เศรษฐกิจพอเพียง : บ้านพอเพียง


วันนี้หลังละหมาดศุบฮฺก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้น ผมก็เข้าห้องครัวกะจะน้ำร้อนๆมาดื่ม แต่พอเข้าในครัวแล้วเห็นผลไม้เต็มห้องไปหมด ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าเมื่อวานพ่อค้าผลไม้ก็เอาค่านำผลไม้ที่บ้านไปขาย ได้ข้อคิดดีๆ ก็เลยอยากเล่าเป็นบันทึกในนี้

เศรษฐกิจพ่อเพียงตั้งแต่ได้ยินคำนี้ครั้งแรก(เมื่อหลายปีก่อน) ผมก็ว่าใช่ทันที และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง เพราะชีวิตของผมตอนเด็กๆ ที่สร้างความสุข ตอนนี้เพราะพิษเศรษฐกิจทำให้ชีวิตนั้นเลือนหายจากไป

ผมจำได้ ผมยังเรียนประถม หน้าผลไม้แบบนี้ที่บ้านผมมีทั้งนั้น จะกินอะไรก็กินได้ ไปบ้านใครก็ได้กิน แถมได้ปีนปายขึ้นไปกินเอง เอาเท่าไรก็ได้ และการที่พวกเรา(เด็กๆ)ได้ทำแบบนั้น เจ้าของสวนก็มีความสุขพร้อมกับเอาให้กลับบ้านฝากพ่อฝากแม้อีกมากมาย

พอโตขึ้นชีวิตลักษณะนั้นก็หายากเรื่อยๆ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศและได้กลับมาเยี่ยมบ้าน ก็ไปเยี่ยมเพื่อนตามอำเภอต่างๆ เพื่อนผมเป็นครูอยู่ชายแดนติดกับประเทศมาเลเซียเขาพาผมเข้าหมู่บ้าน พอเข้าไปแล้วบอกตรงๆเลยครับ กินผลไม้ที่ชาวบ้านยกมาให้จนไม่สามารถที่จะกินได้อีก พอขากลับเด็กๆก็เอาผลไม้มารอระหว่างให้นำพากลับบ้านจนตะกร้ารถมอเตอร์ไซค์ที่เราขี่ไปไม่มีที่ตั้งและผมนั่งซ้อนท้ายก็หิ้วไม่ไหว ก็เลยหวนนึกครูเก่าๆ สมัยเรียนประถม แม้เขาจะเป็นครูที่นับถือศาสนาพุทธแต่เขานำความรู้ให้แก่ลูกหลานมุสลิมเขาเข้าไปในหมู่บ้านเมื่อไร ขากลับจะมีผลไม้เต็มรถทุกครั้ง

แต่พอมายุคเศรษฐกิจ ทุกอย่างเป็นเงินเป็นทอง บรรยากาศเช่นนั้นผมไม่ค่อยได้เจอเลย ทุกเรียนลูกหนึ่งแม้จะเน่าอยากกินก็ต้องจ่ายเงิน อะไรก็เป็นเงินเป็นทองทั้งนั้น ผมก็ไม่เห็นพวกเขารวยเลย รู้สึกว่าสมัยก่อนตอนที่เขาแจกฟรีนั้นเขาจะมีความสุขมากกว่าและไม่ได้ขัดสนอะไร

ครอบครัวผม ถ้าจะนับอย่างที่ผมกล่าวมาข้างต้นก็นับว่าครอบครัวที่ทำแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาแต่ต้น บ้านผมมีทั้งนั้น นาข้าว บ่อปลา ส่วนผลไม้หลากชนิด อย่างละเล็กอย่างละน้อย อาจจะเป็นเพราะเราอยู่แบบนั้นได้เพราะอาชีพหลักของเราคือเป็นครูสอนหนังสือ

จะว่าเราอยู่แบบนั้นเพราะเรามีเงินเดือนแล้ว ไม่ทำธุรกิจอย่างอื่นก็อยู่ได้ ก็ไม่ใช่ครับ เพราะทั้งตัวคุณพ่อและลูกหลาน ท่านจะสอนตลอดว่า เราต้องเชื่อมั่นในริสกี(ปัจจัยยังชีพที่อัลลอฮฺให้มา) ถ้าเราอยู่อย่างถูกต้อง ในกรอบของศาสนา ไม่กระทำในสิ่งที่ห้ามหรือสิ่งที่ไม่สนับสนุน(มักรุฮ) เราก็จะมีกินตลอดชีวิต แม้เงินทองที่จับต้องได้ไม่ค่อยมี ไม่มีทรัพยสินเท่าไร แต่เราก็ไม่เคยอดอยาก เพียงแต่ว่าเราไม่ร่ำรวยเหมือนบางคน

เราไม่เคยหวังรายได้จากการทำธุรกิจ ถึงทำก็ทำไม่เป็น มีสวนเราก็ไม่เคยหวังจากค้าผลผลิต มีโรงเรียนเราก็ไม่เคยหวังกำไร ก่อนหน้านี้หน้าผลไม้อาจจะขายได้บ้างเพราะมีมากเกินที่จะกินหรือแจกคนพึงจะได้ อย่างปีนี้ก็เช่นกัน เมื่อวานคนขายผลไม้เอาเงินค่าลองกองมาให้ ผมเห็นเม็ดเงินแล้วก็พอใจ โอเค รับได้ และนับว่าเท่านี้ก็กำไรแล้ว เพราะไม่ใช่ปลูกต้นไม้เพื่อหวังขาย แต่ปลูกเพื่อรับประทานเป็นอาหารเล่น

ในห้องครัวผมมีผลไม้อยู่เต็ม เพราะแจกไม่ไหว ปีนี้ผลไม้เยอะมาก ราคาก็ถูกแสนถูก วันก่อนน้องสาวไปที่สวนเอามังคุดไปขายในท้องตลอดกิโลละสามบาท ลองกองที่บ้านผมโดยส่วนใหญ่แล้วราคากิโลละ 5 บาท เงาะไม่ขาย เพราะขายไปกับค่าจ้างเด็กขึ้นไปเก็บ ค่าจ้างจะแพงกว่าราคาขาย ดังนั้นหลายปีมาแล้ว ต้นเงาะที่มีอยู่ต้นสองต้น ถ้ากินไม่หมดก็แจกให้ชาวบ้าน ... ปีนี้แจกเด็กหลังบ้านเขาก็ไม่เอา.. มันมีเยอะมาก

หมายเลขบันทึก: 281137เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท