ผู้ว่าฯ กับทิศทางจัดการความรู้การเกษตรของกำแพงเพชร


ตอนนี้เห็นโอกาสแล้วล่ะครับ

         วันที่ 10  พฤษภาคม  2549  ในพิธีเปิดงานวันเกษตรกร ของจังหวัดกำแพงเพชร ปี 2549 ณ สมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายไพศาล  รัตนพัลลพ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกร  สรุปแนวทางการปฏิบัติที่ท่านผู้ว่าได้เสนอแนะ และพูดคุยกับเกษตรกรและตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมงานนั้น  โดนใจมากครับ ผมและคุณสายัณห์ต่างก็หันมามองหน้ากัน เพราะอะไรทราบไหมครับ...

      ผวจ.กำแพงเพชร (ไพศาล  รัตนพัลลพ)

          ก็เพราะแนวทางที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวมานั้น  ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทีมงานได้คิด และกำหนดเป็นเป้าหมายของการทำงานไว้ทั้งหมด (เป็นเรื่องเดียวกัน)   เพียงแต่เราอาจจะต้องคอยหาความเหมาะสมของเวลาและโอกาสที่เอื้ออำนวยที่จะมาถึง  เพื่อที่เราจะสามารถขับเคลื่อนไปตามแนวทางเพื่อสู่เป้าหมายเหล่านั้น  แต่ก็อย่างค่อยเป็นค่อยไป    เมื่อท่านผู้ว่าฯ ได้ให้แนวทางไว้เช่นนี้ก็ย่อมกับว่าโอกาสในการทำงาน..มาถึงแล้ว.. ตัวอย่างที่ท่านผู้ว่าฯ ได้ให้แนวทางไว้ เช่น

  • แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ท่านผู้ว่าฯ ให้แนวทางที่สำคัญไว้ก็คือ  เกษตรกรจะต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิต  เพราะหากลดต้นทุกลงได้แม้จะมีปัญหาราคาตกต่ำเกษตรกรก็ยังอยู่ได้ งานนี้มีของดีอยู่เยอะเลยครับ ลปรร.ได้ไม่ยาก
  • ท่านเน้นการผลิตพืชที่ปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี และยกระดับสู่เกษตรอินทรีย์  กิจกรรมนี้เราก็กำลังทำกันอยู่แล้ว
  • งานวันเกษตรกรในปีต่อๆ ไปจะมีการปรับรูปแบบ เพิ่มสาระของการนำเสนองานวิชาการ การจัดเวทีที่เน้นงานวิชาการที่จะให้เกิดการ ลปรร.และจะเกิดประโยชน์ต่ออาชีพของเกษตรกรอย่างแท้จริง  เอ๊ะ...เราก็เพิ่งคุยกันไปเมื่อวานนี้เอง
  • ฯลฯ

          ยังมีอีกหลายประเด็น แต่ 3 ประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่ใหญ่ และสามารถต่อท่อไปสู่ประเด็นอื่นๆ ได้อีกมาก  และที่สำคัญเราเริ่มเห็นทางสว่างขึ้นมาบ้างแล้วในการที่จะนำแนวทางทั้งหมดนั้นไปสู่กระบวนการจัดการความรู้ คือสู่การปฏิบัติ  และวางแผนสำหรับการร่วมมือกันนำมาผสานกันกับงานวันเกษตรกร  ซึ่งผมได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ครั้งหนึ่งแล้วว่า อยากนำKMมาสวมในงานวันเกษตรกร ตอนนี้เห็นโอกาสแล้วล่ะครับ

          บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ ตอนต่อไปจะนำเสนอว่าประเด็นใดในกิจกรรมของงานวันเกษตรกรของปีนี้ ที่เราคิดว่าน่าจะปรับได้และจะปรับอย่างไรในปีหน้า เพื่อให้KMเป็นเนื้อเดียวกันกับงานวันเกษตรกร

วีรยุทธ  สมป่าสัก

         

หมายเลขบันทึก: 28050เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่วีรยุทธ

นับเป็นโอกาสอันดีมากเลยนะครับที่ ทางจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และให้โอกาส เข้าใจ และเข้าถึง โดยใช้ฐานข้อมูลองค์ความรู้ ไม่ละเลยบริบทที่มีอยู่ อีกทั้งยัง เหมาะสมกับสถานการณ์

"คนทำงาน" บางทีก็ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่า "ผู้ใหญ่" ให้ความสำคัญ เข้าใจ และให้กำลังใจ ผลักดัน เท่านี้ งานพัฒนาดี สร้างสรรค์ ก็เริ่มกระบวนการขับเคลื่อนไปได้ไม่ยากนัก

ข้อสังเกตประการหนึ่ง ที่ได้อ่านบันทึกของพี่บ่อยครั้ง ในหลายๆบันทึกก็คือ สมรรถนะของบุคลากร ที่มีคุณภาพ ที่กำแพงเพชรตรงนี้เป็น "หัวใจ" ของงานทุกๆอย่าง  ผมขอชื่นชมครับ

ประเด็น "เกษตรอินทรีย์" น่าสนใจ แต่ผมค่อนข้างมีองค์ความรู้น้อย แม้ว่าเป็นลูกเกษตรกรตัวจริง แต่อยากจะให้ พี่วีรยุทธ เขียนบันทึกประเด็นนี้บ้างนะครับ ผมจะได้ความรู้ด้วยและขอแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาตัวเองไปด้วยครับ

คารวะครับ

    ขอขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็น และถือว่าเป็นกำลังใจสำหรับคนทำงานเพื่องานทุกๆ คน

เรียน ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม  

      ทีมงานเราได้ค้นหาของดี (best practice) ที่เกี่ยวกับพืชปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ เพื่อนำมาให้เพื่อนนักส่งเสริมการเกษตรได้ ลปรร. (ลิงค์ดูตัวอย่าง) 

พี่วีรยุทธ

ผมต้องขอโทษด้วย ช่วงเช้าผมลืมใส่ชื่อตัวเองทุกครั้งเวลาโพสแสดงข้อคิดเห็น....(ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม เมื่อ ศ. 12 พ.ค. 08:55:46 2006 เขียนว่า:...)

ขอบคุณที่ทำ Link ดีๆให้ครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท