ข้อคิดจาก "CKO"


การขับเคลื่อน "การจัดการความรู้" ต้องมีเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย โดยยั่งรู้ถึงความเหมาะสมและความพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ได้ไม่ครบทุกเรื่องราวที่ต้องการ แค่ได้เพียง "หนึ่งเรื่อง...ก็ถือว่าสำเร็จ..ไปหนึ่งเรื่องแล้ว"

   กรมส่งเสริมการเกษตร ก็มี CKO ด้วยเช่นกันที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวและการขับเคลื่อนหลักการและกระบวนการ KM ไปสู่งานต่าง ๆ ของหน่วยงานย่อย

   CKO ก็คือ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายวิชาการ (นายโอฬาร  พิทักษ์) ในการนี้เมื่อวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2552 คณะทำงานการบริหารองค์ความรู้ ร่วมกับกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรก็ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติกาเรื่องแนวทางการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร (ฉบับผู้ปฏิบัติ) ขึ้น  ซึ่งท่านได้ให้เนวคิดในการปฏิบัติงาน สรุปได้ว่า.....

 นายโอฬาร พิทักษ์ (CKO)

   การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้ดำเนินการขึ้นภายใต้หลักคิดที่ว่า

     1) ผู้เข้าสัมมนาคงจะเป็นแกนหลักในการขยายผลต่อ

     2) การจัดการความรู้มิใช่เรื่องใหม่

     3) การทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตรจึงต้องอยู่บนฐานของความรู้  การดูแลทุกข์สุขให้กับเกษตรกร

   ในอดีตเราใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานหลายอย่างเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร อาทิเช่น  ปัจจัยการผลิต  แต่วันนี้เราจะปฏิบัติโดยใช้องค์ความรู้สำหรับใช้ปฏิบัติงานของทหารราบในพื้นที่ให้ได้จากการส่งหมอเฉพาะทางเข้าไป อาทิเช่น คลินิกเกษตรเคลื่อนที่  ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงเป็นเสมือนหมอศัลยกรรม ที่จะเข้าไปช่วยทหารราบให้มีอาวุธติดตัว หมายความว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีอาวุธอะไรติดตัวก็คือ องค์ความรู้ ที่จะทำให้อยู่กับชาวบ้านได้

   “องค์ความรู้” มีหลากหลาย มีหลายมิติ จึงต้องเข้าใจในอาวุธของตนเองว่า มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน จึงต้องมีการจัดการประสิทธิภาพขององค์ความรู้ โดยนำการจัดการความรู้ มาจัดการกับอาวุธของเราเอง  มีเป้าหมาย  มีการหาประเด็นความรู้เพื่อตอบสนองเป้าหมาย มีการแลกเปลี่ยนของนักส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำงาน  หน้าที่หลักของเราก็คือ นำหลักการมาจัดระบบให้มีประสิทธิภาพโดยนำประสบการณ์จริงมาใช้เพื่อจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่เป็นทิศทางเดียวกัน

   กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่ทำงานทุกเรื่อง แต่มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงของการทำงานก็คือ  ความต่อเนื่องในการดำเนินการมีค่อนข้างน้อย  ขาดการจัดเก็บ  ดังนั้น เราจึงต้องกลับมา “จัดระบบ” โดยการจัดการความรู้จะเข้ามาช่วยจัดการกับอาวุธให้ทำงานสู้รบได้เรียกว่า “คลังอาวุธ”  เพื่อจัดทำคลังความรู้ หรือ KA ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบ KA ให้มีประสิทธิภาพในการใช้ KM ที่เชื่อมโยงกันทุกระดับ  การทำงานจึงต้องอธิบายได้และต้องเข้าใจในเรื่องที่ทำ นักส่งเสริมการเกษตรจึงต้องแปลงให้คนอื่นทำให้ได้ ทำให้คนเชื่อ ความเข้าใจในบทบาทนักส่งเสริมจึงต้องสื่อสารออกมาให้ได้เพื่อจะได้รู้ว่า เราทำอะไรบ้าง

   ในวันนี้จึงอยากให้ทุกท่านเข้าใจเครื่องมือ ใช้เครื่องมือในแนวทางที่เป็นทิศทางเดียวกัน มีความกว้างและลึกในความรู้ ซึ่ งนักส่งเสริมจะโชคดีที่ได้พบ ได้เห็น ได้รู้สิ่งต่าง ๆ ที่เรียนรู้จากการ KS ได้มากมายโดยการฟัง  ซึ่งทุกคนจะมีสิ่งที่ตนเองรู้และแลกกับคนอื่น ๆ ได้โดยนักส่งเสริมจะเป็นคนเชื่อมความรู้จากเซียนต่าง ๆ ไปสู่คนที่ไม่รู้ “กระบวนการ” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดระหว่างกัน ช่วยในการขับเคลื่อนงาน  นอกจากนี้ การจัดการความรู้ยังเป็นนโยบายหลักของกรมส่งเสริมการเกษตรที่จะช่วยกันดำเนินงาน  โดยการจัดการความรู้ได้นำไปเป็นตัวชี้วัด จำนวน 3 เรื่อง คือ วิสาหกิจชุมชน  Food Safety และศุนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

   ดังนั้น กรมฯ ก็จะทำ 3 เรื่องดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้ได้ จากการมีทีมงานสนับสนุนการจัดการความรู้ ที่จะไปผลักดันเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งทีมจะต้องมีความเข้าใจทั้งด้านความคิดและปัญญาหรือเรียนรู้ให้ลึกซึ้งก่อน  จึงขอฝากทุกท่านให้ได้แลกเปลี่ยนกันอย่างที่ทำ  ให้ได้ประโยชน์และบรรลุเป้าหมาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ท่านจะเป็นทีมสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนงานให้เกิดผล” ต่อไป

   โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการเปิดเวทีในช่วงต้นปีงบประมาณ 2552 เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจกับหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในกรมส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการจัดการความรู้ ที่ทุกหน่วยงานมีประสบการณ์ได้หันกลับมาทำความเข้าใจกับตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ได้ดำเนินการกัน "ภายในบ้าน...ของกรมส่งเสริมการเกษตร" ที่จะได้ก้าวเดินกันต่อไปได้.

  นางสุกัญญญา อธิปอนันต์ (ประธานฯ KM)

 ผู้เข้าสัมมนาฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ

 ทีมงาน/คณะทำงานฯ KM ของกรมฯ

    

หมายเลขบันทึก: 280915เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

P  ขอบคุณ "สิงห์ป่าสัก" ที่ให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท