concept Adaptive ครั้งที่ 2


concept Adaptive

วันนี้จะมาแปลกันในหัวข้อเรื่อง DEVELOPING ADAPTIVE EDUCATIONAL HYPERMEDIA SYSTEM: FROM DESIGN MODELS TO AUTHORING TOOLS  ซึ่งเป็นของ PETER BRUSILOVSKY ค่ะ  โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาวิธี Adaptive ผู้เรียน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้เขียนและรวบรวมเอาไว้ดีมาก ๆ ค่ะ  และขอสรุปย่อ ๆ ดังนี้

    ใน Paper นี้ได้แสดงถึงกระบวนการสร้างวิธีการ Adaptive 

1.  Structuring  the  Knowledge  (โครงสร้างความรู้)  จะมี Model ที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ
     1.1  The  Domain  Model :     โมเดลนี้จัดได้ว่าเป็นหัวใจของการ  Adaptive  โดยพัฒนามาจาก  ITS   โมเดลนี้จะใช้กับงานที่มีความต่อเนื่อง  หรือใช้กับความต่อเนื่องของเนื้อหารายวิชา   โดยจะดูในส่วนของเงื่อนไขหรือสิ่งที่ต้องทำก่อน (Prerequisite)
     1.2   The  Student  Model  :  การทำงานของโมเดลนี้จะถูกส่งต่อมาจาก  Domain  Model  และใน Student  Model นี้จะเก็บความรู้ของผู้เรียนเป็น  data  เพื่อประมาณการระดับความรู้ของผู้เรียนและเป็นประวัติความรู้ของผู้เรียน  รวมถึงจะมีการจัดเก็บในส่วนของการใช้ระยะเวลาและการเข้ามาใช้งานในแต่ละหน้า Page  เอาไว้
     1.3  Modeling  an  educational  goal  :   ใน concept  นี้จะมีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จในการเรียนของผู้เรียนทุกคน  โดยผู้เรียนจะมีเป้าหมายความสำเร็จที่แน่นอน และ “ระบบ” จะต้องสามารถสนับสนุนผู้เรียนได้ทุกคน 


2.  Connecting  knowledge  with  educational  material  :  เครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงกับความรู้  จะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ
o     Cardinality :  แบบนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ  Single  concept และ Multi-concept 
o     Expressive power:แบบนี้จะพิจารณาถึงการเชื่อมโยงระหว่าง concept  และหน้า  Page 

o     Granularity:แบบนี้จะมีความนิยมอยู่ด้วยกัน2 ลักษณะ กล่าวคือ  
       hypertext  page  with  Concept
       Indexing  of  page fragment  with  concept
o     Navigation  :  แบบนี้จะบอกว่าเราอยู่ตำแหน่งไหนของบทเรียน
         

         2.1  Concept -  based  Hyperspace  :  แบบนี้จะเป็นแบบ  Simple  concept  และจะมี  Page  เพียงหน้าเดียว
         2.2  Page  Indexing  :  แบบนี้จะเป็นแบบ  Multi-concept  และจะไม่มีความเป็น  Prerequsite
         2.3  Fragment  Indexing  :    แบบนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก   และจะใช้กับ  Domain  Model  ที่ไม่มีโครงสร้าง
         2.4  Mixing  the  Approaches  :   แบบนี้จะเป็นแบบผสมกัน
                 

3.  Structuring  the  Hyperspace  :    ลักษณะโครงสร้างของ  Hyperspace  จะมี  2  แบบคือ
                        3.1    Unstructured  hyperspace  :  แบบนี้จะออกแบบให้สามารถข้ามไปมาระหว่างกันได้
                        3.2  Structured  hyperspace  :  แบบนี้จะต้องเข้าไปเรียนตามลำดับก่อนหลัง

วันนี้ขอเท่านี้ก่อนนะค่ะ...อิอิ..รู้สึกว่ายังไม่ค่อยได้ขยายความซักเท่าไหร่...และถ้าใครมีข้อเสนอแนะสามารถเขียนฝากไว้ได้ค่ะ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกันค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28039เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แล้วคราวหน้าจะมาขยายความให้อีกครั้งค่ะ...ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท