พัฒนาการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์


หลักการ 2 หลักการ ที่นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

พัฒนาการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

เพื่อสนองตอบความต้องการในทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง

          หลักการ ที่นำมาพัฒนาการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อสนอง

    ตอบความต้องการในทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันขององค์การ

    ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 2 หลักการที่สำคัญ  ดังนี้

    1. หลักการปฏิบัติที่โดดเด่น หรือ Best Practices ซึ่งมีสาระสำคัญที่พอสรุปได้

        ดังนี้

        1.1. การจัดทำดัชนีชี้วัดรายบุคคล (Key Performance Indicator – KPI)
              เพื่อวัดผลการทำงานของพนักงานทุกระดับตั้งแต่พนักงานขับรถ จนถึง

              ผู้บริหารระดับสูง โดยที่ทุกคนจะต้องมีตัววัดความสำเร็จของงานที่เป็น

              รายปี (Annual KPI) และสำหรับผู้บริหารจะเพิ่มในส่วนของตัววัดความ

              สำเร็จในระยะยาว เพื่อเป็น Long Term Driver ให้งานมีผลสำเร็จ

              ต่อเนื่องในระยะยาว


        1.2. การสื่อสารภายในองค์กร ( Internal Communication)
              การสื่อสารภายเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  จะมีการสื่อสารทั้งในรูปแบบ

              ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้พนักงานได้มีความเข้าใจในเรื่อง

              ของความเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ทั่วถึงกัน


        1.3. การพัฒนาบุคลากร (Training and Development)
               การพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องให้ความสำคัญ

               เช่นกัน  การทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งที่ขาดหาย     

              ไม่ได้   แม้ว่าประเทศไทยจะประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ หน่วยงาน

               หรือองค์กรอาจจะลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก แต่งบประมาณที่ใช้

               ในการพัฒนาบุคลากรมิควรลดลงเลย


        1.4. สมรรถนะหลักของบุคลากร (Competency) 
              ระบบ Competency เป็นจุดแข็งที่ควรใช้ ในเรื่องของการบริหารและ

              พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการทำ Competency Profile ของทุก

              ตำแหน่ง นำ Competency มาใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  

              มีการสัมภาษณ์โดยใช้ Competency เป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

              (Competency – based Interview)และทำการเปรียบเทียบ

              Competency Profile กับ Competency ของคนที่ทำงานในตำแหน่งนั้น

              เพื่อหาช่องว่างในการพัฒนาบุคลากร และทำ Succession Plan หรือ

              การวางแผนเพื่อสืบทอดงานกันเป็นลำดับ


              อย่างไรก็ตามหน่วยงานหรือองค์กร ก็ยังต้องมีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงต่อไป

           ซึ่งได้แก่การสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน และการให้พนักงานมี

           ส่วนร่วมในกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการของหน่วยงานหรือองค์กร  ซึ่งอาจจะ

           ออกมาในเรื่องการแบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน หรือการจัดตั้ง

           ชมรมต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของหน่วยงาน

           หรือองค์กร ทั้งในเวลางานและนอกเวลางานอย่างเต็มที่

    

     2.  หลักการเน้นจุดเด่นของ  HR โดย  มีประเด็นสำคัญ 3 เรื่องใหญ่ ได้แก่


         2.1. ระบบการสรรหาพนักงาน (Selection) องค์การขนาดใหญ่เช่น

               เครือซีเมนต์ไทยจะเริ่มต้นในการสรรหา นักศึกษาประมาณ 2,000

               (Campus Recruitment) ในมหาวิทยาลัย และนักศึกษาเหล่านี้จะ

               เข้าสู่กระบวนการGroup Selection ที่ศูนย์ฝึกอบรม มีการทดสอบ

               ในด้านจิตวิทยา ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ คือ

               เพื่อให้ได้คนเก่งและคนดีมาทำงาน คนที่ผ่าน Group Selection

               นี้แล้ว รายชื่อจะถูกนำมาใส่ไว้ในcomputer server เพื่อให้ business

               unit ต่างๆ ดึงคนไปสัมภาษณ์อีกทีเมื่อมีความต้องการ

 

         2.2  การพัฒนาบุคลากร (Training and Development) 
               เป็นนโยบายในการเลื่อนตำแหน่งพนักงานภายในองค์กร (Promotion 
        

               from Within) บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเป็น

               อย่างยิ่งโดยได้จัดทำ Master Training Plan ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน

               จนถึงระดับผู้บริหาร การที่จะเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปจะต้องผ่านหลักสูตร

               ที่กำหนดไว้ จนถึงหลักสูตรสูงสุด ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ส่งพนักงานไปเรียน

               ที่ Harvard Business School เป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ บริษัทถือว่าการ

               พัฒนาคนให้เต็มศักยภาพ จะเป็นการเตรียม Successor ในอนาคตด้วย


         2.3. Career Goal หรือ Career Development เครือซิเมนต์ไทยมีระบบ

               ในการประเมินบุคลากร 3 ตัว คือ
              • Performance เป็นการดูผลการทำงานย้อนหลัง 4 – 5 ปี
              • Potential ดูเรื่อง Capability ว่าพนักงานมีความสามารถที่จะเลื่อนขั้น

                ขึ้นไปอีก 2 ระดับหรือไม่ และ    Aceptability ว่าพนักงานเป็นผู้ที่ได้

                รับยอมรับจากคน 3 ระดับ คือ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และ

                ลูกน้องหรือไม่ 
              • Competency ประเมิน Competency ของพนักงานว่ามีคุณสมบัติ

                 ครบถ้วนหรือยัง

 

        Document Source: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

 

      จากการอ่านบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าบริษัท หน่วยงานหรือองค์กรขนาด

      ใหญ่จะมีหลักการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้น

      อยู่การวางแผน  ในการจัดกระบวนกลยุทธ์ที่มีระบบ เพื่อให้ให้สอดคล้องกับ  

      วัตถุประสงค์  หรือเป้าหมายของบริษัทหรือ หน่วยงานหรือองค์กร และให้

      ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยน

      กลยุทธ์ เชิงการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีการวางแผน ทดลอง ตรวจ

      สอบและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งนั้นบทพื้นฐานหลักการ ( P  D  C A  )

      คือขั้นตอนเริ่มตั้งแต่  วางแผน  ทำ   ประเมินตรวจสอบและลงมือปฏิบัติ 

      นั่นเอง

            

หมายเลขบันทึก: 280688เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

บทความนี้จัดให้กับคุณป้า ที่มีปัญหาสายตา ตัวอักษรไม่ต้องสวมแว่นตายาว คงอ่านได้ชัดเจนทุกคนนะจ๊ะ

ขอบคุณค่ะ อ่านชัดเจนถูกใจมาก

มาเยี่ยมชมผลงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

การพัฒนาคนเป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กร แวะมาหาความรู้ค่ะ

การพัฒนางาน ต้องเพิ่ม สมรรถนะคน คนก็จะไปพัฒนางาน คนและงานก็จะพัฒนา

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ..

เวลาไปใช้กับโรงเรียนไม่ขับเคลื่อนเท่าไหร่เลย..

p d c a

เป็นทฤษฎี่ที่ใช้ได้ตลอดกาลเลยนะคะ

แวะมาเยี่ยมชม หาความรู้ก่อนสอบปลายภาคค่ะ

ขอบคุณค่ะความรู้ที่ให้ HRD เป็นสิ่งสำคัญ อยากได้ Model หลักที่เป็นหัวใจสำคัญของ HRD จักเป็นพระคุณยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท