั้งนี้คาดว่าช่วยลดระยะเวลาการลงทุนให้สั้นลงและส่งผลต่อการสร้างงานสร้างรายได้ที่มีสิทธิภาพมากขึ้น โดยกรมบัญชีกลางจะใช้เวลาปรับปรุงกฎระเบียบดังกล่าวภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

สำหรับวงเงินในโครงการไทยเข้มแข็งกำหนดไว้ไม่ให้สามารถโยกเงินข้ามหมวดข้ามโครงการ หรือข้ามหน่วยงานได้ ขณะที่วงเงินดำเนินโครงการใดที่เหลือจ่าย ก็ต้องคืนเข้าคลัง รวมถึงหากมีการพิจารณาโครงการที่จะได้รับจัดสรรวงเงินครบตามเป้าหมาย 1.5 ล้านล้านบาทแล้ว จะไม่มีการพิจารณาเพิ่มโครงการเข้ามาอีก "ใน 1.5 ล้านล้านบาทนี้ จะปิดเลย ถ้าโครงการใดเงินเหลือ เบิกจ่ายไม่ได้ก็ต้องคืนคลัง เพื่อเอาไว้ใช้หนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับโครงการใหม่ได้ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตว่า หากนักการเมืองเปลี่ยนใจ หรืออยากจะยกเลิกโครงการก็ยกเลิก ตรงนี้จะปิดช่อง ล็อคโครงการไว้เลย ถ้าเบิกจ่ายไม่ทันก็ต้องส่งคืน ซึ่งจะช่วยให้กู้น้อยลง" นายกรณ์ กล่าว

ด้านนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
มีมติเห็นชอบยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการประมูลในระบบอี-ออคชั่น โดยยกเว้นให้การดำเนินการดังกล่าวไม่ต้องทำร่างทีโออาร์ ส่วนกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ในโครงการลงทุนใด ๆ ก็ให้สามารถเดินหน้าโครงการได้ต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องหยุดพัก

ส่วนการปรับปรุงเกณฑ์ด้วยการเพิ่มวงเงินจัดซื้อจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนดให้ต้องประมูลผ่านอี-ออคชั่น จาก
2 ล้านบาทเป็น 5 ล้านบาทนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้พิจารณาในประเด็นนี้ แต่คาดว่าจะนำไปหารือกันในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ครั้งต่อไป 

นายกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่จะรับโครงการจัดสรรที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ ให้เกษตรกรเช่าที่ดินทำกินมาดำเนินการเอง จากเดิมที่ ครม. มีมติมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นว่าหากให้ ส.ป.ก.เป็นผู้ดำเนินการอาจจะติดข้อกฎหมายที่มีความแตกต่างกัน ทำให้การดำเนินงานเกิดปัญหาได้

สำหรับขั้นตอนดำเนินการนั้น ครม. เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด รับผิดชอบงาน โดยแบ่งเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการและเงื่อนไขในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น มาตรการขอคืนที่ดินจากหน่วยงานราชการ การแบ่งโซนพืชอาหารและพลังงานการกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่จะ
เข้าร่วมโครงการ เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ รูปแบบบริหารจัดการครบวงจร โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์) เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการอีก
1
ชุด คือกรรมการระดับจังหวัดมีหน้าที่นำที่ดิน
ราชพัสดุมาจัดเช่าทำการเกษตรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการอำนวยการกำหนด

รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม. แจ้งว่า กระทรวงการคลังให้เหตุผลการขอคืนงานจัดสรรที่ดินราชพัสุด 1 ล้านไร่ จาก ส.ป.ก.มาดำเนินการเอง เพราะในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องการบริหารจัดการที่ราชพัสดุกับกฎหมาย
การปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก.มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากจะนำที่ดินราชพัสดุที่ได้รับคืนจากส่วนราชการมาจัดสรรให้เกษตรกรเช่าภายใต้กฎหมายที่ดินของ ส.ป.ก.อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ

นายเทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นประธานการประชุมเรื่องนโยบายการขอคืนที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ เพื่อนำมาจัดให้เช่าทำการเกษตร กล่าวยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ ซึ่งปัจจุบันกรมธนารักษ์ได้ประสานขอคืนที่ดินราชพัสดุจากส่วนราชการต่าง ๆ กลับคืนมาได้แล้วประมาณ 5 แสนไร่จากเป้าหมาย 1 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของทหาร

ข่าวหุ้น  แนวหน้า  ไทยโพสต์ 29 กค 52

หมายเลขบันทึก: 281172เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท