เนื้อคู่แบบไหนอยู่กันได้นาน(ๆ)


สำนักข่าว VOA (Voice of America = เสียงอเมริกา) ภาคภาษาไทยตีพิมพ์เรื่อง "ความรักเพียงอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ในการประคับประคองชีวิตคู่ให้ตลอดรอดฝั่ง" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ VOA ภาคภาษาไทย ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ เรียนเสนอให้แวะไปอ่านข่าว สาระบันเทิง เพื่อเป็นกำลังให้ทีมงาน 'VOA ภาคภาษาไทย' กันครับ > [ VOA ภาคภาษาไทย ]

...

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามีภรรยาครองคู่กันได้ยาวนาน ความรักอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ที่จะประคับประคองชีวิตคู่ให้ตลอดรอดฝั่ง นักวิจัยขาวออสเตรเลียได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้

...

การครองคู่กันตราบชัวกาลนานนั้น ไม่ได้มีเพียงในเทพนิยายเท่านั้น นักวิจัยชาวออสเตรเลีย พยายามศึกษาว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถประคับประคองชีวิตคู่ ให้ตลอดรอดฝั่งได้ และแน่นอน ปัจจัยที่ว่าย่อมมีมากมายเกินกว่าความรักเพียงอย่างเดียว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ศึกษาพบว่า อายุของคู่รัก ความสัมพันธ์แต่หนหลัง หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในการทำให้ชีวิตแต่งงานยืนยาว

...

การศึกษาที่มีชื่อว่า “What’s Love Got to do With It” หรือ ความรักมีอิทธิพลในการครองคู่อย่างไรบ้าง?

ได้ติดตามดูคู่รัก 2,500 คู่  ทั้งที่แต่งงานกันแล้ว หรือว่าที่อยู่ด้วยกันเฉยๆ ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2550 เพื่อศึกษาดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้คู่รักเหล่านั้นยังคงอยู่ด้วยกัน และอะไรบ้างที่ให้พวกเขาต้องหย่าร้าง หรือแยกทางกัน

...

การศึกษาพบว่า สามีที่มีอายุมากกว่าภรรยา 9 ปีเป็นต้นไป มีแนวโน้มที่จะหย่าร้างมากกว่าคนอื่นๆ ถึงสองเท่า เช่นเดียวกับบรรดาสามีที่แต่งงานก่อนอายุ 25 ปี ก็มีแนวโน้มในการหย่าร้างมากเช่นกัน

นอกจากนี้ การมีลูกติด ก็มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของชีวิตคู่ หรือต่อความสัมพันธ์ฉันท์หญิงชายด้วย

... 

หนึ่งในห้าของคู่ที่มีบุตรก่อนแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นจากความสัมพันธ์ครั้งก่อน หรือจากคู่แต่งงานคนปัจจบันก็ตาม ล้วนแต่แยกทางกัน เมื่อเปรียบเทียบกับคู่ที่ไม่มีบุตรก่อนการแต่งงาน ซึ่งมีอัตราการหย่าร้างเพียง 9% เท่านั้น

การศึกษายังชี้ว่า ผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรมากกว่าคู่ของตน มักมีแนวโน้มในการหย่าร้าง มากด้วยเช่นกัน

...

พ่อแม่ของคู่แต่งงาน หรือคู่รัก ก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ การศึกษาพบว่า 16% ของหญิงและชายที่พ่อแม่ของพวกเขาเคยแยกทาง หรือหย่าร้างกันมาก่อน มีแนวโน้มที่จะหย่าร้างมากกว่าคู่ที่พ่อแม่ไม่ได้แยกทางกัน

นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้ว 2-3 ครั้ง มีแนวโน้มที่จะหย่าร้างจากคู่ของตนมากกว่า คู่ที่แต่งงานกันครั้งแรกถึง 90%

...

และไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลย ที่เงินก็มีบทบาทในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน อาสาสมัคร 16% ที่ระบุว่าตนยากจน หรือมีสามีที่ตกงาน ล้วนแต่แยกทางกัน เมื่อเทียบกับคู่ที่มีความมั่นคงทางด้านการเงิน ซึ่งมีอัตราการหย่าร้างเพียง 9%

และคู่แต่งงาน หรือคู่รัก ที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูบบุหรี่ ความสัมพันธ์ก็มักจะไปไม่ตลอดรอดฝั่งด้วย

...

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยต่างๆ หลายประการที่พบในการศึกษานี้ แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อการหย่าร้างอย่างชัดเจนนัก อย่างเช่นจำนวน และอายุของเด็กที่เกิดมาจากคู่แต่งงาน และสถานภาพด้านการงานของภรรยา เป็นต้น [ VOA ภาคภาษาไทย ]

[ จบข้อความคัดลอก ] > [ VOA ภาคภาษาไทย ]

หมายเลขบันทึก: 280769เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะคุณหมอ
  • ถึงแม้สถิติของการหย่าร้างจะเต็มไปด้วยเหตุผลต่าง ๆนา ๆ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว  การหย่าร้างก็ยังเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและรับกันไม่ค่อยได้  ผู้หญิงจึงต้องทน ทน และทน ที่จะครองคู่เพราะมีโซ่สำคัญคล้องคออยู่ 
  • นับวันก็ยิ่งน่าใจหาย สถิติการหย่าร้างมากขึ้นทุกวัน นึก ๆ ก็ให้คิดถึงรุ่นปู่ย่าตายายนะคะ
  • ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร  ต่อไปอาจเป็นเพียงตำนานก็ได้คะ

โลกยุคใหม่ไม่เหมือนสังคมเกษตรครับ... เพราะยุคใหม่ การมีคนในครอบครัวเพิ่มทำให้งานเพิ่ม // สังคมเกษตร... การมีคนมากทำให้งานเบาลง ช่วยกันทำนา ทำไร่ไปเรื่อยๆ // ใช้ยาทำใจดีแท้...

น่าสนใจ ครับ อ่านแล้วย้อนมองตนเอง เอยังไงหว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท